X

"กัมมันตรังสี" จากระเบิดนิวเคลียร์ อันตรายแค่ไหน?

2 มี.ค. 2565
4660 views
ขนาดตัวอักษร

มี..65 – การสู้รบระหว่าง รัสเซีย และยูเครน หนึ่งสิ่งที่ชาวโลกกังวลกับการสู้รบครั้งนี้ หากบานปลายมีความเสี่ยงที่อาวุธหัวรบนิวเคลียร์จะถูกนำออกมาใช้ ซึ่งอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมโดยตรงต่อพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งอันตรายจากกัมมันตรังสี ยังส่งผลเป็นวงกว้างระยะยาวถึงพื้นที่อื่นได้อีกด้วย

การสู้รบระหว่าง 2 ประเทศยุโรป รัสเซีย – ยูเครน ที่ใช้ยุทโธปกรณ์ต่างๆ จนทำให้นานประเทศเริ่มกังวลถึงความรุนแรงของการรบ ที่หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นอาจมีบางประเทสตัดสินใจใช้ ระเบิดนิวเคลียร์ ในสงครามครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อประเทสที่โดนระเบิด และอีกหลายพื้นที่เสี่ยงหากกัมมันตรังสีของระเบิดนิวเคลียร์นั้นไปถึง

 •

ซึ่ง “ระเบิดเนิวเคลียร์” เป็นอาวุธที่นานาประเทศไม่ต้องการให้นำมาใช้ไม่ว่ากับประเทศไหนบนโลก  เนื่องจากระเบิดนิวเคลียร์มีพลังทำลายล้างสูง อาจส่งผลต่อชีวิตในทันที เพราะเพียงแค่เกิดการรั่วไหลของนิวเคลียร์บางส่วน สามารถได้รับผลกระทบทางอ้อมต่อสุขภาพ ได้พอกับพลังระเบิดตรงๆ

นพอภิชาต พานิชชีวลักษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านรังสีวิทยาและรังสีรักษาจากศูนย์มะเร็งฮอไรซัน ระบุว่า การแผ่รังสีของสารกัมมันตรังสีเป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์ไม่อาจสังเกตได้ด้วยตาเปล่า จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตได้ โดยอันตรายที่เกิดขึ้นนั้นมาจากคุณสมบัติที่สามารถแตกตัวเป็นไอออน เมื่อรังสีผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อของร่างกายก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์ถึงในระดับดีเอ็นเอ โดยทำให้โมเลกุลภายในเซลล์ และระบบการทำงานของเซลล์เปลี่ยนแปลงไป

แบ่งลักษณะอาการจากการได้รับกัมมันตรังสี ดังนี้ 

  • เป็นพิษเฉียบพลัน (acute radiation syndrome) กรณีที่อยู่ในรัศมีระยะ 30 กิโลเมตรจากจุดระเบิด อาจเสี่ยงได้รับพิษกัมมันตรังสีเข้มข้นแบบเฉียบพลัน มีอัตราเสียชีวิตประมาณ 50% ซึ่งหากรอดชีวิต ก็ยังอาจเป็นโรคมะเร็งได้ในเกณฑ์ที่สูง
  • สำหรับผู้ที่อยู่ห่างออกไปจากรัศมี 30กิโลเมตร พลังงานจากการระเบิดกัมมันตภาพรังสีจะลดลงไปตามระยะทางที่ห่างออกไป แต่ก็ยังมีพิษแบบเรื้อรังต่อไปได้ โดยยังอาจจะมีอาการแบบเรื้อรัง ค่อยเป็นค่อยไป เพราะได้รับรังสีในปริมาณไม่มาก แต่สามารถทำลายดีเอ็นเอ ทำให้เกิดจากกลายพันธุ์ของยีนและนำไปสู่โรคมะเร็งได้

หากได้สัมผัสกับสารกัมมันตรังสี ต้องล้างการปนเปื้อนร่างกาย ถอดเสื้อผ้าและเครื่องแต่งตัวทั้งหมด ใส่ในถุงที่ปลอดภัยปิดสนิท เพื่อการทำลายอย่างถูกต้อง อาบน้ำชำระล้างร่างกายทั้งหมดให้สะอาดด้วยน้ำเย็นและสบู่อ่อน ถ้ามีบาดแผลต้องชำระล้างให้สะอาด และปิดบาดแผลป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสารรังสีอีก

อีกแบบคือ พิษจากฝุ่นปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี โดยฝุ่นที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีสามารถลอยแผ่กระจายตามกระแสลมในบริเวณกว้าง ปนเปื้อนอยู่ในพืชพรรณ ธัญญาหาร พื้นดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ จึงอาจปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่เรารับประทานในอนาคตได้ ผู้ที่บริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี อาจมีอาการระคายเคือง อ่อนเพลีย ท้องเสีย ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน เม็ดเลือดขาวถูกทำลายอย่างรุนแรง ระบบการสร้างโลหิตจากไขกระดูกบกพร่อง มีความต้านทานโรคต่ำ ผิวหนังพุพอง ผมร่วง ปากเปื่อย เสี่ยงโรคมะเร็ง และหากรับประทานเข้าไปมากๆ อาจอันตรายถึงชีวิตได้

ด้าน รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนะนำแนวทางสำหรับการเตรียมตัวเรื่อง "หลุมหลบภัยใต้ดิน" เพื่อป้องกันอันตรายจากระเบิดนิวเคลียร์หากมีการใช้ขึ้นมาจริงๆ ดังนี้

1.เตรียมหลุมหลบภัยใต้ดิน โอกาสรอดเดียวเมื่อเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้น คือ การหลบไปอยู่ในหลุมหลบภัยใต้ดินซึ่งควรเตรียมสะสมเสบียงอาหารไว้ด้วย

2.เตรียมเสบียงอาหารให้พร้อม ควรเตรียมอาหารแห้งที่ให้คาร์โบไฮเดรตสูง เช่น พวกข้าว ถั่วทุกชนิด นมผง น้ำผึ้งผลไม้และผักอบแห้ง

3.น้ำดื่ม แหล่งน้ำจืดบนพื้นโลกจะปนเปื้อนไปด้วยกัมมันตรังสี จึงควรกักตุนน้ำจืดให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ไว้ที่หลุมหลบภัย ปิดให้สนิทเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารรังสี

4.อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ควรลืมยารักษาโรค ไฟฉาย เทปกาว ถุงดำ มีด ไฟแช็ก และหน้ากากกันแก๊สพิษ

5.ติดตามข่าวสารต่าง มีอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสารแบบง่ายๆ (เช่น วิทยุสื่อสาร แบตเตอรี่สำรองที่ทำให้สามารถติดตามข่าวสารจากทางการได้

ทั้งหมดนี้คือผลกระทบ หากเกิดระเบิดนิวเคลียร์ขึ้น ซึ่งจะส่งผลตรงต่อประเทศที่มีข้อพิพาท รวมทั้งอาจขยายวงกว้างกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อมถึงพื้นที่อื่นตามมาด้วย ร่องรอยที่เหลืออยู่ยังจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนที่ได้รับกัมมันตรังสีในระยะยาว ซึ่งไม่ว่าใครก็ไม่สามารถชดเชยความเสียหาย ความสูญเสีย ที่เกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล