ย้อนไปสัก 100-200 ปี คนไทยอาศัยอยู่กับแม่น้ำลำคลองร้อยละ 80 อาชีพของคนที่อยู่กับแม่น้ำคือ ประมงน้ำจืด จับปลา จับกุ้ง จับสัตว์น้ำขายเลี้ยงชีวิต ประมงน้ำจืดเริ่มลดความสำคัญลงเมื่อแหล่งน้ำในเมืองใหญ่ถูกบุกรุกทำลาย ยังพอมีให้เห็นบ้างในต่างจังหวัด กุ้ง หอย ปู ปลา สัตว์ท้องถิ่นของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง พบได้หลายจังหวัด
มีมากในลุ่มน้ำภาคกลาง อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี ชัยนาท นครปฐม ยังพอมีกุ้งแม่น้ำให้ลิ้มลอง แค่ที่เด็ดและเลื่องลือคือ กุ้งแม่น้ำของอยุธยา เหตุผลที่ทำให้กุ้งแม่น้ำของพระนครศรีอยุธยารสชาติดีเพราะเป็นจุดทีา แม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลมาบรรจบ ทั้งแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี ไม่รวมคลองอีกหลายส่ยที่เชื่อมกับแม่น้ำ การมาของแม่น้ำนอกจากจะเชื่อมต่อแหล่งน้ำหลากหลายแห่งยังรวมถึงแร่ธาตุในดินที่เลี้ยงสัตว์น้ำเหล่านั้นให้เติบโตทำให้คุณภาพของสัตว์น้ำจืดในพื้นที่ภาคกลางเป็นที่ต้องการ
กุ้งแม่น้ำเป็นอะไรที่ถูกเอามาทำเป็นอาหารมากมายหลายชนิดและเป็นที่ที่ถูกติดใจทั้งคนไทยและคนต่างประเทศกุ้งแม่น้ำที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาแตกต่างจากกุ้งแม่น้ำในที่อื่น แม้ปัจจุบันการมีกุ้งแม่น้ำที่เป็นกุ้งเลี้ยงผสมกับกุ้งจากแหล่งน้ำซึ่งมีเหลือไม่มากนักแต่ยังมีคุณภาพที่ใกล้เคียงกันในเรื่องรสชาติ
ความนิยมกินกุ้งแม่น้ำอยุธยาไม่ได้เกิดขึ้นในเวลานี้เท่านั้นแต่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ที่เป็นแหล่งค้ากุ้งแม่น้ำขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญ ดังนั้นการนี่กุ้งแม่น้ำอยุธยายังคงเป็นอาหารหรือเมนูที่ทุกคนที่ไปเที่ยวจะต้องไม่พลาดจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
พ่อค้าต่างชาติในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้บันทึกไว้ว่า สยามบริโภคแต่ข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวมีทุกบ้านเพราะปลูกได้เอง ส่วนปลาสามารถหาจับเอาเองได้ตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลา
อาหารเกี่ยวกับปลาและกุ้งมีจำนวนมากมายหลายเมนูอันที่เป็นอาหารเดิมและอาหารฟิวชั่น กุ้งแม่น้ำอยุธยาจะดำรงอยู่ อีกนานเท่านาน ตราบเท่าที่ชุมชนและสายน้ำยังอยู่คู่เมืองไทย