X
รู้จัก..“ม่อฮ่อม” เสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีคราม Soft Power ของไทย

รู้จัก..“ม่อฮ่อม” เสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีคราม Soft Power ของไทย

10 เม.ย 2566
10890 views
ขนาดตัวอักษร

เม..66 ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทยพร้อมด้วยคณะผู้สมัคร ..แพร่ เดินตลาดทุ่งโฮ้ง ดูแหล่งผลิตผ้าม่อฮ่อม เล็งต่อยอด-ส่งออก เป็น Soft Power ของไทย


โดยระบุว่า.. “หากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล เราจะเป็นนายหน้านำสินค้า และซอฟต์ พาวเวอร์ (Soft Power) ของไทยไปเจรจาค้าขายกับต่างชาติ นายกฯ จากพรรคเพื่อไทย จะเป็นเซลส์แมน นำสินค้าของพี่น้องประชาชนไปขายกับต่างประเทศ


มาทำความรู้จักกับเรื่องน่ารู้และประวัติความเป็นมาของชุดม่อฮ่อมกันว่ามีที่มาอย่างไร และทำไมจึงต้องเรียกชุดเหล่านี้ว่า “ม่อฮ่อม” 


ในปัจจุบันแหล่งผลิตเสื้อผ้าหม้อฮ่อมอยู่ที่ “บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่” เป็นแหล่งผลิตที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุด


เสื้อ “ม่อฮ่อม” เป็นเสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีคราม ดำ คอกลม ผ่าอก แขนยาวหรือแขนสั้น มีทั้งแบบที่ใช้กระดุมกลัดและที่ใช้ผ้าเย็บเป็นเชือกผูก เป็นเสื้อที่ชายชาวภาคเหนือสวมใส่กันเป็นปรกติในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันเสื้อม่อฮ่อมได้เปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบของเสื้อให้มีความสวยงามยิ่งขึ้นและได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ เพราะสวมสบาย ทนทาน และราคาถูก บางครั้งบางคราวเสื้อม่อฮ่อมยังได้รับเกียรติให้เป็นเสื้อสำหรับใส่ในงานเลี้ยงอาหารในโอกาสรับรองแขกต่างบ้านต่างเมืองด้วย


ม่อฮ่อม เป็นคำภาษาถิ่นล้านนา โดยแท้จริงไม่ได้หมายถึงเสื้อ แต่หมายถึงสีของเสื้อที่เป็นสีครามอมดำ ปัจจุบันถ้าเอ่ยว่า ม่อฮ่อม จะหมายถึงเสื้อดังลักษณะที่กล่าวไว้ข้างต้น เสื้อชนิดนี้มิใช่เสื้อสำหรับผู้ชายชาวล้านนาสวมใส่มาแต่เดิมแต่เสื้อที่ชายชาวล้านนานิยม คือเสื้อผ้าฝ้ายสีขาวแบบที่เรียกว่า เสื้อห้าดูก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตั๋วก้อมแอวลอย


ที่มาของม่อฮ่อม “เสื้อม่อฮ่อม” เกิดขึ้นภายหลังสงครามโลกครั้งที่  ที่จังหวัดแพร่ มาจากชนเผ่าลาวพวนที่อพยพเข้าไปอยู่ที่อำเภอเมืองแพร่และได้เย็บเสื้อผ้าฝ้ายย้อมสีครามดำออกจำหน่ายแก่คนงานและลูกจ้างทำป่าไม้ขึ้นก่อน ทว่า ได้มีคนซื้อมาสวมใส่กันแพร่หลาย ต่อมาเมื่อ .. 2496 “นายไกรศรี นิมมานเหมินท์” ได้จัดงานเลี้ยงอาหารแบบขันโตกเพื่อเป็นเกียรติแก่ “ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์” และกงสุลอเมริกันขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดให้ผู้มาร่วมงานสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลมย้อมสีคราม คาดผ้าขาวม้า หลังจากงานนี้จึงมีผู้นิยมใช้เสื้อม่อฮอมกันแพร่หลายยิ่งขึ้น คนทั่วไปจึงคิดว่า เป็นเสื้อประเพณีนิยมสำหรับชายชาวล้านนา



ที่มา  : www.homhuanmohom.com และ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา เว็บไซต์ www.royin.go.th http://legacy.orst.go.th/?knowledges=%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1


Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)