บาตร คือ ภาชนะที่นักบวชใช้รับอาหาร บาตร เป็นบริขารของพระสงฆ์ หนึ่งในบริขารทั้ง 8 ที่พระสงฆ์จะต้องมี อัฏฐะบริขารก็มี จีวร สบง สังฆาฎิ มีดโกน บาตร เข็มเย็บผ้า รัดประคต กับที่กรองน้ำ
สมัยพุทธกาล (ตอนที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่) บาตรรุ่นแรกๆ ทำจากน้ำเต้า ต่อมาพระท่านก็เอาวัสดุหลายอย่างมาใช้ทำบาตร ตั้งแต่หัวกะโหลก ไม้หอม โดยเฉพาะไม้หอมเป็นต้นกำเนิดของการแสดงฤทธิ์ ระหว่างพระสาวกองค์หนึ่งกับเจ้าลัทธิทั้ง6 ทำให้พระพุทธเจ้ามีพุทธบัญญัติห้ามใช้บาตรที่ทำด้วยไม้ทุกอย่างรวมถึงไม้หอมหอม
บาตรที่พระพุทธเจ้าห้ามใช้ คือ บาตรที่ทำจากวัสดุ 11 ชนิด คือ ทอง เงิน แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วผลึก สัมฤทธิ์ แก้วหุง ดีบุกสังกะสี ทองแดง และไม้ เหตุผลเพราะวัสดุเหล่านี้ มีราคา ไม่ใช่สิ่งที่นักบวชที่ทวนกระแสโลกควรใช้ ที่สำคัญมันอันตรายต่อสวัสดิภาพ ถ้าจะโดนปล้น
บาตรในยุคที่ผ่านมาจึงทำด้วย เหล็ก และดินเผา คำว่า บาตรแตก คือบาตร ชำรุด เป็นรูป หรือบิ่นแตก พระพุทธบัญญัติกำหนดว่า เมื่อบาตแตก พระสงฆ์ ต้องสละ ภาษาชาวบ้าน คือ ทิ้ง เพราะบาตรจะไม่ใสามารถบรรจุ อาหารหรือสิ่งที่ญาติโยมบริจาค หรือถวายให้ได้ การกำจัดบาตรแตกสมัยก่อน จึงใช้วิธีการฝัง ในกรณีบาตรดิน และบาตรเหล็กบาตรแตกแล้วฝังดิน
บาตรยุคปัจจุบัน แทบจะไม่ค่อยมีกรณีแตก เพราะ บาตรส่วนใหญ่ ทำจากอลูมิเนี่ยม ใช้จนพระเจ้าของบาตรมรณะภาพ บาตรก็ยังใช้ได้อยู่ บาตรอลูมิเนี่ยมพัฒนาไปถึงแบบที่มีเทฟล่อนเคลือบ นัยว่าเพื่อความปลอดภัยในการใส่อาหารร้อนและฉันอาหารในบาตร
สรุปว่า บาตรยุค 5G ถ้าไม่เอาบาตรไปทุบหรือไปเกิดอุบัติเหตุ บาตรอลูมิเนี่ยม ไม่แตกแน่นอน ส่วนบาตรเหล็กนั้นยังพอมีทำอยู่ หลักการของบาตรเหล็กคือเอาเหล็กมาตีเป็นแผ่นแล้วเย็บต่อกันด้วยน้ำยาประสานและความร้อน ตีแล้วขัด แล้วเคลือบ บ่ม (ด้วยความร้อน) จนได้ที่แล้วจึงนำมาถวายพระ การทำบาตรเหล็กยังพอมีให้เห็นในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ในกรุงเทพฯ ก็ที่บ้านบาตร แถวสถานีสนามยอด เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
จากประสบการณ์ลูกศิษย์วัด บาตรเหล็กที่ชำรุด เจ้าของต้องไม่มีความรับผิดชอบอย่างสูง หรือเอาบาตรไปใช้ผิดวิธี เช่น เอาไปใส่น้ำ ใส่น้ำยา หรือแช่อยู่ในน้ำ ใข้แล้วไม่ล้าง เพราะบาตรเหล็กที่เคลือบแล้วจะผุขึ้นสนิมจนแตกนั้นยากมากแต่ก็เกิดขึ้นได้ถ้าโดนความชื้นโจมตีจนบาตรพัง