30 พ.ค. 67 - SME ไทยนับว่าเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ เพราะถือว่าเป็นหน่วยใหญ่ของเศรษฐกิจ แต่ SME เหล่านั้นมีความพร้อมแค่ไหนในการเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
โดยในงาน DGT 2024 (Digital Governance Thailand 2024) ที่พารากอนฮอลล์ สยามพารากอน คุณวิโรจน์ ศิริรัตนรักษ์ รองประธานสมาพันธ์ SME ไทย ได้มีการกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ How To Drive the Future of Thai SME
โดยคุณวิโรจน์ได้เน้นถึงความสำคัญของ SME ไทย ที่มีส่วนสำคัญคือ ส่วนของ ท่องเที่ยว บริการ และส่งออก ซึ่งแต่ละผู้ประกอบการก็มีปัญหาที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละภาคส่วนมีขนาดไม่เท่ากัน ทำให้แต่ละ SME มีปัญหาที่แก้ไขได้แตกต่างกัน โดยในปัจจุบัย SME ไทยนั้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพียง 35 % เท่านั้น ทั้งที่มีจำนวนเยอะมาก ลองมาดูกันว่า SME เหล่านั้นมีปัญหาอะไร
“ปัญหาส่วนใหญ่ของ SME คืออะไร ปัญหาหลัก ๆ คือ SME ที่ก้าวกระโดดไม่ได้ จากเล็กไปกลางไปใหญ่ไม่ได้ เพราะข้อมูลในการตัดสินใจไม่ดีพอ เช่นวันนี้จะสต็อกของจะสต็อกเท่าไหร่ ส่วนมากก็จะใช้จากความรู้สึก แต่ความรู้สึกไม่ใช่ตลาดจริงว่าเป็นยังไง การจัดทำข้อมมูลยังไม่เพียงพอสำหรับการชี้วัดได้ SME บางรายต่อให้มีข้อมมูลขนาดไหน เจ้าของก็ยังต้องทำงานตลอดเวลา ทำให้เขาก็ไม่สามารถมาคิดถึงการวางแผนจะขยับขยายได้ตลอดเวลา”
“ปัญหาถัดมาคือความถูกต้องแม่นยำของข้อมมูล เช่นข้อมมูลทางการขายราคา หรือการตลาด เช่นยิงแอดไปแล้วไม่เวิร์คเป็นต้น “
“อีกเรื่องคือเรื่องความชำนาญ SME นั้นพึ่งความชำนาญมากกว่าระบบ SME จะมีปัญหาว่าขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ พึ่งประสบการณ์และการทำงานความชำนาญของคนมากกว่าการวางระบบ”
ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ของ SME ไม่สามารถจะแก้ไขด้วยข้อมมูลทางดิจิทัลเพียงตัวเดียว ซึ่งภาครัฐมักจะใช้เครื่องมือเพียงตัวเดียวในการแก้ปัญหา
“กลับไปที่ดิจิทัลทรานฟอร์ม การแก้ปัญหาส่วนใหญ่ ภาครัฐจะเอาซอพแวร์ไปเปลี่ยนไปแก้ แต่ไม่คิดให้เขาทรานฟอร์ม เพราะการให้ซอพแวร์ไปเขาก็ใช้แค่ชั่วคราว ตามที่รัฐแนะนำให้ใช้ ซึ่งต่อมาก็อาจไม่ได้ใช้ต่อ เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาถาวรจึงจะเรียกว่าการทรานฟอร์ม”
นอกจากนั้นคุณวิโรจน์ยังได้เน้นย้ำถึงการแก้ปัญหาให้เกิดการใช้ดิจิทัลทรานฟอร์มจริง ๆ คือ
“ซึ่งดิจิทัลทรานฟอร์ม ต้องเข้าใจถึง Mind Set โดยภาครัฐต้องเข้าใจถึง Mind Set ของ SME และ SME ต้องเข้าใจ Mind SET ของภาครัฐด้วยว่าทำไมต้องดิจิทัลทรานฟอร์ม
“พอ Mind Set ได้ ก็ต้องได้ Process ของแต่ละ SME ที่แตกต่างกัน เช่นการขาย การบัญชี แล้วแต่ปัญหาของแต่ละ SME”
“อีกเรื่องคือ Incentive คือการที่จะดึง SME เข้ามาใช้ดิจิทัลทรานฟอร์มให้ได้ ตัวอย่าง Incentive ที่ดี จำเป็นต้องเห็นผลเลย เช่นแอพเป๋าตัง หรือ เราเที่ยวด้วยกัน ซึ่งทำให้พ่อค้าแม่ค้าสามารถใช้ Cashless ได้เลย ทำให้พ่อค้าแม่ค้าต่าง ๆ สามารถใช้ QR Code โอนเงินได้เลย เพราะมันเห็นผลเลย ของการมี Incentive เช่นคนละครึ่งเราเที่ยวด้วยกัน สุดท้ายเขาก็ใช้จนเขาติด”
“สุดท้ายแล้วเมื่อผู้ประกอบการมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ก็ทำให้มีกำไรที่เพิ่มขึ้น มีต้นทุนที่น้อยลง”
ซึ่งสุดท้ายคุณวิโรจน์ ในฐานะตัวแทนของ SME ก็ทิ้งท้ายไว้ว่า “โดยเฉพาะการพูดถึงดิจิทัลจริง ๆ ถ้าเป็นธุรกิจบางธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ใน SECTOR จริง ๆ เขาจะกลัว สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ SME เข้าใจการรานฟอร์มของดิจิทัล”
ซึ่งในงาน DGT ทางรัฐมนตรีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมก็หมายมั่นปั้นมือว่าจะเป็นการร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชนเพื่อก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล แต่ทาง SME ก็ได้บอกว่า การจะเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล สิ่งหนึ่งที่ต้องตอบโจทย์คือการสร้างเครื่องมือที่สามารถจะแก้ปัญหาแต่ละ SECTOR ให้ได้นั่นเอง ซึ่งเมื่อทำได้ก็จะเพิ่มมูลค่าของ SME ไทยให้มากขึ้นได้อย่างแน่นอน