X
ดาวเทียม THEOS-2 คืออะไร ขึ้นไปทำอะไรบนอวกาศ

ดาวเทียม THEOS-2 คืออะไร ขึ้นไปทำอะไรบนอวกาศ

6 ต.ค. 2566
4160 views
ขนาดตัวอักษร

..66 - วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 ไทยกำลังจะส่งดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นสู่อวกาศ “THEOS-2” แล้วดาวเทียมดวงนี้คืออะไร ขึ้นไปทำหน้าที่อะไรบนอวกาศกันแน่?


ใกล้ถึงวันสำคัญของประเทศไทยอีกครั้ง ในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 7.00 -9.30. GISTDA จะเดินหน้าภารกิจส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศ ทำหน้าที่ดาวเทียมไทยอีกหนึ่งดวงของประเทศไทย เรามาดูข้อมูลกันว่าดาวเทียมดวงใหม่ดวงนี้จะทำหน้าที่อะไรบ้าง?


🚀ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ หรือ GISTDA บอกไว้ว่า การส่ง THEOS-2 ขึ้นทำหน้าที่บนอวกาศ จะทำให้ได้ข้อมูลภูมิศาสตร์ที่ละเอียดมาก โดยดาวเทียมดวงนี้ให้รายละเอียดสูงมากขนาด 50 เซนติเมตร ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย และยังเป็นดาวเทียมระดับปฎิบัติการในรอบ 15 ปี หลังจากส่งไทยโชตหรือ THEOS-1 

🛰️ ไทยโชต เป็นดาวเทียมรายละเอียดสูง ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ส่งขึ้นปฏิบัติหน้าที่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 จากฐานปล่อยจรวดเมืองยาสนี ประเทศรัสเซีย โดยจรวดนำส่ง "เนปเปอร์เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยส่งดาวเทียมชนิดนี้ ซึ่งไทยโชต “ทำหน้าที่เก็บข้อมูลภาพถ่ายร่วมกับดาวเทียมดวงอื่น  จากทั่วโลก ได้ข้อมูลมหาศาลที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศ ด้วยข้อมูลที่มากขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” “ทำให้สามารถเฝ้าระวังและหาหนทางแก้ไขปัญหาในยามวิกฤติได้ดีขึ้น โดยเฉพาะภัยพิบัติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี


🛰️ ถึงเวลาให้น้องใหม่ THEOS-2 ทำหน้าที่แทน เป็นดาวเทียมสำรวจโลก (Earth Observation) เพื่อการปฏิบัติการดวงที่สองของประเทศไทย จัดเป็น “ดาวเทียมรายละเอียดสูงมาก” ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้เป็นเวลา 10 ปีสามารถใช้งานได้ถึงปี 2576 แต่ด้วยเทคโนโลยีการออกแบบการใช้งานจากทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและพัฒนาดาวเทียมจากบริษัทแอร์บัสฯ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ทำให้เรามั่นใจว่า THEOS-2 จะใช้งานได้นานเท่ากับหรือมากกว่าไทยโชต


🛰️ THEOS-2 เป็นดาวเทียม Remote Sensing เอาไว้สำหรับบันทึกภาพบนพื้นโลกและข้อมูลชั้นบรรยากาศTHEOS-2 มีน้ำหนัก 425 กิโลกรัม สามารถบันทึกภาพได้ในหลายช่วงคลื่น (multi spectral) ด้วย Optical Sensor ได้ที่ความละเอียดสูงถึง 50 ซม./pixel 


🛰️THEOS-2 จะโคจรอยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 621 กิโลเมตร สามารถบันทึกภาพได้ทุกพื้นที่ทั่วโลก โดยโคจรกลับมาที่ตำแหน่งเดิมทุก  26 วัน แต่โคจรผ่านประเทศไทยทุกวันสามารถปรับเอียงเพื่อการถ่ายภาพ ได้ 45 องศา  มีความกว้างในการถ่ายภาพ อยู่ที่ 10.3 กิโลเมตร สามารถถ่ายภาพและส่งข้อมูลกลับมายังสถานีภาคพื้นดินได้ไม่ต่ำกว่า 74,000 ตารางกิโลเมตรต่อวัน


ด้วยคุณสมบัติทางเทคนิคต่างๆของ THEOS-2 เหล่านี้ ทำให้ข้อมูลที่ได้รับจากดาวเทียมดวงนี้เป็นข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและมีข้อมูลที่ทันสมัย สามารถใช้ได้ดีในงานที่ต้องการข้อมูลเชิงพื้นที่หรือแผนที่ที่ความละเอียดสูง งานด้านการจัดการทางการเกษตร การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานความมั่นคง การบริหารจัดการที่ดินการดูการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ การบริหารจัดการน้ำ และอื่นๆอีกมากมาย


🛰️ THEOS-2 เมื่อถึงอวกาศแล้วต้องทดสอบการทำงานบนอวกาศร่วมกับสถานีภาคพื้นดินก่อน ซึ่งจะเป็นการทดสอบกับสถานการณ์จริง  คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือน ถึงจะเริ่มให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)