X
Design4Thailand เปิดแผนพัฒนาธุรกิจเพื่อชุมชน

Design4Thailand เปิดแผนพัฒนาธุรกิจเพื่อชุมชน

10 ส.ค. 2566
1150 views
ขนาดตัวอักษร

สถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BAScii) ได้รวมตัวกันก่อตั้งชมรม Design4Thailand เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม  ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมได้ และการได้ทดลองลงมือทำการเปลี่ยนแปลงนั้นเองคือคำตอบในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ก่อตั้งชมรม พวกเขา Design4Thailand ได้ลงมือทดลองทำ 3 โปรเจกต์ ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสร้างผลสะเทือนทางสังคมได้มากขึ้น ได้แก่ โปรเจกต์พวงหรีดสร้างโอกาสให้เด็กด้อยโอกาสและคนชรา โปรเจกต์ถ้วยอนามัยแบรนด์ไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม และโปรเจกต์การท่องเที่ยวทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาความยากจน


ชมรม Design for Thailand ก่อตั้งโดยนิสิตสถาบันวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬา (BAScii) ภายหลังได้เรียนวิชา Rethinking Justice for Innovators หนึ่งในวิชาที่ทางสถาบันฯ ร่วมจัดกับสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) เพื่อพัฒนานิสิตให้เป็น Justice Innovators และ Future Leaders แห่งศตวรรษที่ 21

นิสิตชั้นปีที่ 1 ของสถาบันฯ ได้เรียนรู้วิชานี้ โดยมีอาจารย์ปริชา ดวงทวีทรัพย์ เป็นอาจารย์ประจำวิชา นิสิตได้เรียนรู้และสัมผัสปัญหาที่เชื่อมโยงกับประเด็นความยุติธรรมในหลากหลายมิติ ผ่านการจำลองสถานการณ์และการทำความเข้าใจมุมมองของกลุ่มเปราะบาง นอกจากภาคทฤษฎีแล้ว การเรียนยังเน้น project-based ที่ให้นิสิตออกแบบนวัตกรรมความยุติธรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (design thinking)


ทุกคนอยากเห็นและเป็นความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่สามารถสร้างความสุขและทำให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้น การมาอยู่ใน Design for Thailand ทำให้เรารู้ว่าพวกเราสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ เพียงกล้าที่จะ (เริ่มลงมือทำ” กวินนา ชินประสิทธิ์ชัย กล่าวถึงแรง   บันดาลใจและวิสัยทัศน์ในการก่อตั้งชมรม ร่วมกับเพื่อน อาทิ ขอขวัญ เลาอโศกชลันธร วิสุทธิแพทย์ และกัลยรักษ์ กฤตพิทยบูรณ์ ปัจจุบัน Design4Thailand มีสมาชิกจำนวน 10 คน เป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 และ 2


Design4Thailand ยังได้รับแรงบันดาลใจในการก่อตั้งและการดำเนินการมาจาก Design for America (DFA) เครือข่ายนักประดิษฐ์ที่ใช้ทักษะการคิดเชิงออกแบบเพื่อสร้างผลกระทบทางสังคมในท้องถิ่น พัฒนาโดยคณาจารย์และนักศึกษาในสหรัฐอเมริกา เพื่อหล่อหลอมผู้สร้างนวัตกรรมทางสังคมรุ่นต่อไปและยกระดับการเรียนรู้ระหว่างชุมชนและมหาวิทยาลัย

 

Design4thailand เติมเต็มผู้ประกอบการชุมชน

ด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการ เป็น ความเปลี่ยนแปลงในสังคม และมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาแผนธุรกิจในชุมชนให้เกิดความยุติธรรมและยั่งยืน นิสิตจาก Design4Thailand สวมบทบาทเป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคม และใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเป็นเครื่องมือสู่การสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลง

“Design thinking ช่วยในการทำความเข้าใจความต้องการและมุมมองของชุมชน และพัฒนาแนวทางแก้ไขที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและยั่งยืน สนับสนุนแนวทางใหม่  เพื่อจัดการกับความท้าทายทางสังคมที่ซับซ้อน และส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจ ความร่วมมือ และการสร้างสรรค์ร่วมกันกับกลุ่มผู้ประกอบการและชุมชน” กวินนา กล่าวและอธิบายหลักการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) ตามโมเดลของ D.School Stanford University ซึ่งแบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอน คือ


1. เข้าใจปัญหา (Empathize) โดยนำเอาความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) มาใช้ในการวิเคราะห์ปัญหา และทำความเข้าใจพฤติกรรมของ User (ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมาย 

2. นิยามปัญหาให้ชัดเจน (Define) คือการระบุปัญหา หรือประเด็นที่ต้องการจะแก้ไข (Problem statement) 

3. ระดมความคิด (Ideate) เป็นการนำเสนอแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่าง  เพื่อให้ได้มุมมองและวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายให้มากที่สุด

4. สร้างต้นแบบ (Prototype) คือการแปลงไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่างอย่างง่ายสุด

5. ทดสอบ (Test) เป็นการทดสอบกระบวนการ แนวคิด แผนที่วิเคราะห์ว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงและเกิดประสิทธิภาพที่ดี

การคิดเชิงออกแบบเป็นกระบวนการและเครื่องมืออันทรงพลังที่จะช่วยให้เกิดความคิดใหม่  ช่วยเราหาโซลูชันที่แตกต่างและแผนงานที่สร้างสรรค์ ธุรกิจหรือบริการต่างๆ ย่อมมีปัญหาหรือช่องว่างที่ต้องการพัฒนาอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดขายหรือเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ เราจึงหวังจะช่วยผู้ประกอบแก้ไขปัญหา ค้นหาคำตอบด้วยการสำรวจ วิจัย และพัฒนาแผนกลยุทธ์ร่วมกัน ซึ่งนำไปสู่การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยรวมของธุรกิจ” ขอขวัญ กล่าว

 

โปรเจกต์ Design4Thailand ร่วมพัฒนาชุมชนสู่ความยั่งยืน

ในระยะเวลา 2 ปีที่ก่อตั้งชมรม Design4Thailand ได้ร่วมพัฒนาแผนธุรกิจกับชุมชนและผู้ประกอบการแล้ว 3 โปรเจกต์ได้แก่

1) Carenation วิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ที่มีไอเดียจัดทำพวงหรีดสานบุญ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับการจากไปมากกว่าการจัดพิธีฌาปนกิจศพ โดย Carenation มุ่งเน้นที่จะช่วยสังคมใน 3 ด้าน

• สานบุญชุมชน มุ่งทำงานกับปัญหาผู้ด้อยโอกาสและคนชราที่ไม่มีงานทำ โดยออกแบบพวงหรีดให้ประกอบได้ง่ายเพื่อให้คนชราและเด็กสามารถประกอบได้ เป็นการให้งานสำหรับคนว่างงานที่สามารถทำได้โดยง่าย พวงหรีดทุกพวงประกอบโดยคนในชุมชน ให้โอกาส ให้อาชีพ

• สานบุญสังคม ทำให้ช่องทางการบริจาคโปร่งใส Carenation เป็นคนกลางกับพันธมิตรกับองค์กรที่ดี ลูกค้าจะได้รับใบอนุโมทนาบัตรจากองค์กรนั้น  เพื่อยืนยันว่าได้บริจาคจริง ได้ทำบุญให้ผู้วายชนม์จริง และมีการอัปเดตยอดการบริจาคที่ลูกค้าสามารถดูได้ทุกวันที่โฮมเพจของเว็บไซต์

• สานบุญสิ่งแวดล้อม พวงหรีดที่มีความคล้ายคลึงกับพวงหรีดดอกไม้จริง แต่ทำจากกระดาษรีไซเคิลและไม้จากป่าปลูกเท่านั้น

Design4Thailand เข้ามาเสริมพลังให้กับ Carenation ในการหากลุ่มเป้าหมายสำหรับพวงหรีดกระดาษ ได้กล่าวว่า ไอเดียของ carenation ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย จึงอาจทำให้มีปัญหาเรื่องกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น Design4Thailand จึงทำวิจัยและลงพื้นที่เพื่อระบุกลุ่มลูกค้าที่ควรสร้างสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์ โดยได้ระบุแผนกลยุทธ์ออกมา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มพนักงานวัยกลางคนที่มีรายได้ และอาศัยอยู่ใน กทมและปริมณฑล กลุ่มชาวจีนเตรียมไหว้บรรพบุรุษในโอกาสพิเศษ และกลุ่มวัยทำงานแรกเข้าและนักศึกษามหาวิทยาลัย โดยแต่ละกลุ่มจะมีกลยุทธ์การเข้าถึงและสร้างสัมพันธ์กับแบรนด์แตกต่างกัน

         สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Carenation ติดต่อ https://care-nation.com/our-story/

 

         2) Joie Period Care ธุรกิจผลิตภัณฑ์ถ้วยอนามัยแบรนด์ไทยใส่ใจสิ่งแวดล้อม เป็นถ้วยอนามัยที่รองรับประจำเดือนได้มากเท่าผ้าอนามัยแบบกลางวัน 4-5 ชิ้น ใส่ได้นานถึง 12 ชั่วโมง แถมถ้วยอนามัย 1 ชิ้นยังมีอายุการใช้งานยาวนานถึง 10 ปี จึงช่วยลดขยะผ้าอนามัยไปได้กว่า 2,400 ชิ้นตลอดอายุการใช้งาน 

         สำหรับธุรกิจรักษ์สิ่งแวดล้อมนี้ Design4Thailand ช่วยวิจัยเพื่อทำความเข้าใจมุมมองของผู้หญิงในชุมชนด้อยโอกาสต่อถ้วยอนามัย และนำเสนอไอเดียให้กับ Joie Period Care เกี่ยวข้องกับวิธีการบริจาคและโปรโมตการใช้ถ้วยอนามัยในสังคมดังกล่าว

         สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Joie Period Care ติดต่อ https://www.facebook.com/cupsofjoie/

 

         3) RJR - โครงการร้อยใจรักษ์ จากมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ สร้างโอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพสุจริตแทนการทำสิ่งผิดกฎหมายและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้ชุมชน โดยมีเป้าหมายระยะยาวเพื่อพัฒนาโครงการให้เป็นต้นแบบการแก้ปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่สังคมเมืองอย่างยั่งยืน

         ส่วนที่ Design4Thailand เข้าไปร่วมพัฒนาคือการทำความเข้าใจและโปรโมตการท่องเที่ยวแบบ Alternative Tourism ให้โครงการร้อยใจรักษ์ เพื่อดึงนักท่องเที่ยวมาและสร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในพื้นที่

         สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับRJR –โครงการร้อยใจรักษ์ ติดต่อได้ที่

https://www.maefahluang.org/domestic-program-01/

 

Design4thailand พร้อมตอบโจทย์ SME เพื่อสังคม

Design4Thailand ยังเปิดรับโครงการใหม่  ที่ต้องการไอเดียทางธุรกิจ เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนและเป็นธรรมให้กับชุมชนและสิ่งแวดล้อม


กัลยรักษ์ กฤตพิทยบูรณ์ หนึ่งในสมาชิก Design4Thailand กล่าวทิ้งท้ายว่า “เราเป็นคนหนึ่งที่เคยมีความคิดว่า “ตัวเองเป็นแค่เด็ก เป็นเพียงส่วนเล็ก  ส่วนหนึ่งเท่านั้น ความคาดหวังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง ฟังดูเป็นอะไรที่เกินตัวไปหรือเปล่านะ?” แต่หลังจากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ Design for Thailand เราก็ได้รู้ว่าความคิดที่อยากจะเริ่มลงมือทำต่างหากคือสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนสังคมของผู้ใหญ่ หรือไม่ว่าจะเป็นเพียงการกระทำเล็ก  น้อย  ของนิสิตนักศึกษาคนหนึ่ง ก็สามารถทำให้สังคมของเราเป็นพื้นที่สำหรับทุกคนได้ เราค่อนข้างเชื่อว่าสักวันหนึ่ง สิ่งที่เราและเพื่อน  กำลังทำอยู่ตอนนี้ จะมีความหมายกับใครสักคนในอนาคตอย่างแน่นอน


แม้จะเป็นชมรมที่ตั้งโดยนิสิต BAScii จุฬาฯ แต่น้อง  Design4Thailand บอกว่ายินดีต้อนรับเพื่อนจากคณะอื่นในมหาวิทยาลัยให้มาร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยกัน

สำหรับผู้ที่สนใจโครงการดี  จากชุมชนหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ instagram : Design4thailand https://www.instagram.com/design4thailand/

 

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล