“อิ่น” หรือ “อิ้น” เครื่องรางฮอตฮิตของคนเหนือล้านนา มีบันทึกสืบทอดกันมาว่า แปลว่า “ รักมาก ” จัดเป็นเครื่องรางที่เราคุ้นเคยกันแต่ไหนแต่ไร เพราะคนเหนือนั้น นิยมใช้ “อิ่น” ในการเป็นของเสริมเสน่ห์เมตตา เรียกคู่ เรียกรัก รวมทั้งช่วยเรียกเงินทอง คนทำมาค้าขายก็จะนิยมใส่อิ่นเอาไว้ในกระเป๋าสตางค์ บ้างใช้วางเรียกแขกกันเห็นๆ" อิ้น " คือเครื่องรางรูปชายหญิง นั่ง หรือ ยืน กอดรัดกันอยู่ โดยทำจากเนื้อผงอาถรรพ์บ้าง ทำจากเนื้อโลหะพวกสัมฤทธิ์ แร่ต่าง ๆ โดยมากจะจัดทำกันทางภาคเหนือ ตามตำนานเล่าไว้ว่าอิ้นเป็นเทพทางศาสนาฮินดู มีรูปลักษณะเป็นชายหญิงกอดกัน อิ้นมีอิทธิฤทธิ์มาก จนสร้างความเดือดร้อนให้กับเหล่าเทวดาทั้งหลายจนพระนารายณ์ต้องปล่อยจักรออกมาตัดอิ้นให้ขาดออกจากกันเพื่อปราบให้สิ้นฤทธิ์ อิ้นจึงต้องแยกกันอยู่ตั้งแต่นั้นมา จนภายหลังได้มาพบกันจึงเข้ากอดรัดกันเพราะแยกกันมานาน " อิ้น "เป็นเครื่องรางที่มีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยม ผู้ใช้อิ้นทำเสน่ห์ จะเขียนชื่อของอีกฝ่ายนึงและชื่อตนเองลงบนตัวอิ้น แล้วภาวนาคาถามหาระรวยไม่นานก็จะสัมฤทธิ์ผล
สาริกา หรือ สาริกาลิ้นทอง ความเชื่อมาแต่โบราณมาจากนกชนิดหนึ่งที่มีเสียงร้องไพเราะและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหาคู่ นกสาริกาจะส่งเสียงร้องได้ไพเราะมากที่สุด จึงส่งผลให้กลายมาเป็นเครื่องรางในรูปแบบของนกสาริกาที่มีทั้งคาถาบูชาสาริกา การบูชาสาริกาลิ้นทอง และการบูชาสาริกาคู่ โดยมีความเชื่อกันว่า สาริกาลิ้นทอง หรือ สาริกาคู่ ช่วยส่งเสริมเสน่ห์ เมตตา ความรัก พูดอะไรใครก็ชอบ พูดอะไรใครก็หลง พูดอะไรใครก็เชื่อ เรามักได้ยินข่าวคนดัง ๆ คนมีหน้าที่การงานดี มักจะไปลงคาถาสาริกา หรือสาริกาลิ้นทอง เพื่อเสริมสร้างเสน่ห์ เมตตาให้กับตนเองเพื่อที่จะได้มีงาน มีคนนิยมชมชอบสนับ สนุนผลงาน ให้มีเงินทองนั้นเองและที่สำคัญให้โชคดี
“ ม้าเสพนาง ” เครื่องรางของขลังสายเมตตามหานิยมเสน่ห์รุนแรงว่ากันว่าเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดมหาเสน่ห์ตั้งแต่โบราณนานมา “ม้าเสพนาง” น่าจะมีจุดเริ่มมาจากพม่าแล้วแผ่ขยายมายังล้านนา “ใครมีไว้บูชา...หญิงเห็นหญิงรัก ชายเห็นชายรัก มีเสน่ห์แก่ผู้พบเห็น เกิดเมตตารักใคร่...สมหวัง เรื่องความรัก ชีวิตครอบครัวมีความสุขความเจริญ ไปที่แห่งหนตำบลใดก็มีคนให้ความอนุเคราะห์อุ้มชู ไม่อดอยากยากไร้...คนอยากพูดคุย อยากรู้จัก มีเสน่ห์ดีนักแล...” ตำนาน “ม้าเสพนาง” มาจากครอบครัวหนึ่งมีลูกสาวเลี้ยงม้าตัวผู้อยู่หนึ่งตัว ลักษณะงามยิ่งนัก หญิงสาวดูแลม้าทุกวัน และแล้วอาชาหนุ่มก็ตกหลุมรักนาง เรื่องเล่ามีต่อไปว่า “ความรัก”...ที่เกิดขึ้นลุกลามบานปลายจนถึงขั้นคนกับสัตว์มีอะไรกันความทราบถึง “พ่อ” ด้วยความโกรธและอับอายมาก จึงบันดาลโทสะฆ่าม้ารูปงามนั้นตายตกไปในชาตินี้ แต่ไม่น่าเชื่อว่า...หญิงสาวผู้เป็นลูกก็กลับกลั้นใจ ตายตกตามอาชาหนุ่มผู้เป็นที่รักไปด้วยกันนี่เองที่ทำให้ “ม้าเสพนาง” เป็นวิชาที่ใช้ในเรื่อง ตัณหา กามารมณ์ มหาเสน่ห์อย่างรุนแรง ถึงที่สุด เมื่อรู้อย่างนี้ กระนั้นแล้ว “ผู้ใช้”...ควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีศีลธรรมประจำใจ
