X
พระมหาเถรคันฉ่องเป็นสมเด็จพระสังฆราชอโยธยา? 

พระมหาเถรคันฉ่องเป็นสมเด็จพระสังฆราชอโยธยา? 

15 ส.ค. 2564
8020 views
ขนาดตัวอักษร

ภาพของครู ที่ปรึกษา ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่เห็นชินตาในภาพยนตร์หรือซีรี่ส์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทุกภาค คือ ภาพพระภิกษุมอญองค์หนึ่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญวิทยาคม ตำราพิชัยสงคราม เป็นที่นับถือของจอมกษัตริย์ “พระเจ้าบุเรงนอง” ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวมอญในเมืองหงสาวดีในเวลานั้น เรากำลังจะกล่าวถึง พระมหาเถรคันฉ่อง  พระมหาเถรคันฉ่องเป็น 1 ใน 2 พระเถร ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพในพุกามประเทศองค์หนึ่ง คือ มหาเถรคันฉ่องแห่งหงสาวดี และมหาเถร เสียมเพรียม แห่งเมืองตองอู ความจริงพระเจ้าตองอู ก็เป็นญาติๆ กับพระเจ้าบุเรงนอง แต่ต่างนับถือพระคนละองค์เป็นครูของตัวเอง พระมหาเถรคันฉ่อง นั้น เมื่อเกิดกรณีประกาศอิสรภาพ แล้วมีการอพยพเทครัวมอญมากรุงศรีอยุธยา ท่านได้รับนิมนต์มาอยู่กรุงศรีอยุธยาด้วยพร้อมกับศิษย์คือพระยาเกียรติ พระยาราม 


ประเด็นที่เราพูดถึงคือ ตอน พระมหาเถรคันฉ่องมาอยู่กรุงศรีอยุธยา ท่านอยู่ในสถานะใด มีข้อความในพงศาวดาร ระบุว่าท่านได้รับการถวายสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ข้อความนั้นมีอยู่ว่า  “ .... แล้วจึงโปรดให้พระมหาเถรคันฉ่องอยู่วัดมหาธาตุ พระสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ....สถิตอยู่ณ วันพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดมหาธาตุ ผู้เขียน)พระอารามหลวง ทรงถวานสัปทนกรรเชิง คานหามคนหาม จังหันนิจภัตรเครื่องสมณบริขารต่างๆ ซึ่งสมเด็จพระพนรัตสังฆราชคามวาสีเดิมนั้น โปรดให้ว่าการคณะปักษ์ใต้เป็นฝ่ายขวา และคามวาสีนั้นแบ่งเป็น 2 คณะจำเดิมแต่นั้น ... (อธิบายเพิ่มว่าการแบ่งการปกครองคณะสงฆ์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือ คามวาสี (อ่านว่า คาม-มะ-วา-สี หมายถึง คณะสงฆ์ที่อยู่ในเมืองหรือ คันถะธุระ และอรัญวาสี อะ-รัน-ยะ-วา-สี หมายถึง คณะสงฆ์ ฝ่ายวิปัสานาธุระ ))


การมาของพระมหาเถรคันฉ่องตอนนั้นไม่ใช่แค่การมากับลูกศิษย์ แต่ถือเป็นการเอาพระพุทธศาสนาแบบรามัญวงศ์เข้ามาในเมืองไทย และมีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะธรรมยุตินิกายมีรากฐายมาจากพุทธแบบรามัญนิกายนนี่แหละ …. ในพระสมณศาสน พระนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว “ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เอาหมู่ภิกษุและครัวรามัญเป็นอันมาก เสด็จกลับมาเมืองไทย โปรดเกล้าฯ พระราชทานพื้นที่สำหรับปลูกเรือนชาวรามัญ และพื้นที่สำหรับสร้างวัดของภิกษุรามัญวงศ์ รามัญวงศ์มาประดิษฐานในเมืองไทยด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมาถึงทุกวันนี้  ”


เรื่องพระมหาเถรคันฉ่องได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชคู่ หรือจะบอกว่าตอนนั้นกรุงศรีอยุธยามีสมเด็จพระสังฆราช 2 องค์ ถ้าจะอธิบาย เราต้องตั้งหลักก่อนด้วยการทำ ความเข้าใจว่า ในเวลานั้น กรุงศรีอยุธยา มีสมเด็จพระสังฆราชอยู่แล้วคือ สมเด็จพระพนรัตน์  ที่ต้องอธิบายแบบนี้เพราะ มีทฤษฎีที่เอาพระมหาเถรคันฉ่อง มารวมกับสมเด็จพระพนรัตน์ ว่าเป็นองค์เดียวกัน ความจริงเป็นคนละองค์กัน  ส่วนท่านได้เป็นสังฆราชจริงหรือไม่ 


มีพระวินิจฉัยของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเอามาอธิบายไว้ในพระนิพนธ์ ตำนานคณะสงฆ์ ว่า “ กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระดำริว่าความจริงจัไม่เป็นอย่างที่กล่าวในหนังสือพงศาวดาร เพราะพระมหาเถรคันฉ่องเป็นมอญซึ่งพูดไทยไม่ได้ และไม่รู้จักขนบธรรมเนียมไทย ถึงจะมีอุปการต่อสมเด็จพระนเรศวรสักเพียงใด การที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาจะตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราชประธานแห่งสงฆ์ทั่วไป และเป็นเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือก็จะบังคับบัญชาการไม่ได้ …


” สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ยังมีพระวินิจฉัยว่า พระมหาธรรมราชาน่าจะตั้งพระมหาเถรคันฉ่องเป็นท่านเจ้าคุณที่เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายรามัญที่พระสุเมธาจารย์ ส่วนที่เข้าใจว่าท่านเป็นพระสังฆราช น่าจะเป็นเพราะโปรดให้ไปอยู่วัดพระมหาธาตุ ซึ่งปกติวัดมหาธาตุเป็นที่สถิตของสมเด็จพระสังฆราช คนจึงเข้าใจว่าท่านเป็นที่สมเด็จพระสังฆราช 


ไม่ว่าพระมหาเถรคันฉ่องจะเป็นพระสังฆราชหรือไม่ ความจริง คือท่านได้รับการยกย่องนับถือ จากสมเด็จพระนเรศวร อย่างมาก และมีบทบาทสำคัญในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาแบบมอญ ในประเทศไทย เป็นแบบอย่างของพระสงฆ์มอญในแผ่นดินไทยที่ได้รับความเคารพสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน 


ข้อมูลจากหนังสือ : คณะสงฆ์รามัญในประเทศไทย พระครูปลัดส้มพิพัฑฒญาณาจารย์ (บุญช่วย

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)