ช่วงเวลานี้ (31 สิงหาคม 2565 ถึง 9 กันยายน 2565 )เป็นช่วงเวลาสำคัญของคนที่นับถือ พระพิฆเนศ จะทำการสักการะ เราเรียกช่วงเวลานี้ว่า เทศกาลคเณศจตุรถี มีการจัดงานในเทวาลัยหลายแห่ง คนไปขอพรท่านมากกว่าปกติ
มีสิ่งที่เข้าใจผิดมาตลอดสำหรับ คเณศจตุรถี และคงมีอยู่เนอะ คือ เข้าใจว่าช่วงเวลานี้ คือ เทศกาลฉลองวันประสูติของพระพิฆเนศ วันก่อนไปงานคเณศจตุรถี มีคนติดป้าย Happy Birthday มีคุณผู้หญิงท่านนึงคุยกับเพื่อนว่า ไปแฮปปี้เบิร์ดเดย์พระพิฆเนศกัน จริงๆแล้วเข้าใจผิด
เทศกาลคเณศจตุรถี หรือ คเณศชยันตี หรือ วินายกจตุรถี คือเทศกาลเฉลิมฉลอง พระพิฆเนศ ส่วนวันประสูติจริงๆ เรียกว่าศุทธ มาฆจตุรถี ตรงกับ วันขึ้น 4 ค่ำ ในเดือน “มาฆะ” นึกง่ายๆ อยู่ในช่วงวันมาฆบูชา แถวๆ กลางเดือนมกราคม ค่อนมาต้นเดือนกุมภาพันธ์นั่นแหละครับ
ในอินเดียเมื่อถึง วันคเณศชยันตี จะปั้นรูปพระพิฆเนศด้วยดินเหนียว ดินที่เอามาปั้นจะผสมเครื่องหอม ปั้นขึ้นแล้วจะทถวายำพิธีบูชา ถวายขนมโมทกะ เครื่องหอม ถวายไฟ ถวายนม สรงสนาน ครบจบเวลาแล้วนำเทวรูปดินแห่ไปลอยน้ำ การบูชาพระพิฆเนศ หรือการฉลองเป็นการเฉลิมฉลองที่คนอินเดียส่งสัญญาณว่าจะถึงเวลาเพาะปลูก
คนไทยเรานับถือท่านจะไปถวายสักการะหรือตั้งเทวรูปบูชาที่บ้านก็ได้ แต่ต้องเข้าใจให้ถูก
ข้อมูลจาก : คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง : “คเณศจตุรถี” ไม่ใช่วันเกิดพระคเณศ! มติชนสุดสัปดาห์