X
น้ำแร่โซดารสชาติใหม่ห้วยกระเจา “ซ่าทุกขวด”

น้ำแร่โซดารสชาติใหม่ห้วยกระเจา “ซ่าทุกขวด”

5 เม.ย 2564
2230 views
ขนาดตัวอักษร

เม..64 - เปิดตัวน้ำแร่โซดาห้วยกระเจา “รสชาติใหม่” “ซ่าทุกขวด” พร้อมแจกประชาชนนักท่องเที่ยวฟรี


กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดตัว “น้ำแร่โซดารสชาติใหม่” จากห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี มาพร้อมบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ในขวดแก้วสีเขียวใส ขนาดบรรจุ 270 มิลลิลิตร โดยได้เพิ่มเทคนิคทำให้ได้รสชาติมีความซ่าเหมือนดื่มน้ำจากปากบ่อน้ำพุโซดาที่ห้วยกระเจาจริงๆ 

นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำแร่โซดาห้วยกระเจา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีประชาชนแวะเวียนไปเยี่ยมชมและรับน้ำดื่มบรรจุขวดอย่างไม่ขาดสาย


โดยก่อนหน้านี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ผลิตน้ำแร่โซดาบรรจุขวดเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนไปแล้ว แต่น้ำที่ผ่านระบบกรองจนสามารถนำมาดื่มได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพความซ่าเดิมหายไป ได้รสชาติของน้ำแร่เพียงอย่างเดียวกรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้ปรับปรุงสูตรใหม่ เป็น “น้ำแร่โซดารสชาติใหม่” จากห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรีที่มาพร้อมบรรจุภัณฑ์แบบขวดแก้วสีเขียวใส ขนาดบรรจุ 270 มิลลิลิตร ลักษณะเด่นเฉพาะด้วยการเพิ่มความซ่าแบบโซดา ที่ได้เติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในน้ำที่ผ่านการกรองอย่างถูกหลักอนามัยแล้ว ประชาชนที่มาแวะชมได้สัมผัสลิ้มลองดื่มน้ำแร่โซดาห้วยกระเจาที่ถูกสุขลักษณะ ไม่เกิดผลเสียต่อร่างกาย และมีความคล้ายน้ำแร่ห้วยกระเจาจากบ่อจริงอีกด้วย


ทั้งนี้ตามนโยบายของรัฐบาล โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ตั้งแต่ปี .. 2551 - 2563 รวมทั้งสิ้น 18,220 แห่ง ปริมาณน้ำที่สามารถพัฒนาเพื่อการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น จำนวน 400 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี จำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์ 2,102,325 ครัวเรือน และโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ตั้งแต่ปี .. 2556 - 2563 รวมทั้งสิ้นจำนวน 11,111 แห่ง ปริมาณน้ำบาดาลที่สามารถพัฒนาเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น จำนวน 364 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี พื้นที่เกษตรกรรมมีแหล่งน้ำบาดาลเพิ่มขึ้น จำนวน 424,800 ไร่





ดร.สุรินทร์ วรกิจธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาน้ำบาดาล กล่าวเพิ่มเติมว่า ขั้นตอนการสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะดำเนินการอย่างรอบคอบและรัดกุมถึง 10 ขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์ข้อมูล 2) สำรวจภาคสนาม 3) คัดเลือกสถานที่ 4) เจาะบ่อน้ำบาดาล 5) ออกแบบและก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล6) พัฒนาบ่อน้ำบาดาล 7) สูบทดสอบปริมาณน้ำบาดาล 8) วิเคราะห์คุณภาพน้ำ 9) ออกแบบระบบกระจายน้ำ และ 10) การถ่ายทอดเทคโนโลยี

นอกจากนี้ภารกิจในการเจาะบ่อน้ำบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะมีรถเจาะที่มีความสามารถเจาะได้ถึง 400 เมตร หลุมเจาะบ่อน้ำบาดาลส่วนใหญ่ดำเนินการในพื้นที่หาน้ำยาก มีการปิดผนึกข้างบ่อเป็นอย่างดี บ่อน้ำบาดาลจะมีชุดปิดปากบ่อน้ำบาดาลแบบป้องกันน้ำท่วม มีฐานคอนกรีตเพื่อป้องกันสารปนเปื้อนเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาล มีอายุการใช้งาน 15-20 ปี มีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลเพื่อให้ทราบคุณลักษณะต่างๆ ก่อนนำไปใช้อุปโภคบริโภคเพื่อความปลอดภัยของประชาชน



Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล