27 ม.ค.65 - คราบน้ำมันที่รั่วไหลสู่ทะเลอ่าวไทยครั้งนี้ นอกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังมีอันตรายต่อสุขภาพที่แอบซ่อนอยู่?
เป็นอีกครั้งที่ทะเลไทยเกิดการรั่วไหลของน้ำมันดิบกลางทะเล ทำให้เกิดผลกระทบที่มาจากคราบน้ำมัน โดยเฉพาะคราบน้ำมันกว่า400,000 ลิตร ที่ต้องใช้กรรมวิธีจัดการโดยเฉพาะ และระยะเวลาในการป้องกันและจัดการคราบน้ำมันทั้งหมด
•
แน่นอนว่าเวลาที่ถูกใช้ไป หมายถึงผลกระทบที่เพิ่มขึ้นต่อระบบนิเวศ และสิ่งแวดล้อมทางทะเล หลายฝ่ายจึงต้องเร่งมือจัดการปัญหานี้ให้รวดเร็วที่สุด
•
ผลกระทบอีกด้านที่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือข้ามน้ำมันที่ลอยกลางทะเลเหล่านี้มีอันตรายต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน จากข้อมูลของ สำนักงานสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ บอกไว้ว่า คราบน้ำมันในทะเล ถือว่าเป็นภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงทางทะเล โดยเทียบครั้งรุนแรงที่สุดที่เคยการเกิดน้ำมันดิบรั่วไหลในทะเลครั้งร้ายแรงที่สุดเมื่อปี2553 ที่อ่าวเม็กซิโก ของบริษัท BP ที่ยังคงหลงเหลือความเสียหายที่เกิดกับระบบนิเวศทางทะเล และยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อฟื้นฟูให้กลับมาเหมือนเดิม
สำหรับน้ำมันดิบรั่วไหลจนเกิดคราบน้ำมัน โดยเฉพาะในทะเลอ่าวไทย อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับสัตว์และพืชทะเลน้ำตื้นจำนวนมาก เพราะคราบน้ำมันในทะเลจะทำให้สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไม่ มีแสง อากาศ และอาหารในการดำรงชีวิต
•
รวมถึงความสูญเสียทางการท่องเที่ยว ถึงแม้จะใช้กระบวนการทางเคมีในการกำจัดคราบน้ำมันในทะเลแล้ว ก็ยังหลงเหลือคราบน้ำมันบางส่วนที่ต้องปล่อยให้ย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ ซึ่งกระบวนตามธรรมชาตินี้ต้องใช้เวลาในการย่อยสลาย
•
โดยหลังจากนี้อาจจะพบเห็น ทาร์บอลล์ (Tarball) ที่มีลักษณะเป็นก้อนเหนียวสีดำคล้ายยางมะตอยอยู่ตามริมทะเลโขดหิน ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกนานในการย่อยสลาย และหลังจากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าสารพิษจะหมดไปจากทะเลและชายหาด รวมถึงการทำให้ทราย โขดหิน ปะการังตามชายหาดกลับมาสะอาดเหมือนเดิม
•
ที่ต้องกังวล น้ำมันดิบรั่วไหลและคราบน้ำมันในทะเล จะยังมีสารพิษและสิ่งที่เป็นอันตรายหลงเหลืออยู่ ซึ่งส่งผลเสียและอันตรายต่อสุขภาพ หากมีการสัมผัสน้ำมันดิบหรือคราบน้ำมันในทะเลโดยตรงและมากเกินไป ดังนี้
🔻“จะทำให้เกิดการระคายเคืองตามผิวหนัง เป็นผื่นคัน แสบร้อน เกิดแผลและติดเชื้อได้”
•
🔻“หากสารพิษซึมเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดอันตรายอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เช่น มะเร็งผิวหนัง” เป็นต้น
•
🔻“หากสูดดมกลิ่นเหม็นของน้ำมันและสารเคมีทำให้ปอดได้รับสารพิษ เกิดอาการปอดอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ”
•
🔻“การรับสารพิษโดยการดูดซึมทางร่างกายอาจจะทำให้สารพิษไปสะสมในไตจนเกิดภาวะไตเสื่อมและไตวายได้”
•
🔻“ความกระทบกระเทือนทางระบบประสาท ปวดศีรษะ วิงเวียน ตาพร่า หัวใจเต้นผิดปกติ และมีเลือดออกจากอวัยวะต่าง
•
🔻“หากได้รับสารพิษเป็นระยะเวลานานและในระยะยาวอาจเกิดอันตรายถึงขั้นสารพิษทำลายระบบประสาทการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่สามารถทรงตัวและไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ และอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งในที่สุด”
•
นอกจากนี้ ยังควรระมัดระวังตัวเองจาก ทาร์บอลล์ (Tarball) หรือคราบน้ำมันในทะเล สังเกตได้จากลักษณะของรุ้งน้ำมันบนผิวทะเล ซึ่งคราบน้ำมันเหล่านี้ก็สามารถรวมตัวกันจนเกิด ทาร์บอลล์ (Tarball) ริมทะเลได้ ดังนั้นเมื่อไปทะเลจึงมีคำแนะนำดังนี้
•
1.เลือกลงเล่นน้ำทะเลในพื้นที่ที่น้ำทะเล มีสีเขียวใส
2.สังเกตว่าไม่มีคราบรุ้งน้ำมันอยู่บนผิวน้ำ
3.หลังจากขึ้นจากเล่นน้ำในทะเลจะต้องล้างตัวด้วยสบู่ให้ร่างกายสะอาจทุกครั้ง
4.ในการเล่นน้ำทะเลควรระวังไม่ให้น้ำทะเลเข้าจมูกหรือปาก
5.ไม่ควรลืมตาในน้ำทะเลหากไม่มีหน้ากากป้องกัน
6.หากพบเห็นก้อนสีดำ นุ่ม แต่มีความเหนียวหนืดคล้ายยางมะตอยตามชายหาดหรือโขดหิน อาจเป็นไปได้ว่าคือ ทาร์บอลล์ ให้หลีกเลี่ยงที่จะหยิบจับหรือสัมผัส
7.หากเหยียบทาร์บอลล์โดยบังเอิญ ให้รีบล้างเท้าทำความสะอาดเพื่อป้องกันสารพิษซึมเข้าสู่ร่างกาย
•
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ความเสี่ยงของน้ำมันดิบที่เป็นสารเคมี อาจกระทบต่อสุขภาพของผู้สัมผัสได้ แนะนำว่าหากไม่จำเป็นไม่ควรไปสัมผัสโดนคราบน้ำมันดิบเหล่านั้น เพราะมีผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น ระคายเคืองผิวหนัง ทางเดินหายใจ จนถึงระยะยาวที่เสี่ยงเกิดมะเร็งได้
ขณะนี้การซื้ออาหารทะเลมารับประทานในช่วงนี้ ควรปรุงให้สุกไว้ก่อน เพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น หากแหล่งจับสัตว์น้ำที่นำมาขายนัานมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเช่นนี้