ภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่สวยเหมือนภาพวาดของ “กาแล็กซีทางช้างเผือก” เหนือภูเขาเหนี่ยวเตี้ยว เมืองยูนนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ทำให้ Backbone MCOT อยากนำเรื่องที่ทุกคนอาจไม่เคยรู้เกี่ยวกับ “ทางช้างเผือก” กาแล็กซีที่เป็นบ้านของโลกเรามาเล่าสู่กันฟัง จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
กาแล็กซีทางช้างเผือก เป็นบ้านของเรา
กาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy) เป็นกาแล็กซีที่ระบบสุริยะของเราอาศัยอยู่นั่นเอง เป็นกาแล็กซีประเภทกังหันมีคาน (Barred Spiral Galaxy) บ้านของเรามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100,000 ปีแสง และมีดาวฤกษ์สมาชิกกว่า 200,000 ล้านดวง
ทางช้างเผือก เป็นกลุ่มกาแล็กซี่ท้องถิ่น
กลุ่มกาแล็กซีท้องถิ่น หรือ “Local Group” กินอาณาบริเวณกว่า 10 ล้านปีแสง มีสมาชิกมากกว่า 80 กาแล็กซี! 3 อันดับแรกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ
1. กาแล็กซีแอนโดรเมดา (Andromeda Galaxy)
2. กาแล็กซีทางช้างเผือก (Milky Way Galaxy)
3. กาแล็กซีสามเหลี่ยม (Triangulum Galaxy)
ดวงอาทิตย์ก็โคจรรอบทางช้างเผือกนะ
ใจกลางทางช้างเผือกนั้นมี “ดวงอาทิตย์” ที่กำลังโคจรรอบใจกลางทางช้างเผือกด้วยอัตราเร็ว 282,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และจะใช้เวลาโคจรรอบทางช้างเผือกครบหนึ่งรอบ ประมาณ 230 ล้านปี
เราอยู่ในทางช้างเผือก แต่ทำไมเราถึงมองเห็นทางช้างเผือก?
เพราะว่าระบบสุริยะของเราอยู่บริเวณแขนของทางช้างเผือกที่ห่างออกมาจากใจกลางกาแล็กซีประมาณ 25,800 ปีแสง ทำให้เรามองเห็นส่วนต่าง ๆ ของกาแล็กซีเราได้ แต่เป็นมุมที่มองจากด้านข้างของทางช้างเผือกนั่นเอง
“ใจกลางทางช้างเผือก” มีดาวฤกษ์และวัตถุท้องฟ้าอยู่หนาแน่นมากที่สุด!
ทางช้างเผือกที่เรามองเห็นนั้นแต่ละตำแหน่งจะมีดาวฤกษ์กระจายตัวไม่เท่ากัน แต่ส่วนที่สวยงามที่สุดบริเวณใจกลางทางช้างเผือกนั้นเป็นส่วนที่งดงามที่สุด มีดาวฤกษ์และวัตถุบนท้องฟ้าอยู่มากที่สุด ถ้าเราใช้กล้องสองตามองดู ก็จะเห็นดาวฤกษ์ระยิบระยับเหมือนเม็ดทรายเลย
ขอขอบคุณ
- ข้อมูลน่ารู้เรื่องกาแล็กซีทางช้างเผือก : ธนกร อังค์วัฒนะ. 8 เรื่องน่ารู้ของทางช้างเผือก. (ออนไลน์) จาก : https://darksky.narit.or.th/astronomy/8-เรื่องน่ารู้ของทางช้างเผือก/
- ภาพหมู่ ‘ดาว’ สุกสกาวแต่งแต้มนภา ‘ยูนนาน’ จาก xinhuathai