X
รูปปั้นหินอ่อนวัดพระแก้วของดีเก่าระดับ 100 ปี ครั้งงานฉลองกรุงเทพฯ

รูปปั้นหินอ่อนวัดพระแก้วของดีเก่าระดับ 100 ปี ครั้งงานฉลองกรุงเทพฯ

15 ก.ค. 2565
6680 views
ขนาดตัวอักษร

ใครไปวัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวังช่วงนี้ อาจจะแปลกตากับตุ๊กตาหิน รูปคนมีการแต่งตัวคล้ายฝรั่ง คนจีน มีทั้งหญิงและชาย ดูน่าสงสัยว่ามาจากที่ไหน เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ได้รับคำตอบว่าเป็นรูปปั้นที่ขุดพบค้นพบจากการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว จึงนำมาทำความสะอาดแล้วตั้งให้คนชม คนที่เห็นอาจตั้งคำถามว่ามาได้ยังไง ตุ๊กตาหินตามวัดส่วนใหญ่เป็นตุ๊กตาจีน เป็นอับเฉาเรือ เหตุใดรูปปั้นชุดนี้เป็นหินอ่อน หน้าตาไปทางฝรั่ง จึงมีคนคิดกันไปต่างๆนานาว่าเป็นของทำใหม่ขึ้นหรือเปล่า?


จริงๆแล้วรูปปั้นชุดนี้เป็นรูปปั้นเก่าที่มีปรากฏหลักฐานว่าเคยตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระแก้วมาก่อนจริงๆ เมื่อค้นหาหลักฐานบทความในเว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม โดยคุณไกรฤกษ์ นานา เรื่อง พบรูปปั้นรูปพระเจ้านโปเลียนที่สามที่ลานวัดพระแก้ว ในบทความมีรูปที่อ้างว่าถ่ายโดยช่างภาพหลวงในสมัยรัชกาลที่ห้าคือ วิลเลียม ลอฟตัส และหลวงอคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคณีเป็นรูปงานฉลองพระนครครบ 100 ปี ภาพลานวัดพระแก้วมีรูปปั้นหินที่เชื่อว่าคือพระเจ้านโปเลียนที่สาม



…. ผู้เขียน [ไกรฤกษ์ นานาเริ่มต้นค้นหาข้อเท็จจริง ในที่ต่างๆ เป็นเหตุให้พบข้อมูลใหม่ที่พิสูจน์ว่า เคยมีเครื่องประดับชนิดรูปปั้นหินอ่อน จากตะวันตกภายในวัดพระแก้วจริง และจะตั้งอยู่ต่อไปอีก 3 รัชกาล ก่อนที่จะสูญหายไปอย่างไร้ร่อยรอยในเวลาต่อมา การที่ภาพนี้ถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 ย่อมแสดงว่ารูปปั้นพระเจ้านโปเลียนที่ 3 มิได้ตั้งอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงสอดคล้องกับข้อมูลในจดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมัยรัชกาลที่ 5 ว่ามีการสั่งเครื่องตั้งประดับพระอารามที่เป็นศิลาเข้ามาใหม่ เครื่องประดับศิลา ก็คือรูปปั้นหินอ่อนจากตะวันตก ตามภาพหลักฐานของนายลอฟตัสนั่นเอง ที่น่าสนใจ อาจารย์ไกรฤกษ์ได้บอกถึงบันทึกของหนึ่งในคณะเดินทางเยือนประเทศไทยของมกุฎราชกุมารรัสเซียในเวลานั้นว่า 


… คณะของซาเรวิตซ์ (ต่อมาเสวยราชย์เป็น พระเจ้าซาร์นิโคลาสที่ 2 แห่งรัสเซีย-ผู้เขียน[ไกรฤกษ์ นานา]) เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ในเดือนมีนาคม .. 1891 (.. 2434) เจ้าชายอ้อคทอมสกี้ ผู้ตามเสด็จทรงบันทึกสิ่งที่พบเห็นภายในวัดพระแก้วว่า “ตามระเบียงที่ลานรอบวัด มีรูปปั้นหินอ่อนหลายตัววางอยู่ จนเมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จึงเห็นคล้ายกับ รูปปั้นฝีมืออิตาเลียนอย่างหยาบๆ ปั้นเป็นรูปผู้มีชื่อเสียงของยุโรป มีทั้งผู้ชาย ผู้หญิง ข้าพเจ้าสอบถามผู้ที่นําเข้าไป ว่าเหตุใดรูปปั้นเหล่านี้จึงมาวางไว้ในสถานที่เช่นนี้ ก็ไม่ได้รับคําชี้แจงที่กระจ่างชัดนัก เท่าที่ทราบซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ ได้คําอธิบายว่าเขาตั้งใจจะให้หมายถึงการที่กลุ่มคนพวกนี้ มาชุมนุมกันเพื่อสดับตรับฟังคําสอนของพระพุทธเจ้าที่แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง


แค่นี้คงพอสรุปได้แล้วว่า ตุ๊กตานั้นเคยมีอยู่จริง ข้อมูลจากผู้รู้ที่ได้ชมตุ๊กตาชุดนี้มาแล้วระบุว่าที่มาของตุ๊กตาน่าจะมาจากประเทศจีนที่ตุ๊กตาตาเขียนชื่อบริษัทผู้ผลิตจากกวางตุ้งตะวันออก มีข้อมูลว่าผู้ให้นำเข้ามาน่าคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร เป็นผู้สั่งเข้ามาประดับลานวัดพระแก้ว แต่ไม่ทราบเหตุผลของการนำรูปปั้นออกไป การขุดค้นพบบริเวณรอบนอกวัดด้านตรงข้ามกระทรวงกลาโหม ที่ปิดบูรณะอยู่ มีทั้งที่สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์ จำนวนที่พบ 130 ตัว จุดที่พบเทียบกับรูปภาพเก่าสมัยรัชกาลที่ห้าถ่ายมุมกำแพงวังด้านกระทรวงกลาโหมก็มีรูปปั้นหน้าตาคล้ายกันจริงๆ ดังนั้นรูปปั้นที่เราเห็นเป็นของเก่าแน่นอน



ขอบคุณที่มาของข้อมูล: เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม ที่ https://www.silpa-mag.com/history/article_73842

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล