ผ้าขาวม้าเป็นผ้าโบราณที่ใช้ประโยชน์มานาน คนไทยรู้จักผ้าขาวม้าตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 16 ตรงกับยุคสมัยเชียงแสนในสมัยเชียงแสนผู้หญิงนุ่งผ้านุ่งหรือผ้าถุงส่วนผู้ชายเริ่มใช้ผ้าเขียนเอวหรือผ้าขาวม้าซึ่งได้รับวัฒนธรรมมาจากไทยขณะที่ไทยใหญ่ใช้โพกศรีษะส่วนไทยยังม้วนผมมวยอยู่
ผ้าขาวม้ามีลักษณะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าส่วนใหญ่ทอจากผ้าฝ้าย เส้นไหม ด้ายดิบ ป่านหรือวัสดุตามท้องถิ่นนิยมทอสลับสีเป็นลายตามหมากรุกหรือเป็นลายทางโดยมากผลิตในแถบภาคเหนือนั้นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีขนาดความกว้างยาวแตกต่างกันออกไปส่วนใหญ่จะกว้างประมาณ 3 คืบ ยาว 5 คืบ อายุการใช้งานประมาณ 1-3 ปีราคาจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในการทำการพัฒนาเป็นเครื่องแต่งกายตามสมัยนิยมโดยโดยแปรรูปออกมาเป็นรูปแบบที่คนรุ่นใหม่จะนิยมใช้มากขึ้นและพัฒนาคุณภาพของเส้นใหญ่ให้มีความเหนียวคงทนและมีประสิทธิภาพความงามมากขึ้นกว่าเดิม
หลักฐานที่คนไทยเริ่มใช้ผ้าขาวม้าในสมัยเชียงแสนปรากฏให้เห็นในภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์จังหวัดน่านและเมื่อดูจากการแต่งกายของหญิงและชายในสมัยอยุธยา จากภาพเขียนในสมุดภาพไตรภูมิสมัยอยุธยาราวต้นศตวรรษที่ 22 เห็นได้ชัดว่าชาวอโยธยานิยมผ้าขาวม้าพาดบ่าคาดพุงและนุ่งโจงกระเบนแล้วและยังใช้ผ้าขาวม้าคล้องคอตลบห้อยชายทั้งสองข้างไว้ด้านหลังสมัยรัตนโกสินทร์ชาวไทยทั้งชายและหญิงนิยมใช้ผ้าขาวม้าทำประโยชน์อย่างมาก โดยไม่จำกัดแต่เพียงแค่หญิงเพศชายเท่านั้นและไม่จำกัดเฉพาะการใช้ทำเครื่องแต่งกายเพียงอย่างเดียว
ผ้าขาวม้า ไม่ใช่คำไทยแท้แต่เป็นภาษาเปอร์เซียที่มีคำเต็มว่า กามาร์บันต์ กามา หมายถึง เอวหรือท่อนล่างของร่างกาย บันต์ แปลว่าพัน รัดหรือคาด เมื่อ นำคำสองคำมารวมกันจึงหมายถึง เข็มขัด ผ้าพันหรือคาดเอว กามาบันต์ ยังปรากฏอยู่ในภาษาอื่นเช่นในภาษามลายูภาษา อินดี้ ภาษาอังกฤษ ที่ที คัมเมอร์บันด์ หมายถึง ผ้าคาดเอวในชุดสูท