X
เปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากไหมอีรี่

เปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากไหมอีรี่

25 ก.ค. 2566
850 views
ขนาดตัวอักษร

25 ..66 - อวร่วมกับ บพทลงพื้นที่ประเมินผลงาน มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ รับรางวัลสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาเชิงพื้นที่ ชูผลงานเปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากไหมอีรี่


นางสุวรรณี คำมั่น และ นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษา รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) พร้อมด้วยนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง อวพร้อมคณะ ลงพื้นที่ประเมินผลงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (มรภ.วไลยอลงกรณ์ที่ส่งผลงานเข้าประกวดผลงานสถาบันอุดมศึกษาพัฒนาเชิงพื้นที่ดีเด่น ประจำปี .. 2566 ที่ศูนย์การเรียนรู้การเลี้ยงไหมอีรี่แบบครบวงจร .ทัพเสด็จ .ตาพระยา.สระแก้ว 


รศ.ดร.ฐิติพร ได้นำเสนอโครงการว่า มรภ.วไลยอลงกรณ์ ได้เสนอผลงานไหมอีรี่สีทอง เป็นผลงานพัฒนาเพื่อชาวบ้านเปลี่ยนของเหลือในชุมชนเป็นเงิน สร้างอนาคตทั้งเงินและงานอย่างยั่งยืน ซึ่งต่อยอดและขยายผลจากโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบลฯ หรือ U2T ทั้ง 2 เฟส และได้รับรางวัล ชนะเลิศ U2T for BCG National Hackathon 2022 จากการพัฒนาเส้นบะหมี่อบแห้งผสมโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่ หลังจากได้ลงพื้นที่ร่วมศึกษาและวิเคราะห์บริบทชุมชนตลอดจนทราบปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งพบว่า .ตาพระยา .สระแก้ว เป็นอำเภอที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในจังหวัด เกิดวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในปริมาณมาก 


มรภ.วไลยอลงกรณ์ จึงได้เข้าไปส่งเสริมและบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ ได้แก่กรมหม่อนไหม ในการนำใบมันสำปะหลังมาใช้เลี้ยงไหมอีรี่ เพื่อลดปริมาณใบมันสำปะหลังที่ถือเป็นขยะในชุมชนการต่อพันธุ์ไหมเพื่อผลิตไข่ไหมให้ได้มาตรฐาน และยังสามารถต่อพันธุ์ไหมจนกระทั่งได้ไหมอีรี่สีทองพันธุ์ใหม่และได้รับการขึ้นทะเบียนในชื่อ “ไหมมันสำปะหลังสระแก้ว” อีกทั้งยังมีการต่อยอดด้วยการนำดักแด้ของไหมอีรี่ ที่เป็นผลพลอยได้จากรังไหม มาเพิ่มมูลค่าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เส้นบะหมี่อบแห้งผสมโปรตีนจากดักแด้ไหมอีรี่


นอกจากนี้ยังได้มีการบูรณาการความร่วมมือกับกรมพัฒนาชุมชน ในการเพิ่มช่องทางการตลาด เกิดนวัตกรชุมชนในพื้นที่ และเกิดการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงไหมอีรี่จัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน “กลุ่มผู้เลี้ยงไหมอีรี่และแปรรูปผลิตภัณฑ์ไหมอีรี่ตำบลทัพเสด็จ” อีกด้วย


นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า ผลงานที่มหาวิทยาลัยนำเสนอ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการนำองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาพัฒนาพื้นที่โดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ได้อย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งการประกวดผลงานในครั้งนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการสร้างผลงานของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างพลังแห่งความรู้ เพื่อพัฒนาคน พัฒนาพื้นที่ ตลอดจนความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่ต่อไป


ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้แสดงความชื่นชม มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในการดำเนินงานจนเกิดเป็นผลผลิตและผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเป็นกลไกสำคัญในการประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนใน .ทัพเสด็จ กับหน่วยงานต่างๆ ในการเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา สร้างความเข้มแข็งและสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของชุมชนได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้เยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงไหมอีรี่แบบครบวงจร ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งแรกของ .ทัพเสด็จ ที่มีสินค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ของชุมชน ที่พัฒนาร่วมกับ มรภ.วไลยอลงกรณ์อาทิเช่น เส้นบะหมี่อบแห้งจากดักแด้ไหมอีรี่ ผงโรยข้าวดักแด้ไหมอีรี่ และช็อกโกแลตดักแด้ไหมอีรี่ เป็นต้น

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)