ในยุคที่โลงศพราคาแพงแตะ10,000 บาทเราลองมาดูกันว่าในอดีตโลงศพราคาใบละเท่าไหร่ โลง มาจากอะไร ผู้ที่คิดค้นประดิษฐ์คำว่า ”โลง” คือชาวฮินดู สมัยโบราณเมื่อมีคนตายชาวฮินดูทั่วไปจะใช้เฝือกห่อศพไปทิ้งในป่าช้า ถ้าเป็นเศรษฐีมีเงิน ต้องการเก็บศพไว้นานๆ จะให้บ่าวไพร่เข้าป่า ไปขุดไม้มาเซาะทำเป็นรางใช้ใส่ศพ การทำรางจะไม่ทำในบ้าน ต้องทำในป่าหรือในเขตวัด ศาสนสถาน หรือลานโล่ง
คำว่าโรงเกิดขึ้นเมื่อมีคนไปทำรางใส่ศพในที่กลางแจ้ง พอเกิดแดดร้อนจึงนำใบไม้หรือเครื่องมุงมามุง กลายเป็น โรง ที่ทำรางใส่ศพ พอมีคนช่วยหาบมาช่วยยก ถามหาว่ารางอยู่ที่ไหน? ช่าง ก็บอกว่าอยู่ที่โรง จึงเรียก”ราง”หรือสิ่งที่ต่อขึ้นว่า ”โรง” แล้วเพี้ยนมาเป็น”โลง”ในเวลาต่อมา
มีการใช้คำนี้มาเป็นเวลานานนับพันปีในครั้งพระพุทธเจ้าปรินิพพานพระอานนท์จัดการพระศพก็เชิญพระสรีระวางบนรางหรือหีบทองที่เรียกว่าโลงพระศพ เมื่อเวลาผ่านไปก็มีการบัญญัติศัพท์ใหม่เกิดขึ้นถ้าเป็นคนทั่วไปก็ยังใช้คำว่าโลง ถ้าเป็นคนมีเงินหรือมีอำนาจจะใช้คำว่าหีบ หากเป็นศพเจ้านายจึงใส่โกศ
วัฒนธรรมการฝังศพในอดีตไม่ได้มีแต่โลงไม้ แต่มีไห หรือภาชนะใส่ศพที่ทำด้วยดินเผาเป็นรูปกล่องหรือโถเพื่อใส่ศพ และด้วยการเก็บศพนุคแรกด้วยการฝัง จึงใส่สมบัติของใช้ส่วนตัวของผู้ตายไว้ด้วยเพื่อการนำติดตัวไปใช้ในปรโลก
โบราณมีคติอย่างหนึ่งว่าจะไม่ซื้อหรือทำโลงศพขึ้นก่อนหน้าที่ผู้วายชนม์จะตาย เพราะถือเป็นการแช่งคนเจ็บไข้ให้อาการหนัก แต่กลับมีเรื่องของชายคนหนึ่ง อายุมากแล้วสุขภาพไม่สู้ คิดว่าคงมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ไม่นาน เกรงว่าลูกหลานจะลำบากในการดูแลการศพ คุณตาคิดทำโลงศพไว้ให้ตัวเองให้เรียบร้อยจึงนำเงิน 1,000 บาท ไปสั่งช่างทำโลงศพอย่างสวยงาม แต่ปรากฏว่าเมื่อโลงเสร็จแล้ว แกกลับมีชีวิตอยู่ยาวนานต่อไปอีกหลายปี เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นอันว่ารู้กันว่าในเวลานั้นโลงศพอย่างดีใช้ทุนทรัพย์ 1,000 บาท
ไม่ว่าจะใช้อะไรใส่ศพ พอถึงขั้นตอนสุดท้ายก็ต้องเผาผลาญทิ้งไปไม่เหลือโลง เป็นของใช้ที่คนใช้ไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้ใช้ แต่ใช้เพื่อเก็บรักษาธาตุสังขารไม่ให้เกิดความรำคาญตา ถือเป็นการให้เกียรติผู้วายชนม์ในบั้นปลาย
ภาพจาก suriyacaffin