X
โดรนฝีมือคนไทย ทำได้ขนาดนี้ วช. โชว์โดรนแปรอักษร “นวัตกรรมไทย 1 ใน 9 ของโลก”

โดรนฝีมือคนไทย ทำได้ขนาดนี้ วช. โชว์โดรนแปรอักษร “นวัตกรรมไทย 1 ใน 9 ของโลก”

6 มิ.ย. 2566
1190 views
ขนาดตัวอักษร

มิ..66 - สุดประทับใจสู่สายตาชาวชุมพร วชจับมือ .กีฬาเครื่องบินจำลองฯ ยกทัพโดรนบุกชุมพร โชว์ “โดรนแปรอักษร” ฝีมือคนไทย และเป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเซียน และ 1 ใน 9 ของโลก พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรภาคใต้ ครั้งที่ 1


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ จัดพิธีเปิดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” ภาคใต้ ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5 – 7 มิถุนายน 2566 โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมฯ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน 


พร้อมด้วยนายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ  นายศรีชัย วีระนรพานิช นายกเทศมนตรีเมืองชุมพร พร้อมด้วย ผู้บริหารหน่วยงานในจังหวัดชุมพรคณะผู้ทรงคุณวุฒิ วชและสื่อมวลชน เข้าร่วมในพิธีฯ  เทศบาลเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วชและสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโดรนในประเทศ ที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์การสั่งงานโดรนแปรอักษร สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ ซึ่งเป็นโดรนแปรอักษร ฝีมือคนไทย และเป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเซียน และ 1 ใน 9 ของโลก” 


ดังนั้น วชจึงให้การสนับสนุนแก่สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาการดำเนินโครงการดังกล่าว เกิดผลงานและนวัตกรรมที่สำคัญมากมาย ซึ่งเป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ เป็นการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและนวัตกร ที่จะนำความรู้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือ “โดรน” ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดและปรับใช้กับการทำงานในด้านต่าง  ให้กับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง  ทั่วประเทศ โดยเป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกทักษะ ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองผ่านกิจกรรม “โดรนแปรอักษร” ซึ่งผลที่ได้จะนำไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ภายในงาน มีนักบินโดรน จาก “หนูน้อยจ้าวเวหา” และผู้มีประสบการณ์มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จในการนำความรู้เกี่ยวกับเครื่องบินและโดรนไปต่อยอดในการศึกษาและประกอบอาชีพ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมการอบรมด้วย ทั้งนี้ ในช่วงค่ำ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ โดยเยาวชนผู้เข้าร่วมการอบรมดังกล่าว ได้จัดการแสดงโดรนแปรอักษรในรูปต่าง  จำนวน 8 รูป ประกอบด้วย รถไฟโบราณปลาวาฬนกนางแอ่นม้าน้ำอักษรย่อ วช., อักษรย่อ อว., โลโก้สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองฯ และโลเคชั่นชุมพร ซึ่งทั้งหมดใช้โดรนทำการแสดงกว่า 200 ลำ การแสดงดังกล่าวได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับประชาชนในจังหวัดชุมพรที่มารับชมเป็นอย่างมาก


ด้านนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ได้รับการสนับสนุนจาก วชจัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” และการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน ให้กับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง  ทั่วประเทศเป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและลงมือทำในสิ่งต่าง  ในสภาพแวดล้อมจริง โดยจังหวัดชุมพรถือเป็นที่แรกของภาคใต้ในการจัดอบรม ระหว่างวันที่ 5-7 มิถุนายน 2566


โดรนแปรอักษร” ฝีมือคนไทย เป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งานที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ และแพลตฟอร์มระบบปัญญาประดิษฐ์ มีการพัฒนาและส่งเสริมให้ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และนวัตกร ที่จะนำองค์ความรู้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดและปรับใช้กับการทำงานในด้านต่าง  


ทั้งนี้ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรในภาคใต้ มีกำหนดจัดขึ้นใน 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามลำดับ โดยนักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจสามารถติดตามข่าวสารการอบรมได้ที่ Facebook Fanpage : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ

อ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ..คิดอย่างไรกับเรื่องนี้ เขียนเลย
Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)