ก่อนอื่นขอเรียนว่า บทความนี้เป็นเรื่องความเชื่อความศรัทธา และวิจารณญาณส่วนตัวครับ วันนี้เมื่อ 149 ปีที่แล้ว เป็นวันที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มรณภาพ (22 มิถุนายน 2415 ) นอกจากคำสอนและพระธรรมที่ท่านได้เทศน์สั่งสอนไว้ยังมีสมบัติอย่างหนึ่งที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ฝากไว้ ก็คือ ชินบัญชรคาถา ที่ตำนานเล่าว่าท่านพบอยู่ในเจดีย์โบราณครั้งออกธุดงค์ สมเด็จโต สอนให้คนไทยรู้จัก และสวดชินบัญชรคาถา ซึ่งถือว่าเป็นพระคาถาศักดิ์สิทธิ์ ใจความของชินบัญชรเมื่อแปลแล้ว เป็นการป้องกันคุ้มครอง โดยเชิญพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ มาคุ้มครอง รวมทุกอย่างที่เป็นมงคลมาสู่ชีวิต เชื่อว่าการสวด ชินบัญชร จะทำให้ ชีวิตจะเป็นมงคล
เรื่องชินบัญชรคาถาเป็นเรื่องแปลก เนื่องจากพบมีต้นฉบับที่แตกต่างกัน จึงหาข้อยุติได้ยากว่าฉบับไหมเก่ากว่า หรือถูกต้องที่สุด จะว่าไปแล้วโดยใจความ(ถ้าแปล) ล้วยเขียนไว้ดีทุกฉบับ เป็นสิ่งที่สาธยายได้ สวดดีทั้งนั้น อยู่ที่ว่าอยากสวดแบบไหนคาถาค้นหาประวัติของชินบัญชรแล้ว สรุปได้ว่า ชินบัญชรคาถา มีมาตั้งแต่โบราณ น่าจะแต่งขึ้นโดยพระเถราจารย์ในอดีตโดยสมเด็จโตท่านไปค้นพบ เพื่อระลึกถึงสมเด็จโต จึงมาเล่าถึง ชินบัญชรคาถา ที่ ไม่เหมือนบทที่คนไทยเราท่องกัน
ชินบัญชรคาถา มีมานานแล้ว น่าจะไม่ได้เกิดที่ประเทศไทย จึงมีฉบับภาษาอื่น ที่มีโครงสร้างคล้ายๆ ชินบัญชรแบบที่เราสวดกัน (แต่ของเขายาวกว่า) วันนี้ ขอเสนอ ฉบับภาษา ลังกาที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ทรงพบจากหลังสือเล่มหนึ่ง ชื่อหนังสือ The Mirror of The Dhamma หรือกระจกธรรม โดยท่าน นารทมหาเถระ และท่านกัสสปะเถระ พิมพ์เมื่อพ.ศ. 2504 ตรงกับปี 2503 ของไทย เป็นหนังสือคู่มือธรรมะที่ใช้ส่วนใหญ่ปฏิบัติเป็นประจำ ในนั้นมีชินบัญชร ตัวบาลีพิมพ์ด้วยตัวอักษรสิงหลและอักษรโรมัน
ฉบับภาษาลังกา มี 22 บท มากกว่าฉบับไทยที่เราท่องกันมาที่มี 14 บท ใจความ 14 บทแรกของฉบับลังกาเหมือนฉบับไทย พูดง่ายๆ ฉบับลังกายาวกว่าและมีเพิ่มตอนท้าย จึงขออนุญาตคัดลอกหนังสือ คาถาชินบัญชร แสงส่องใจ พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร มาไว้เป็นมงคล ดังนี้
ขึ้นชื่อว่าพุทธมนต์ที่เป็นมงคล สวดฉบับไหนย่อมเป็นมงคลทั้งสิ้น เจตนาของการเล่าเรื่องครั้งนี้เพื่อเป็นการรำลึกผู้ค้นพบชินบัญชรคาถา และให้มีโอกาสได้รู้จักชินบัญชรฉบับลังกา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : คาถาชินบัญชร แสงส่องใจ พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร