วิหารเซียน หรือ อเนกกุศลศาลาชื่อภาษาจีน ต้า ผู่ อี่เป็นวิหารแบบจีน ที่รวบรวมงานศิลปะไทยและจีน ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่ตั้งใจให้เป็นวิหารแบบจีน
มีการจัดวางตามหลักฮวงจุ้ย เป็นสถานที่ที่มีทั้งความศักดิ์สิทธิ์และทรงคุณค่าทางศิลปะ
ประดิษฐานรูปเซียน องค์ประธานของศาลคือ เทพเจ้าลื่อทงปิน หรืออาเซียนลื่อทงปิน อาเซียนลำดับที่ 3 ของอาเซียนทั้ง 8 พระองค์ หรือเทพเจ้า 8 เซียน หรือเทพเจ้าโป๊ยเซียนโจวซือ ที่เคารพบูชา ส่วนคุณค่า คือ ความงามของชิ้นงาสศิลปะเป็นที่รวบรวมชิ้นงานศิลปะจีนและวัตถุโบราณล้ำค่า รวมถึงรูปสลักหินแกรนิตแสดงการต่อสู้แบบจีนไว้ที่วิหารแห่งนี้
วิหารเซียนออกแบบโดย คุณสง่า กุลกอบเกียรติ หรือที่หลายคนเรียกว่า อาเซียนสง่า หรือ อาจารย์สง่า จุดเริ่มต้นของวิหารเซียนเกิดขึ้นมาจากในปี พศ. 2530 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงตรวจเยี่ยมการก่อสร้างในโครงการพัฒนาพื้นที่รอบวัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม มีพระราชกระแสรับสั่งพระราชทานที่ดินจำนวน 7 ไร่ในโครงการพระราชดำรินี้ ซึ่งอยู่ในบริเวณฝั่งตรง ข้ามกับวัดญาณสังวราราม ให้แก่อาจารย์สง่า เพื่อให้ใช้ประโยชน์ตามแต่จะเห็นเหมาะสม หากแต่ท่าน คิดว่าไม่ควรที่จะนำที่ดินนี้มาใช้เป็นการส่วนตัว อีกทั้งท่านยังมีปณิธานอันแรงกล้าที่อยากสร้างอนุสรณ์สถานที่แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีและความจงรักภักดีที่มีต่อพระมหากษัตริยาธิราชและประเทศไทยในนามของชาวไทยเชื้อสายจีน จึงเป็นจุดกำเนิดของวิหารเซียน
ชื่อวิหารเซียนมีที่มาจาก ในระหว่างการก่อสร้าง สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณ สังวร ทรงมีรับสั่งว่า "ด้านวัดนั้นเป็นวิหารพระ พื้นที่ด้านนี้ก็เป็นวิหารเชียน" ดังนั้นมงคลนาม"วิหารเซียน" ที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงรับสั่งเรียกขาน จึงถือเป็นอีกหนึ่งมงคลนามอันล้ำค่า
ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิหารเซียนนั้นสร้างขึ้นมาจากพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดญาณสังวราราม จากโครงการสร้างวัดญาณสังวราราม ดังนั้นลึกๆ แล้ววิหารเซียนจึงผูกพันกับวัดญาณสังวรารามแบบแยกกันไม่ออก การพูดถึงตำนานของวิหารเซียนจึงต้องเล่าถึงตำนานของวัดญาณสังวรารามด้วย
ย้อนไปก่อนปี 2519 นายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธิวดี อันตระการ พร้อมด้วย บุตรธิดา เจ้าของที่ดินที่ได้มาสร้างเป็นวัดญาณสังวรารามมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้พยายามถวายที่ดินนี้สร้างเป็นสำนักสงฆ์หลายครั้งแต่แล้วก็เกิดเหตุไฟไหม้น้ำท่วมบ้างในที่สุดมีคนแนะนำให้คุณหมอขจรนำเรื่องนี้พร้อมทั้งที่ดินไปถวาย สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณสังวร ที่วัดบวรนิเวศ ท่านเจ้าคุณสมบัติได้โปรดเมตตา รับที่ดินนี้ไว้โดยมีภาวินิจฉัยว่า ที่ดินแห่งนี้เป็นที่ดินที่มีความศักดิ์สิทธิ์ดังนั้นจึงต้องมีผู้มีบุญเป็นผู้ก่อสร้างวัดแห่งนี้สำเร็จ จึงได้ทูลเกล้า ถวายโครงการกับ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงเกิดเป็นโครงการก่อสร้างวัดญาณสังวรารามขึ้น
เคยมีผู้อธิบายเหตุผลถึงการที่ไม่สามารถนำที่ดินนี้ไปสร้างเป็นสำนักสงฆ์ได้ในตอนแรก ด้วยเรื่องเล่าที่ร่ำลือกันว่า ครั้งศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่สอง ในคราวที่สมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช ได้เสด็จมาทางภาคตะวันออก เพื่อมุ่งไปตั้งมั่นที่จันทบุรี ได้เสด็จผ่าน มายังพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งวัดญาณสังวรารามในทุกวันนี้ ทรงพิจารณาเห็นว่าพื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เหมาะที่จะจัดสร้างเมืองเป็นเมืองหลวง หากกอบกู้เอกราชได้ จึงได้ “หมายตา” พื้นที่ตรงนี้ไว้ ด้วยเหตุนี้พื้นที่ตรงวัดญาณสังวรารามและพื้นที่โดยรอบจึงไม่ใช่พื้นที่ที่คนธรรมดาจากครอบครองได้โดยง่ายเพราะถูกตั้งใจไว้หรือผู้มีอำนาจ ด้วยเหตุนี้พื้นที่ตรงวัดญาณสังวรารามและพื้นที่โดยรอบจึงไม่ใช่พื้นที่ที่คนธรรมดาจะครอบครองได้ เพราะถูกตั้งใจไว้โดยผู้มีอำนาจและบารมี ที่จะนำไปใช้ประโยชน์ทีาสำคัญไว้ก่อน แต่ด้วยความเหมาะสมและเหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงในหลายอย่างทำให้แต่ด้วยความเหมาะสมและเหตุผลทางการเมืองและความมั่นคงในหลายอย่างทำให้กรุงธนบุรีถูกเลือกเป็นเมืองหลวง
เรื่องราวที่เล่าต่อๆกันมาถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพื้นที่วัดญาณสังวรารามรวมทั้งเขาชีจันและเขาชีโอน พื้นที่ตรงนี้จะมีความศักดิ์สิทธิ์ไม่ธรรมดาใครที่เคยไปปฎิบัติธรรมในวัดญาณสังวรารามย่อมต้องทราบถึงความศักดิ์สิทธิ์และ ได้รับประสบการณ์เหนือธรรมชาติกลับมากันทุกคน เช่น การเดินส่วนทางกับผู้ที่แต่งชุดขาวในยามค่ำคืนทั้งที่ไม่เคยเห็นในเวลาปฏิบัติธรรมหรือเตรียมอาหารเช้าถวายพระ หากพระท่านใดมาปฎิบัติธรรมจำพรรษาที่นี่แล้วไม่นั่งสมาธิปฏิบัติธรรมก็จะมีใครบางคนมาคอยเตือนให้ปฏิบัติธรรมทำหน้าที่ ยังไม่รวมเหตุการณ์ในการก่อสร้างพระอุโบสถที่มีช่างกินสุราเมาแล้วเกิดอุบัติเหตุเสียชีวิต ฯลฯ
พื้นที่วัดญาณสังวรารามจึงไม่ใช่พื้นที่ธรรมดา กลับมาถึงการสร้างวิหารเซียน ต้องไม่ลืมว่าอาจารย์สง่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์ฮวงจุ้ย ย่อมต้องพอรู้ว่าพื้นที่ตรงนี้ไม่ธรรมดาอย่างไรหากจะสร้างอาหารเซียนจะสร้างที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ถ้าคิดว่ามีผู้ให้ที่ดินแต่ทำไมถึงเลือกสร้างวิหารเซียนที่ศักดิ์สิทธิ์ในพื้นที่บริเวณนี้ ความเชื่อในทางคติแบบจีนนั้นเชื่อว่าสิ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดมงคลเกิดขึ้นได้ด้วยสามสิ่ง คือหนึ่งสถานที่ที่เป็นมงคล สร้างโดยบุคคลที่เป็นผู้มีบุญวาสนาในอำนาจ ในเวลาที่เหมาะสมด้วยรูปแบบที่เหมาะสมจึงเป็นการสมพงศ์กันของมงคลทั้งปวง