14 ธ.ค. 66 - พลันที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครออกมาให้ความเห็นถึงรถยนต์ว่าปล่อยฝุ่น ควัน และ มลภาวะจำนวนมาก โดยเฉพาะรถยนต์เก่าที่เป็นเครื่องยูโร 3 หลาย ๆ ท่านคงเกิดคำถามในใจว่า เครื่องยนต์ยูโร 3 คืออะไร วันนี้เรามาหาคำตอบกัน
ยูโรก็คือ
มาตรการปล่อยมลภาวะของรถยนต์ยุโรป ที่กลายเป็นมาตรฐานไปทั่วโลกนั่นเอง
โดยมีชื่อเต็ม ๆ ว่า "Euro emissions standards" ตั้งแต่ก่อนปี
ค.ศ.1990 รถยนต์ทุกคันที่จะเข้าตลาดเพื่อจำหน่ายในยุโรป
จำเป็นที่จะต้องระบุและผ่านมาตรฐาน Euro emissions standards เพื่อควบคุมอัตราการปล่อยมลพิษของรถยนต์
Euro emissions standards ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1970
แต่มาตรฐาน Euro 1 ถูกประกาศบังคับใช้ครั้งแรกในปี ค.ศ.1992
เพื่อควบคุมการปล่อยไอเสียของรถยนต์เครื่องเบนซินให้มีความเหมาะสมโดยมีจุดประสงค์หลักก็คือ
ต้องการที่จะควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์
Euro 1 เริ่มต้น ปี
ค.ศ.1992
ข้อกำหนดของมาตรฐานยูโร 1
ในปี ค.ศ.1992
คือต้องเปลี่ยนไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบไร้สารตะกั่วเท่านั้นและจะต้องมีอุปกรณ์เครื่องฟอกไอเสียให้เป็นรถยนต์เบนซินเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
(CO)
Euro 2 เริ่มต้นปี
ค.ศ.1996
มาตรฐาน Euro 2
ได้เพิ่มความเข้มงวดโดยลดปริมาณสารพิษที่จะถูกปล่อยจากรถยนต์ให้น้อยลง
ทั้งการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรคาร์บอนที่ไม่เผาไหม้และออกไซด์ของไนโตรเจน
ทั้งนี้มาตรฐาน Euro 2
ได้กำหนดมาตรฐานที่แตกต่างกันสำหรับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล จากยูโร 1
ที่เน้นรถยนต์เบนซินมากกว่า
Euro 3 ในปี
ค.ศ.2000
Euro 3
ได้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทดสอบเพื่อลดระยะเวลาการอุ่นเครื่องยนต์เพื่อให้ทันสมัยกับรถยนต์ในสมัยนั้น
และยังกำหนดให้ลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์และการปล่อยฝุ่นละอองของเครื่องยนต์ดีเซล
นอกจากนี้ Euro 3 ยังเพิ่มการจำกัด NOx สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและแยกหัวข้อการจำกัด
HC และ NOx สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน
Euro 4 ในปี
ค.ศ.2005
เนื่องมาจากในช่วงการบังคับใช้มาตรฐานนี้ รถยนต์เครื่องดีเซลได้มีความนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายทั้งการใช้งานส่วนบุคคลและในเชิงพาณิชย์
เช่น เพื่อการขนส่ง
จึงต้องมุ่งเน้นกับการลดปล่อยมลพิษจากรถยนต์ดีเซลโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดฝุ่นละออง
(PM) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) จนทำให้รถยนต์ดีเซล
Euro 4
บางคันต้องติดตั้งตัวกรองฝุ่นละอองเพื่อให้ผ่านมาตรฐาน
Euro 5 ในปี
ค.ศ.2009
Euro 5
เพิ่มความเข้มงวดของการปล่อยฝุ่นละอองจากเครื่องยนต์ดีเซลเป็นอย่างมาก
โดยรถยนต์ดีเซลทุกคันต้องติดตั้งตัวกรองฝุ่นละออง ส่วนข้อจำกัด NOx ก็เข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน
โดยต้องลดลง 28% เมื่อเทียบกับ Euro 4 และเป็นครั้งแรกที่มีการจำกัดปริมาณฝุ่นละอองสำหรับเครื่องยนต์เบนซินที่เป็นแบบจุดระเบิดโดยตรง
และล่าสุด Euro
6 ในปี
ค.ศ.2014
มาตรฐาน Euro 6 กำหนดให้ลดการปล่อย NOx อย่างมีนัยสำคัญจากเครื่องยนต์ดีเซล (ลดลง 67% เมื่อเทียบกับ Euro 5) และกำหนดมาตรฐานที่คล้ายคลึงกันสำหรับน้ำมันเบนซินและดีเซล ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานยูโร 6 นับว่าเป็นมาตรฐานสูงที่สุดในปัจจุบัน
ข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุว่า มาตรฐานบังคับให้บริษัทรถยนต์ยกระดับมาตรฐานเครื่องยนต์จากยูโร 4 เป็นยูโร 5 ซึ่งจะลดฝุ่นละอองจากเครื่องยนต์ลงได้ถึง 5 เท่า และลดฝุ่นลงได้ถึง 37,000 ตันต่อปี หรือลดลงจากเดิม 80% ภายในปี 2564 ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ส่วนรถยนต์ไฮบริด และปลั๊กอินไฮบริด จะกำหนดมาตรฐานระดับยูโร 6 ซึ่งเป็นมาตรฐานน้ำมันสูงสุด จะลดไนโตรเจนออกไซด์ได้มากกว่ายูโร 5
ที่ผ่านมาไทยมีแผนจะยกระดับมาตรฐานน้ำมันห่างจากยุโรปไม่เกิน 2 ปี แต่เมื่อยุโรปใช้ยูโร 1 ปี 2535 ไทยใช้ปี 2539 และเมื่อยุโรปใช้ยูโร 2 ปี 2539 ไทยใช้ปี 2542 รวมทั้งเมื่อยุโรปใช้ยูโร 3 ปี 2543 ไทยใช้ปี 2548 และเมื่อยุโรปใช้ยูโร 4 ในปี 2548 ไทยใช้ ปี 2555 ตามหลัง 7 ปี และยุโรปใช้มาตรฐานยูโร 5 ปี 2552 ซึ่งค่ายรถในไทยจะใช้ปี 2567 จะตามยุโรปถึง 15 ปี และยิ่งไปกว่านั้น ยูโร 6 เรายังตามแบบมองไม่เห็นยกเว้นทางค่ายรถยนต์จะออกมาตรฐานมาเอง
รวมถึงน้ำมันปัจจุบันรัฐบาลไทยยังพึ่งกำหนดมาตรฐานน้ำมันถึงยูโร 5 เมื่อไม่นานมานี้ และจะบังคับใช้จริง ๆ ในปี 2567 ซึ่งก็มีบางผู้ให้บริการน้ำมันที่เคลมว่าใช้มาตรฐานยูโร 5 มาตั้งแต่ต้น และกว่าจะถึงมาตรฐานยูโร 6 น่าจะอีกนาน
ปัญหาเรื่องของเครื่องยนต์
การปล่อยมลภาวะ ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องแก้กันต่อไป
เพราะการที่จะเปลี่ยนรถยนต์ทั้งหมดให้กลายเป็นรถยนต์ที่ปล่อยมลภาวะต่ำระดับยูโร 5-6
ก็ต้องใช้งบประมาณมหาศาล
โดยเฉพาะรถในกลุ่มสาธารณะเช่นรถเมล์รวมทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีราคาสูงคงไม่สามารถเปลี่ยนรถยนต์ทุก
5 ปีกันได้ทุกคน
ก็นับว่าการแก้ไขปัญหามลพิษฝุ่น PM2.5 จากรถยนต์ก็เป็นเรื่องที่ยากเนื่องจากปัจจัยหลายส่วน
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.scimath.org/article-chemistry/item/10450-euro-3-4-5