X
รัฐสภาไทย จากพระที่นั่งอนันตสมาคม ถึง สัปปายะสภาสถาน

รัฐสภาไทย จากพระที่นั่งอนันตสมาคม ถึง สัปปายะสภาสถาน

24 มี.ค. 2566
1370 views
ขนาดตัวอักษร

ประวัติความเป็นมาของ อาคารรัฐสภาไทย สถานที่สำคัญที่ใช้เป็นที่ประชุมสำหรับรัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวุฒิสภา และการประชุมร่วมของสองสภา ในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ผ่านสถานที่ที่เป็น รัฐสภา มาแล้ว 3 แห่ง เริ่มจากพระที่นั่งอนันตสมาคม หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ประมาณ 3 วัน คณะราษฎร ขอพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  เพื่อใช้พระที่นั่ง อนันตสมาคมเป็นสถานที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกของผู้แทนราษฎรไทยชุดแรก เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ปี 2475 พระที่นั่งอนันตสมาคมจึงเป็นอาคารรัฐสภา แห่งแรกของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2475 ยาวนานจึงถึงปี 2517) นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีและรัฐพิธีสำคัญ 


พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ใช้เป็นที่รับรองแขกบ้านแขกเมืองราชอาคันตุกะ เป็นสถานที่สำหรับประชุมปรึกษาราชการแผ่นดิน โดยทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุมเป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง นายมาริโอ ตาัญโญ สถาปนิกชาวอิตาลีเป็นนายช่างออกแบบศาสตราจารย์กาลิเลโอ คินี และนายซี.ริโกลี เป็นช่างเขียนภาพ องค์พระที่นั่งอนันตสมาคมถูกสร้างด้วยหินอ่อนจากเมืองคารารา ประเทศอิตาลี ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยาการแห่งอิตาลี(Italian Renaissance) เป็น อาคารสูงชั้น มีโดมใหญ่อยู่ตรงกลาง และรายล้อมด้วยโดมเล็กอีก 6 โดม ชั้นบนเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ ซึ่งแบ่งเป็นห้องโถงประชุมและห้องโถงสาหรับประกอบพิธีต่าง  ส่วนชั้นล่างประกอบด้วยห้องจานวน 14 ห้อง แบ่งเป็นห้องขนาดเล็ก 10 ห้อง ห้องขนาดกลางและใหญ่ อย่างละ 2 ห้อง และมีห้องโถงตรงกลางอีก 1 ห้อง 


พอถึงปี 2517 จำนวนสมาชิกสภาเพิ่มขึ้น ตามสัดส่วนของประชากรไทยที่เพิ่มสูงขึ้น พระที่นั่งอนันตสมาคมคับแคบเกินกว่าที่ใช้เป็นที่ประชุมสภาได้อีกต่อไป คณะรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร จึงได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ขอพระราชทานที่ดินด้านหลังพระที่นั่งอนันตสมาคม บริเวณถนน อู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ เดิมเป็นของหน่วยรถถัง กรมตำรวจ เพื่อจัดสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ที่มีพื้นที่มากกว่าเดิม 


อาคารรัฐสภาแห่งใหม่ จึงเกิดขึ้นที่ถนนอู่ทองใน ออกแบบโดยนายพล จุลเสวก นายช่างสถาปนิกเอกของกรมโยธาธิการ ได้รับแรงบันดาลใจในการวาดแบบจากอาคารรัฐสภาบราซิล และมีบริษัทพระนครก่อสร้างเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง ได้แก่ อาคารห้องประชุมรัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา อาคารสำนักงาน เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสโมสรรัฐสภา ในส่วนของอาคารห้องประชุมรัฐสภานั้นถูกใช้เป็นที่ประชุมรัฐสภา ครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 กันยายน .. 2517 ที่นี่มีพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระผู้พระราชทานสิทธิเสรีภาพแก่ปวงชนชาวไทย 


เวลาผ่านไป จำนวนส..เพิ่มขึ้น ไหนจะส.ห้องประชุมกรรมาธิการ ห้องพักส่วนตัว คณะทำงาน อาคารรัฐสภาแห่งที่สองประสบปัญหาเช่นเดียวกันกับพระที่นั่งอนันตสมาคม ด้วยเหตุนี้ เมื่อ 29 กรกฎาคม .. 2551 คณะรัฐบาลชุดนาย สมัครสุนทรเวช มีมติเห็นชอบอนุมัติงบประมาณเพื่อก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ บนที่ดินราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกายเขตดุสิต กรุงเทพฯ ในเวลานั้นมีที่ดินหลายแห่งที่ถูกเสนอให้เป็นที่สร้างรัฐสภาแห่งใหม่ เงื่อนไขในเวลานั้น คือ ต้องเป็นที่เปล่า มีขนาดพื้นที่เพียงพอที่จะรองรับการเติบโตของงานรัฐสภาในอนาคต  ค่าใช้จ่ายในการได้พื้นที่ไม่สูงจนเกินไปหากเป็นที่ของหน่วยงานรัฐที่สามารถใช้วิธีการแลกเปลี่ยนหรือชดเชยได้จะดี และยังขออยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีนครนายก รังสิต แม้กระทั้งที่ใกล้กับท่าเรือคลองเตยถูกเสนอเข้าชิงเป็นสถานที่สร้างรัฐสภาใหม่ แต่สุดท้ายแล้ว ก็ได้ที่เกียกกาย โดยรวมพื้นที่ของโรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนช่างกลขนส่งทหารบก กับที่ของหน่วยทหารในพื้นที่ 