“ปลัดขิก”...นับเป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังที่มีความเชื่อศรัทธากันมากว่าเป็นของดีที่มีมาแต่โบราณนานมาแล้วเป็นเครื่องรางของขลังเป็นของที่ครูบาอาจารย์ได้ ทำไว้เพื่อเอาไปใช้โดยเฉพาะ นับตั้งแต่พกติดตัว บูชาอยู่กับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือ ร้านค้า ฯลฯ ตำนานที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ ตำนานเกี่ยวกับการบูชา ตรีมูรติ มีการบูชาเทพผู้เป็นใหญ่ทั้งสามได้แก่ พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ และเทพทั้งสามได้มาปรากฏกายให้ผู้บูชาได้ชื่นชมพระบารมี โดยพระพรหมปรากฏเป็น สี่หน้า สี่กร พระวิษณุ เป็นเทพธรรมดา ส่วนพระศิวะปรากฏให้เห็นเฉพาะส่วนที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเพศชาย หลักจากนั้นจึงได้มีการสร้างสิ่งเคารพที่แสดงถึงเทพทั้งสามตามที่ปรากฏให้เห็น ในประเทศไทยไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเริ่มมีมาในสมัยใด และมีความแแตกต่างจากศิวลึงค์ของชาวฮินดู เนื่องจากปลัดขิกที่คนไทยนำมาบูชานั้นทำขึ้นจากผู้มีวิชาความรู้ด้านไสยศาสตร์และทำการปลุกเสกเพื่อให้เป็นเครื่องรางของขลัง โดยในสมัยโบราณคนไทยนิยมห้อยปลัดขิกไว้กับเอวหรือห้อยคอสำหรับเด็กผู้ชาย ซึ่งการทำเช่นนี้เพราะมีความเชื่อว่าหากมีปลัดขิกติดตัวจะช่วยป้องกันอันตรายต่างๆได้ หรือบางคนนำมาบูชาไว้กับสถานประกอบการค้าขายเพราะเชื่อว่าจะทำให้ค้าขายมีกำไรมีคนอุดหนุนกิจการมากขึ้น
จิ้งจกมหาเสน่ห์ จิ้งจกเป็นสัตว์ประจำคู่บ้านเรือนที่อยู่อาศัยออกหากินแมลงตามที่มีแสงสว่างเช่นหลอดไฟ มักส่งเสียงร้อง จนเป็นความเชื่อของคนโบราณว่าถ้าจิ้งจกร้องทักจะเกิดเหตุการณ์ดีหรือร้าย จนมีบันทึกไว้ในตำราความเชื่อเรื่องโชคลาง แต่จิ้งจกหากมีสองหางแล้วโบราณถือว่าเป็นสัตว์นำโชค เชื่อกันว่าหากบ้านใดมีจิ้งจกสองหางแล้วจะมีโชคมีลาภ ทำมาค้าคล่องเงินทองไหลมาเทมา ดังนั้นหากจิ้งจกสองหางเกิดขึ้นที่บ้านใดเมื่อมันตายมักนำมาใส่กรอบแล้วพกติดตัวเพื่อเป็นเครื่องรางนำโชค ทางด้านพระเวทย์วิทยาคม มีการบันทึกศาสตร์ของจิ้งจกสองหางนี้ไว้เป็นรูปยันต์ และคาถาจิ้งจกสองหางมีปรากฏทั้งตำราสายล้านนาเมืองเหนือ หรือตำราพระเวทย์สายภาคกลางก็มีการบันทึกถึงยันต์จิ้งจกสองหางนี้ไว้ ดังนั้นเกจิอาจารย์จึงมักนำมาสร้างเป็นวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง โดยวัสดุที่นำมาสร้างได้แก่งาช้าง กระดูกของสัตว์ เขาของสัตว์ กะลา และไม้ที่มีคุณวิเศษต่างๆเช่นไม้งิ้วดำ ไม้ตะเคียน ไม้รักซ้อนเป็นต้น โดยนำวัสดุดังกล่าวแกะเป็นรูปจิ้งจกสองหาง นอกจากนั้นยังมีการสร้างด้วยโลหะ โดยทำแบบพิมพ์และเทโลหะเข้าในเบ้าหลอมหล่อขึ้นเป็นรูปก็มี อิทธิคุณอำนาจของเครื่องรางของขลังประเภทจิ้งจกสองหางนั้น เป็นที่ยอมรับกันว่าโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยม และโชคลาภค้าขาย หรือเสี่ยงโชคเสี่ยงดวงเป็นหลัก แต่ของเกจิอาจารย์ท่านใดจะมีพลังอำนาจเด่นไปทางใดก็สุดแล้วแต่การปลุกเสกของท่านว่าจะให้เป็นไปอย่างไร จิ้งจกสองหางเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้า นักเจรจา ศิลปินนักร้อง มักมีไว้เพื่อเป็นสิ่งเสริมทางด้านเมตตามหานิยม และทำมาค้าคล่อง เครื่องรางของขลังจิ้งจกสองหางจึงเป็นหนึ่งในเครื่องรางของขลังอีกอย่างหนึ่งที่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน