X
แจงข้อสงสัย โรงงานรับกำจัดสารเคมีไม่ผ่าน EHIA

แจงข้อสงสัย โรงงานรับกำจัดสารเคมีไม่ผ่าน EHIA

22 ก.ค. 2564
300 views
ขนาดตัวอักษร

22 ..64 - สผแจงข้อสงสัย ทำใมบริษัทรับกำจัดสารเคมีที่ตกค้างจากเหตุระเบิดโรงงานหมิงตี้ฯ ต้องผ่าน EHIA หรือมไม่


ดรรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  กล่าวว่า กรณีมีการนำเสนอข่าว เรื่องการนำสารสไตรีนโมเนอร์เมอร์จากบริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ที่ประสบเหตุเพลิงไหม้คลังเก็บสารเคมีระเบิด จนเป็นเหตุสลดครั้งใหญ่ของย่านบางพลี .สมุทรปราการ ไปกำจัดโดยบริษัทอัคคีปราการ จำกัด(มหาชนเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีข้อแย้งว่าบริษัทยังไม่ผ่าน EHIA เท่ากับยังไม่ได้รับอนุญาต และยังไม่มีอำนาจในการขนย้ายต้องทำแผนในการดำเนินการเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ(กก.วล)ก่อน ตามประกาศเมื่อปี 2562 เกี่ยวกับการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ดังนั้น การดำเนินการของบริษัทดังกล่าว ก่อนที่จะเผาสไตรีนจะต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม  และผ่าน EHIA แต่ครั้งนี้ยังไม่ได้ทำถือว่าเข้าข่ายผิดกฎหมาย

 

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ขอชี้แจงดังนี้

1. โครงการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม (เตาเผาขยะอุตสาหกรรมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้รับมติเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและโครงการร่วมกับเอกชน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2544 ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้าBYSC ได้รับการคัดเลือกและได้สิทธิในการบริหารและประกอบการศูนย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์  2551 ต่อมาจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชนซึ่งก่อนประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ  คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต ของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EHIA) และหลักเกณฑ์  วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม .. 2552 จึงไม่ต้องทำรายงาน EHIA


2. บริษัท อัคคีปราการ จำกัด(มหาชนประกอบกิจการรับกำจัดของเสียอุตสาหกรรม ตามที่ระบุในรายงาน EIA  ของเสียที่จะรับมากำจัดได้ด้วยการเผาส่วนใหญ่เป็นของเสียอุตสาหกรรมจากโรงงานอุตสาหกรรมเช่น น้ำมันเบาแบบสะอาดและน้ำยาตัวทำละลายที่มีจุดติดไฟต่ำกว่า70 องศาเซลเซียส น้ำมันดีเซลสะอาดและน้ำมันหนัก (Heavy Oil) แบบผสม น้ำยาตัวทำละลายแบบผสมซึ่งสกปรก และอาจประกอบด้วยคลอโรไฮโดรคาร์บอนสลัดจ์ (Sludge) อินทรีย์แบบผสมซึ่งสูบด้วยเครื่องสูบได้ 

ประกอบด้วยอนุภาคของแข็งขนาดเล็กและน้ำยาตัวทำละลายซึ่งมีจุดติดไฟต่ำน้ำยาตัวทำละลายสารอินทรีย์แบบผสมในกระดาษแข็ง ภาชนะพลาสติกชนิดพีวีซี พีอี หรือ พีพี ซึ่งอาจมีน้ำหนักถึง 10 กิโลกรัม ประกอบด้วยสารอินทรีย์ ไม่ติดไฟและน้ำยาตัวทำละลายที่มีจุดติดไฟต่ำเป็นต้น

ทั้งนี้ กำหนดประเภทของเสียที่ไม่รับกำจัด ได้แก่ ของที่ระเบิดได้ ของที่มีสารกัมมันตภาพรังสี มีแนวโน้มติดไฟได้เองหรือมีแนวโน้มเกิดปฏิกิริยารุนแรงในสภาวะปกติ PCB จากหม้อแปลงไฟฟ้า และไดออกซิน


3.  บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชนได้นำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการสารสไตรีนโมโนเมอร์จากเหตุเพลิงไหม้บริษัท หมิงตี้ จำกัด ที่บริษัทรับมาดำเนินการเป็นสารตั้งต้นที่มีส่วนประกอบของ ตัวทำละลาย Solvent ที่มีจุดติดไฟต่ำกว่า 70 องศาเซลเซียสนี้ จัดเป็นประเภทของเสียที่โครงการศูนย์บริหารจัดการวัสดุเหลือใช้อุตสาหกรรม(เตาเผาขยะอุตสาหกรรมสามารถรับกำจัดได้ตามที่กำหนดไว้ในรายงาน EIA

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล