X
ส่องเทรนด์วัยใสใช้เทคโนโลยีที่พ่อแม่ควรรู้

ส่องเทรนด์วัยใสใช้เทคโนโลยีที่พ่อแม่ควรรู้

12 ต.ค. 2564
710 views
ขนาดตัวอักษร

น้องๆ วัยอนุบาล จนถึงประถมในปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่าเกิดมาในยุคของเทคโนโลยี ตั้งแต่จำความได้ การใช้หน้าจอสัมผัสของสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต แทบจะอยู่ในสัญชาตญาณของเด็กๆ อยู่แล้ว ทำให้เกิดเทรนด์การใช้ชีวิตที่พึ่งพาสมาร์ทดีไวซ์ตั้งแต่ยังอายุน้อย พ่อแม่ที่เป็นเด็กยุค 80s หรือ 90s ใช้ชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่านหลายคนอาจจะเกิดความสงสัยว่าต้องทำอย่างไรจึงจะเข้าใจเด็กๆ เพื่อที่จะใช้เวลาอันมีค่าร่วมกันได้อย่างเต็มที่ เรามาลองดูเทรนด์การใช้ชีวิตด้วยอุปกรณ์ไอทีของเด็กๆ ในยุคนี้ สิ่งไหนที่พ่อแม่ควรรู้ แล้วพ่อแม่จะมีวิธีการบริหารจัดการ การใช้หน้าจอให้มีประโยชน์สำหรับเด็กได้อย่างไรมาลองดูกัน


เทรนด์แรก เด็กจะใช้เวลาที่บ้านบนหน้าจอมากขึ้น การเป็นเด็กนั้นมีเวลาว่างเยอะมาก เด็กเตรียมอนุบาลใช้เวลาที่บ้านทั้งวันในขณะที่เด็กที่ไปโรงเรียนแล้วก็เลิกเรียนตั้งแต่ช่วงบ่ายต้น สมัยเด็กพ่อแม่เลี้ยงเรามากับของเล่นต่างๆ วิดีโอเกมขนาดพกพา อ่านหนังสือการ์ตูน หรือไม่ก็ดูการ์ตูนบนทีวีเครื่องเดียวกับคนอื่นในบ้าน ต่างกันกับยุคที่มีสมาร์ทดีไวซ์ที่มีทั้งสมาร์ทโฟนแล็ปท็อปที่ เด็กๆ จะเข้าถึงได้ทันทีที่มีเวลาว่าง เพียงแท็บเล็ตเครื่องเดียว เขาจะดูการ์ตูนก็ได้ หรือเปิดเกมขึ้นมาเล่นก็ได้ พ่อแม่ก็จะค่อนข้างกังวลใจในการหาวิธีจัดการกับลูก เพื่อจำกัดเวลาดูจอ 

 

บริษัทเจ้าของเทคโนโลยียุคนี้เข้าใจความกังวลของคนเป็นพ่อแม่ดี สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตแทบทุกยี่ห้อจึงมีฟีเจอร์ที่ทำให้เจ้าของเครื่องสามารถดูสถิติการใช้งานต่างๆ ในเครื่องได้ ซึ่งสามารถพบได้ในแท็บเล็ตสำหรับเด็กของ ฟีเจอร์เกี่ยวกับการช่วยพ่อแม่บริหาร Content  เช่น Time Management ทำให้พ่อแม่สามารถตั้งไว้ได้เลยว่า ลูกควรจะใช้งานแต่ละแอปฯ กี่ครั้งต่อวัน และนานเท่าไร หรือการแจ้งเตือนเมื่อใช้แท็บเล็ตในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การที่ลูกหลานมองแท็บเล็ตใกล้เกินไป หรือนอนเล่นผิดท่า เป็นการฝึกนิสัยการดูจอให้ถูกท่า และยังได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์เมื่อพวกเขาโตขึ้น ทั้งยังมาพร้อมกับการอำนวยความสะดวกให้เด็กๆ เมื่อหลุดออกจากหน้าแอป Kids Corner ก็สามารถ log in เข้าใช้งานได้ด้วยตัวเองทันที ส่วนในเรื่องสายตาระบบปฏิบัติการบนแท็บเล็ตที่อัพเดทล่าสุดก็ล้วนมี eBook Mode เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยถนอมสายตาจากแสงสีฟ้าที่เป็นอันตราย และมาพร้อม eBook Mode สีขาวดำถนอมสายตาเช่นกัน

 

เด็กจะเรียนรู้ผ่านสมาร์ทดีไวซ์ในบ้าน สมัยก่อนบางคนจะ เคยมีของเล่นสำหรับการเรียนรู้เป็นกระดานแม่เหล็กที่วาดและลบได้เองในตัว หรือย้อนไปอีกคือกระดานดำที่ใช้ชอล์คขีดเขียน และยังมีหนังสือการ์ตูน นิทานความรู้ ที่พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ซื้อมาให้อ่านมากมาย อย่างไรก็ตาม นอกจากหนังสือนิทานมากมายที่เด็กยุคนี้ยังได้อ่าน วันนี้เด็กๆ ยังมีตัวเลือกเพิ่มเติม ในการท่องโลกความบันเทิงด้วยเทคโนโลยี เช่น การใช้งานผ่านแท็บเล็ต เพราะมีแอปพลิเคชันจำนวนมากที่ให้ทั้งความรู้ และให้ความสนุกสนาน และแอปฯ จากผู้พัฒนารายใหญ่ต่างๆ ซึ่งมีโหมด Kids เพื่อคอนเทนต์ที่เอื้อต่อการสร้างพัฒนาการ และมีความเหมาะสมตามวัยของเด็กที่กำลังเรียนรู้  สำหรับการจัดสรรคอนเทนต์ให้เด็กเข้าถึงได้สะดวก และปลอดภัย ครอบครัวที่มีแท็บเล็ตอยู่ก็สามารถจัดสรรแอปพลิเคชันที่เหมาะสำหรับลูกน้อยไว้อยู่บนหน้าโฮมด้วยกันเพื่อเข้าถึงได้ง่าย หรือรวมแอปฯไว้ด้วยกันเป็นกลุ่ม แต่ให้สะดวกก็คือ ถ้าเรามีแท็บเล็ตที่จัดสรรแอปฯ ต่างๆ ที่คัดเลือกมาแล้วว่าเหมาะสำหรับเด็ก ก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก แอปฯ สำหรับเด็กรวมกันบนที่เดียว และหน้าตาน่าเล่นเท่านั้น แต่มีมุมให้เด็กๆ ได้ลับฝีมือการสร้างสรรค์ เช่นPainting รวมถึงลับคมสมองวิชาพื้นฐานต่างๆ ผ่าน Baby Panda World ที่รวมเกมผ่านด่านกับเจ้า Baby Panda ไว้มากมายนอกจากจะได้สนุกกับเรื่องราวผ่านตัวละครน่ารักๆ ระหว่างผ่านด่านเด็กๆ ก็จะได้เจอกับเกมทดลองสติปัญญาอย่างโจทย์เลข หรือควิซภาษาอังกฤษไปพร้อมกัน และ Azoomee แพล็ตฟอร์มรวมเกมกว่า 200 เกม และวิดีโออีกมากมายที่ทั้งน่าสนุก พร้อมอัดแน่นไปด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับโลกกว้างในเวลาเดียวกัน นอกเหนือจากคอนเทนต์เหล่านี้ พ่อแม่เองก็สามารถบริหารจัดการได้ว่าลูกจะเข้าใช้แอปฯ ไหน และดูรูป หรือชมวิดีโอไหนได้บ้างที่เหมาะสม ผ่าน App Management และ Content Management

 

เด็กๆจะ เชื่อมต่อกับเพื่อนวัยเดียวกันด้วยเทคโนโลยี เมื่อเด็กอยู่บ้านในช่วงนี้ไม่ว่าจะเรียนออนไลน์จากบ้าน หรือ ปิดเทอมอยู่ที่บ้าน ก็จะคิดถึงเพื่อนๆ เป็นธรรมดา วิธีหนึ่งที่จะคลายเหงากับเพื่อนได้บ้าง คือ วิดีโอคอลกับเพื่อนๆ ที่เขาจะได้คุยและเห็นหน้าเพื่อนที่โรงเรียน หรือญาติๆ วัยเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่สามารถนัดเวลากับผู้ปกครองท่านอื่นไว้ได้เลยว่าวันไหนที่จะให้เด็กๆ คุยกัน และคิดกิจกรรมที่จะให้เด็กๆ ทำร่วมกันทางออนไลน์ไว้ล่วงหน้า เช่น ทำขนมแล้วถ่ายภาพส่งให้กัน วาดการ์ดแลกกัน หรือหากวันไหนไม่ว่างคุย ลองให้น้องๆ อัดเสียงเล่าเรื่องชีวิตประจำวัน ส่งให้กันก็ได้

 

เทคนิคอีกอย่างคือลองสำรวจว่าแท็บเล็ตที่ใช้มีแอปฯ หรือฟีเจอร์ไหนที่ช่วยให้น้องๆ สร้างผลงานแชร์เพื่อนๆ ได้เองบ้าง ลองปล่อยให้ลูกน้อยได้ควบคุมแท็บเล็ตเพื่อสร้างสรรค์คอนเทนต์สำหรับแชร์ให้เพื่อนด้วยตัวเขาเอง อย่าง Kids Corner ของหัวเว่ยก็จะมีกล้องและที่อัดเสียง ที่น้องๆ สามารถกดใช้งานเองได้ง่ายด้วย UI ที่เป็นมิตรสำหรับเด็ก ถ้าหากคุณแม่จะให้น้องส่งภาพขนมให้เพื่อน ก็ให้เขาถ่ายภาพแต่ละขั้นตอน ไปจนถึงผลงานหลังทำขนมเสร็จแล้ว คุณแม่ไม่ต้องห่วงว่าลูกจะทำแท็บเล็ตตกหรือเลอะเทอะถ้าใส่เคสซิลิโคนกันกระแทกไว้บ้าง


Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล