พระนางพญาหรือพระพิมพ์นางพญา ได้รับการถวายสมัญญาว่าเป็น "ราชินีแห่งพระเครื่อง" พระที่พบอยู่ในพระเจดีย์และบริเวณวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก จึงถูกขนานนามว่าพระนางพญา
คาดว่า พระถูกสร้างในสมัยศรีอยุธยาราว พ.ศ.2106 โดยสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรีเป็นผู้ทรงสร้างในเวลาใกล้เคียงกับการสร้างวัดนางพญา มีอายุถึงปัจจุบันเกือบ๔ 400 ปี ได้รับการยกย่องว่า ทรงคุณวิเศษมาก ทั้งทางมหิทฤทธิ์และมหานิยม
มีชื่อพระเป็นทางกษัตรี แต่ใช้คุ้มครองได้ทั้งหญิงและชาย หาได้มีคุณวิเศษและใช้ได้เฉพาะฝ่ายสตรีตามที่บางท่านเข้าใจไม่ประวัติ ตามตำนานกล่าวสืบกันมาว่า ราว พ.ศ. 2122 มีกษัตริย์องค์หนึ่ง (สมัยสมเด็จพระศรีสรรเพ็ชร์ที่ 1 หรือพระมหาธรรมราชา ระหว่าง
พ.ศ. 2112-2133 ) ครองเมืองพิษณุโลก มีอัครมเหสีทรงพระนามว่าพระนางเบญจราชเทวี ครั้นกษัตริย์พระองค์นั้นเสด็จสวรรคต พระนางเบญจราชเทวีได้ปกครองบ้านเมืองแทนพระสวามีสืบมา ต่อมาได้มีศึกรามัญมาตั้งล้อมเมืองพิษณุโลกไว้เพื่อจะดีเอาเมือง พระนางเบญจ-ราชเทวีได้เกณฑ์ทหารและประชาชนพลเมืองจะเข้าทำการต่อสู้ ขณะนั้น มีตาซีปะขาวองค์หนึ่งเข้ามารับอาสาสมเด็จพระนางเจ้าทำพระพุทธ
ปฏิมากรองค์เล็กที่แจกจ่ายแก่ทหารและประชาราษฎร์ที่จะเข้าสู้รบเพื่อปราบศึกรามัญให้พ่ายแพ้ไป ด้วยคุณวิเศษสามารถ ป้องกันสรรพาวุธได้ทุกอย่าง ตลอดจนมีคุณวิเศษทางเมตตามหานิยมและเป็นศรีสวัสดิมงคลทุกประการ แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อรบศึกชนะแล้วขอให้สมเด็จพระนางเจ้าสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง และพระสถูปเจดีย์องค์หนึ่ง กับขอให้ชื่อว่า วัดสมเด็จนางพญา แล้วให้เรียกพระที่แจกจ่ายแก่ทหารและประชาราษฎร์กลับคืนมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์นั้นพร้อมทั้งแม่พิมพ์ สมเด็จพระนางเจ้าก็รับคำ ตาชีปะขาวจึงนำดินมาจากประเทศอินเดีย ๔ แห่ง คือ ดินที่ตำบลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติสีแดง ดินที่ตำบลตรัสรู้สีเหลือง ดินที่ตำบลทรงประทานปฐมเทศนาสีเขียว และดินที่ตำบลดับขันธ์ปรินิพพานสีดำ
พระนางพญา เป็นฝีมือช่างสมัยศรีอยุธยาอยู่แล้วเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรการจำลองพระพุทธชินราช ณ จังหวัดพิษณุโลกในการเสด็จฯ ครั้งนี้ได้เสด็จเยี่ยมและทอดพระเนตรวัดวาอารามใน จังหวัดนั้นด้วย ก่อนที่จะเสด็จฯ ไปวัดนางพญา ทางวัดได้จัดการสร้างศาลาเล็ก ๆเพื่อรับเสด็จขึ้นหลังหนึ่งตรงหน้ากุฏิเจ้าอาวาสซึ่งอยู่หน้าวัดใกล้พระเจดีย์ที่บรรจุพระนางพญา ขณะที่ขุดหลุมเพื่อลงเสาได้พบพระนางพญาจมอยู่ในดินเป็นจำนวนมากรวมทั้งพระพิมพ์องค์ใหญ่ด้วย ขณะ นั้นไม่ค่อยมีผู้ไดสนใจมากนัก แต่ได้มีผู้นำพระนางพญาขึ้นทูลเกล้าฯถวายเป็นจำนวนมาก
ผู้ที่ติดตามเสด็จได้รับพระราชทานแจกจ่ายทั่วถึงกัน ส่วนหนึ่งใส่บาตรไว้แล้วนำมาบรรจุที่พระเจดีย์องค์หนึ่งของวัดอินทรวิหารพระนคร แต่บัดนี้ถูกคนร้ายลักลอบนำไปแล้ว ซึ่งมีราว 700 องค์ต่อมาได้มีคนเปิดกรุพระนางพญา และขุดค้นพบในบริเวณวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก จำนวนมหาศาลพิมพ์ทรง
จำแนกได้ 5 ประเภท คือ
พิมพ์ทรงพิเศษ เป็นพิมพ์ทรงที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ และรูปลักษณะต่างไปกว่าพิมพ์ทรงอื่น ๆ ฐานกว้างประมาณ 2.3-2.5 ซม หนาประมาณ 0.6-0.75 ซม. มี 3 ลักษณะ คือ
ก. พิมพ์ทรงพิเศษอกนูน เป็นพิมพ์ทรงที่ได้รับอิทธิพลช่างเชียงแสน
ข. พิมพ์ทรงพิเศษแขนอ่อนแบบสุโขทัย
ค. พิมพ์ทรงพิเศษแขนอ่อนแบบอู่ทอง
พิมพ์ทรงใหญ่ ฐานกว้าง 1.8-2.2 ซม. หนา 60 ซม. แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
พิมพ์ทรงใหญ่เข่าโค้ง มีลักษณะพระเพลาและพระชานุโค้งเป็นท้องกระทะเล็กน้อย และมีลักษณะกลมกลืนกันดี คล้าย ลักษณะแบบสุโขทัย มีความอ่อนโยน พระพักตร์รูปผลมะตูม พระกรรณรูปบายศรี พระอุระเป็นพู พระนาภีเป็นลอน
พิมพ์ทรงใหญ่เข่าตรง ลักษณะคล้ายพิมพ์ทรงใหญ่เข่าโค้ง ผิดแปลกที่พระเพลาเหยียดตรงไม่โค้งขึ้น แสดงถึงความแข็งแกร่งและคงกระพัน ทรวดทรงและลีลาแข็งขันไม่อ่อนสลวยเหมือนแบบเข่าโค้ง
พิมพ์ทรงสังฆาฏิ เป็นพิมพ์ทรงขนาดย่อมงดงามแสดงพระ-สังฆาฏิชัดเจน พระศกแสดงเป็นเส้นครอบพระพักตร์ลงมา และประสาน ต่อเนื่องกับพระกรรณ พระเมาพีและพระเกศแหลม ทำให้ดูคล้ายสวมชฎา บางคนเรียก พิมพ์ทรงชฎา หรือพิมพ์ทรงผมโป่ง การงอข้อ พระพาหาแข็งเกือบได้ฉาก ฐานพระพาหาแข็งเกือบได้ฉาก ฐานกว้างไม่ชะลูด ตัดกรอบเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วป้าน ๆ เกือบเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า บางคนเรียกพิมพ์นี้ว่า พิมพ์ทรงสามเหลี่ยม
พิมพ์ทรงอกแฟบ เป็นพิมพ์ทรงขนาดเล็กลงมาอีก ทรวดทรงโปร่งชะลูด พระอุระไม่ยกนูนหรือไม่แสดงพระสังฆาฏิชัดเจนนัก พระเมาหีและพระศกแสดงเป็นเส้นบาง พระพักตร์ใหญ่ พระพาหากางเล็กน้อยไม่ได้ฉาก ต่างกับพิมพ์ทรงสังฆาฏิ พระเพลามีทั้งชนิดเข่าตรงและเข่าโค้ง กรอบตัดเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วชะลูด
พิมพ์ทรงอกตั้ง เป็นพิมพ์ทรงขนาดเล็กที่สุด พระอุระเป็นแผ่น ตั้งออกมาไม่โค้งนูน วงพระพักตร์และพระศอชัดเจนมากที่สุด พระพาหา ทั้งสองเบียดชิดลำพระองค์ การงอข้อพระพาหาเกือบเป็นมุมฉาก มีทั้งชนิดเข่าโค้งและเข่าตรง
เนื้อ เป็นผงละเอียดมัน มีคราบกรุเคลือบไม่มากก็น้อย ถ้ามีเม็ดแร่แร่นั้นจะเป็นเงางามคล้ายเพชรซีก หรือเป็นเม็ดซ้ำเลือดช้ำหนอง ใสเป็นเงาลึก เนื้อแห้งจัดวรรณะมีสีต่างกันเช่น สีมันปู สีกระเบื้องหม้อใหม่ สีแดงดินเผาแก่บ้าง อ่อนบ้าง สีเขียวใบไม้ สีสวาท สีเม็ดพิกุล สีดอกพิกุลแห้ง และสีดำ