X

คำไทยรู้ไว้ใช้ถูกต้อง

10 ธ.ค. 2564
7890 views
ขนาดตัวอักษร

สวัสดีวันศุกร์ค่ะทุกคน วนกลับมาเจอกันอีกครั้งกับ #คำไทยรู้ไว้ใช้ถูกต้อง_BBMCOT ในวันรัฐธรรมนูญ วันนี้ Backbone MCOT ก็มีคำศัพท์มาฝากทุกคนอีกแล้วค่ะ


1. คำนวณ มักเขียนผิดเป็น คำนวน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่าคำนวณเป็นคำกริยา หมายถึง กะประมาณ, คิดหาผลลัพธ์โดยวิธีเลข


2. ประมาณ มักเขียนผิดเป็น ประมาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่าประมาณมาจากภาษาสันสกฤต ปฺรมาณ (ภาษาบาลีเขียน ปมาณ) มี 2 ความหมาย คือ

  • เป็นคำกริยา หมายถึง กะหรือคะเนให้ใกล้เคียงจำนวนจริงหรือให้พอเหมาะพอควร
  • เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง ราว

3. หลงใหล มักเขียนผิดเป็น หลงไหล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่าหลงใหลมี 2 ความหมาย คือ

  • เป็นคำกริยา หมายถึง คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • เป็นคำกริยา หมายถึง เลอะเลือน, มีสติเฟือน เช่น คนแก่มักหลงใหล กินแล้วก็ว่าไม่ได้กิน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย : ในภาษาไทยมีคำที่ใช้สระ ใอ ไม้ม้วนอยู่แค่ 20 คำ เท่านั้น คือ ใหญ่, ใฝ่, ใคร่, ใช่, ใหม่ใจใบ, ใต้, ให้, ใส่, ใส, ใบ้, สะใภ้, หลงใหล, ใด, ใย, ใช้, ใคร, ใน, ใกล้ หรือที่ใครหลายคนอาจเคยท่องกันว่า


ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ

ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ     มิหลงใหลใครขอดู

จะใคร่ลงเรือใบ     ดูน้ำใสและปลาปู

สิ่งใดอยู่ในตู้     มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง

บ้าใบ้ถือใยบัว     หูตามัวมาใกล้เคียง

เล่าท่องอย่าละเลี่ยง     ยี่สิบม้วนจำจงดี


4. สำนวน มักเขียนผิดเป็น สำนวณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่าสำนวนมี 4 ความหมาย คือ

  • เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียง, โวหาร, บางทีก็ใช้ว่า สำนวนโวหาร เช่น สารคดีเรื่องนี้สำนวนโวหารดี ความเรียงเรื่องนี้สำนวนโวหารลุ่ม ดอน
  • เป็นคำนาม หมายถึง คดี เช่น ปิดสำนวน
  • เป็นคำนาม หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง, ถ้อยคำที่แสดงออกมาเป็นข้อความพิเศษ เฉพาะภาษาหนึ่ง เช่น สำนวนฝรั่ง สำนวนบาลี, ชั้นเชิงหรือท่วงทำนองในการแต่งหนังสือหรือพูด เช่น สำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำนวนยาขอบ สำนวนไม้ เมืองเดิม
  • เป็นคำนาม หมายถึง ลักษณนามใช้เรียกข้อความหรือบทประพันธ์รายหนึ่ง เช่น อิเหนามีหลายสำนวน บทความ 2 สำนวน.

5. กระเชอ มักเขียนผิดเป็น กะเชอ, กะเฌอ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่ากระเชอมี 2 ความหมาย คือ 

  • เป็นคำนาม หมายถึง ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้าง ใช้กระเดียด, กันเชอ ก็เรียก ทียบกับภาษาเขมรว่า กญฺเชิ
  • เป็นคำนาม หมายถึง อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ 5 ทะนาน, และ 5 กระเชอ เป็น 1 สัด ทียบกับภาษาเขมรว่า กญฺเชิ

6. กลิ่นอาย มักเขียนผิดเป็น กลิ่นไอ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่ากลิ่นอายเป็นคำนาม หมายถึง กลิ่น

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย : คำว่า อาย นั้นมีที่มาจากภาษาเขมร ที่หมายถึง กลิ่น นั่นเอง


7. เกษียณอายุ มักเขียนผิดเป็น เกษียนอายุ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่าเกษียณอายุเป็นคำกริยา หมายถึง ครบกำหนดอายุรับราชการ, สิ้นกำหนดเวลารับราชการหรือการทำงาน, พูดสั้น ว่า เกษียณ ก็มี

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย : คำว่าเกษียณมีที่มาจากภาษาสันสกฤต กฺษีณ ที่เป็นคำกริยา หมายถึง สิ้นไป มักใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ


8. คทา มักเขียนผิดเป็น คฑา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญัติคำนี้ไว้ว่าคทามีที่มาจากภาษาบาลี เป็นคำนาม หมายถึง ตะบอง


.. แอดมีแหล่งเช็กคำผิดถูกอื่น มาฝากทุกคนด้วยน้า

แล้วพบกันทุกวันศุกร์สะดวก กับ #คำไทยรู้ไว้ใช้ถูกต้อง_BBMCOT ค่า

.

❤️คำทับศัพท์ใช้แบบไหน? 

เช็กได้ที่ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา https://transliteration.orst.go.th/search

.

❤️คำนี้เขียนถูกไหม?

ช็กได้ที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 (ออนไลน์https://dictionary.orst.go.th/ 

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)