สัปปายะสภาสถาน แปลว่า สภาแห่งความสงบร่มเย็นและปัญญา มีรูปแบบเป็นอาคารเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ลักษณะเป็นอาคารสูง 9 ชั้น และชั้นใต้ดิน 2 ชั้น รวมเป็น 11 ชั้น และ ห้องประชุมสภารูปทรงครึ่งวงกลม 2ห้อง แบ่งเป็นห้องประชุมสุริยันสำหรับสภาผู้แทนราษฎร และห้องประชุม จันทราสำหรับวุฒิสภา ออกแบบโดยนายธีรพล นิยม ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์สถาปัตยกรรมและคณะ จาก บริษัทสงบ 1951 รวมพื้นที่ใช้สอย 424,000 ตารางเมตร ทำให้เมื่อก่อสร้างเสร็จสัปปายะสภาสถานเป็นอาคารรัฐสภาที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนที่อาคารรัฐสภาแห่งโรมาเนีย ที่มีพื้นที่ในอาคาร 365,000 ตารางเมตร และเป็นอาคารของรัฐที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยจะเป็นรองเพียงอาคารเดอะเพนตากอนในสหรัฐที่มีพื้นที่ 600,000 ตารางเมตรเท่านั้น


มาที่เรื่องเล่ากลมกล่อมเป็นตำนานของพื้นที่ทั้ง 3 แห่ง พระที่นั่งอนันตสมาคมนั้น อยู่ในเขตพระราชวังดุสิต ในเขตพระราชฐาน การเอาหน่วยงานของฝ่ายบริหารไปไว้แบบนั้นนาน  ย่อมไม่เหมาะสม เพราะจำนวนคนทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในบริเวณพระราชวังดุสิต และรัวพระที่นั่งอัมพรสถาน ยามดึก มักมีปรากฏการณ์แปลกที่ผู้เคยอยู่ในที่นั้นในเวลากลางคืนต้องมีเรื่องเล่าว่าเห็นบางสิ่งที่อธิบายไม่ได้ว่าเป็นอะไรกันแน่เมาตลอด อาคารรัฐสภาที่ถนนอู่ทองใน ก่อนจะเป็นที่ทำการของหน่วยรถถังกรมตำรวจ ว่ากันบริเวณนี้เคยเป็นสวนท้ายวังที่มีต้นไม้โบราณ อย่างต้นงิ้วใหญ่ ตรงประตูประสาทเทวฤทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์จนถึงกับ อดีตประธานรัฐสภาอย่างนายชัย ชิดชอบ ออกปาก และต้องเข้าสักการะทุกครั้งที่ได้รับเลือกตั้งเป็นส..ต้องเข้าไปทำงานในรัฐสภา ทุกครั้งที่รับตำแหน่งสำคัญ ปู่ชัยต้องไปสักการะทุกครั้ง มาถึง สัปปายะสภาสถาน 


ถึงที่ตรงนี้จะเป็นพื้นที่ราชพัสดุทหาร แต่มีชุมชนทอผ้าเก่า มีต้นโพธิ์และต้นไทรขนาดใหญ่ ที่มีคนเคยเจอ “คุณยายแต่งชุดไทยสีม่วงออกมาหุงข้าวตอนตี4ทุกวัน เมื่อรื้อถอนชุมชนไปแล้วยังมีศาลพระภูมิเจ้าที่มากถึง20ศาล ที่ผู้รับเหมาไม่กล้ารื้อทิ้งส่วนหน้าของรัฐสภาที่เป็นโรงเรียนโยธินบูรณะเดิม มีศาลเจ้าที่ทหารผ่านศึกคุ้มครองอยู่ จึงเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การก่อสร้างไม่เป็นไปอย่างราบรื่น เกิดอุบัติเหตุอยู่หลายครั้ง และยังเคยมีคนงานเสียชีวิตตกจากเครนก่อสร้างมาแล้วเมื่อปี 2560  ประกอบกับเมื่อย้ายเข้ามาใช้อาคารฝั่งวุฒิสภาปี2562 มีแม่บ้านพบวิญญาณผู้หญิง บริเวณชั้น 4 จึงได้มีการทำพิธีบวงสรวงอย่างเป็นทางการ จะเห็นว่ารัฐสภาไทยมีทุกรสชาติ นี่คือแบบประวัติศาสตร์ และแบบบ้านๆ ที่ต่อสู้ฟาดฟันกันในสภาเราไม่เล่าเพราะท่านผู้อ่านคงเห็นในสื่อจนเบื่อแล้ว รัฐสภาคือที่ให้คนมาพูดคุยกัน พูดคุยกันในการทำความดี และสร้างสรรค์ 


Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)