X

คำไทยรู้ไว้ ใช้ให้ถูกต้อง

3 ธ.ค. 2564
4950 views
ขนาดตัวอักษร

สวัสดีวันศุกร์แรกของเดือนธันวาคม เดือนสุดท้ายของปีนี้แล้วค่า วันนี้ #คำไทยรู้ไว้ใช้ถูกต้อง_BBMCOT แวะมาทักทายทุกคนอีกครั้งค่ะ😊 


สำหรับคำที่นำมาแชร์กันในวันนี้ได้แก่ รสชาติ, ทะเลสาบ, สาปแช่ง, แมลงสาบ, มหัศจรรย์, อัศจรรย์, เหตุการณ์ และข้าวเหนียวมูนค่ะ




1. รสชาติ มักเขียนผิดเป็นรสชาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญติคำว่ารสชาติเอาไว้ว่า เป็นคำนาม หมายถึง รส

ส่วนคำว่าชาดนั้น มี 2 ความหมายคือ 

- เป็นคำนาม หมายถึง วัตถุสีแดงสดชนิดหนึ่ง เป็นผงก็มี เป็นก้อนก็มี ใช้ทำยาไทยหรือประสมกับนํ้ามันสำหรับประทับตราหรือทาสิ่งของ.

- เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง สีแดงสดอย่างหนึ่ง เรียกว่า สีแดงชาด


2. ทะเลสาบ มักเขียนผิดเป็นทะเลสาป

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 บัญญติคำว่า  “ทะเลสาบเอาไว้ว่า เป็นคำนาม หมายถึง ห้วงนํ้าใหญ่ที่มีแผ่นดินล้อมรอบ มี ชนิด คือ ทะเลสาบนํ้าจืด และทะเลสาบนํ้าเค็ม

คำว่าสาบนั้นมาจากภาษาเขมร มีความหมายว่า จืด


3. สาปแช่ง มักเขียนผิดเป็นสาบแช่ง

คำว่าสาปมาจากภาษาบาลี พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำนาม หมายถึง คำแช่งให้เป็นไปต่าง ของผู้มีฤทธิ์อำนาจ เช่นเทวดา ฤๅษี แม่มด และคำว่าสาปแช่งเป็นคำกริยา หมายถึง กล่าวมุ่งร้ายให้ผู้อื่นเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง เช่น สาปแช่งไม่ให้ผุดให้เกิด.

- สาเหตุที่ไม่ใช่คำว่าสาบเนื่องจากคำนี้มีที่มาจากภาษาเขมร หมายถึง จืด


4. แมลงสาป มักเขียนผิดเป็นแมลงสาบ

คำว่าสาบนอกจากจะหมายถึงทะเลสาบแล้ว ยังหมายถึง เจ้าแมลงที่หลาย คนไม่ชอบอีกด้วย 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำนาม หมายถึง ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Blattidae ลักษณะคล้ายแมลงแกลบแต่ส่วนใหญ่ตัวโตกว่า ลำตัวยาวประมาณ 2 เซนติเมตรหรือมากกว่า รูปร่างเป็นรูปไข่ค่อนข้างแบนลง หัวซ่อนอยู่ใต้ส่วนอก หนวดยาวคล้ายเส้นด้าย ขายาวมีหนาม ตัวเต็มวัยมีทั้งพวกมีปีกและไม่มีปีก มีกลิ่นเฉพาะตัว กินอาหารได้หลากหลาย พบได้ทั่วไป ที่พบบ่อยตามบ้านเรือนทั่วโลกในปัจจุบัน เช่น ชนิด Periplaneta Americana (Linn.) และชนิด Blatta orientalisLinn.

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมเขียนเหมือนคำว่าสาบที่หมายถึงทะเลสาบ? เนื่องจากคำสองคำนี้เป็นคำพ้องรูปกันนั่นเอง คือ เขียนเหมือนกัน แต่มีความหมายต่างกันนั่นเอง


5. มหัศจรรย์ มักเขียนผิดเป็น มหัศจันทร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แปลกประหลาดมาก, น่าพิศวงมาก, ผิดปรกติวิสัยของธรรมชาติ

คำว่ามหัศจรรย์มีที่มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า มหาศฺจรฺย


6. อัศจรรย์ มักเขียนผิดเป็น อัศจันทร์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 ให้ความหมายไว้ 2 ความหมาย คือ

เป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง แปลก, ประหลาด

เป็นคำนาม หมายถึง ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมีความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น

คำว่าอัศจรรย์มีที่มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า อาศฺจรฺย


7. เหตุการ มักเขียนผิดเป็น เหตุการณ์ 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำนาม หมายถึง เรื่องที่เกิดขึ้น

สาเหตุที่ใช้คำว่าการณ์ไม่ใช่การเพราะว่า คำว่าการนั้น เป็นคำนามที่หมายถึง เรื่องที่ทำ, งานที่ทำ, สิ่งที่ทำ แต่คำว่าการณ์นั้นเป็นคำนามที่หมายถึง เหตุ, เค้า, มูล มีที่มาจากภาษาบาลี-สันกฤต เมื่อนำมาสร้างคำใหม่ร่วมกับคำว่าเหตุจึงกลายเป็นคำว่าเหตุการณ์ที่หมายถึง เรื่องที่เกิดขึ้นนั่นเอง


8. ข้าวเหนียวมูน มักเขียนผิดเป็น ข้าวเหนียวมูล

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 ให้ความหมายคำว่ามูนไว้ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง เอากะทิเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้มัน ส่วนคำว่ามูลนั้น หมายถึง อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง , ทั้งหมด, ทั้งสิ้น ดังนั้นข้าวเหนียวมูนที่เป็นข้าวเหนียวเคล้ากับกะทิ จึงใช้มูนนั่นเอง


.. แอดมีแหล่งเช็กคำผิดถูกอื่น มาฝากทุกคนด้วยน้า

แล้วพบกันทุกวันศุกร์สะดวก กับ #คำไทยรู้ไว้ใช้ถูกต้อง_BBMCOT ค่า

.

❤️คำทับศัพท์ใช้แบบไหน?

เช็กได้ที่ระบบฐานข้อมูลคำทับศัพท์ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา https://transliteration.orst.go.th/search

.

❤️คำนี้เขียนถูกไหม?

เช็กได้ที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน .. 2554 (ออนไลน์)

https://dictionary.orst.go.th/

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล