การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.) วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ตัดสินว่า ศ.กิตติคุณ พิรงรอง รามสูต กสทช.ด้านกิจการโทรทัศน์ มีความผิดฐานใช้อำนาจมิชอบ กลั่นแกล้ง บริษัททรู ดิจิทัล ให้ได้รับความเสียหาย ลงโทษจำคุก 2 ปี แต่ได้ประกันตัว ทำให้ไม่เข้าข่ายต้องห้ามเป็น กสทช.
ตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กรรมการ กสทช. ยังสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้เพราะได้รับประกันตัว แต่สิ่งที่พัดกระหน่ำยังมีอย่างต่อเนื่อง มีคดีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา ที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. ฟ้องคณะกรรมการกสทช. กับพวกรวม 5 คน กรณีสอบสวนข้อเท็จจริงกล่าวหาโจทก์เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายและดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. แทนโจทก์ โดยมิชอบ คดีนี้เบิกความหมดแล้ว นัดอ่านคำพิพากษาเดือนเมษายน 2568
กว่าจะถึงวันนั้น อาจมีขบวนการเพิ่มแรงกดดดัน ด้วยการส่งเรื่องให้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ดูว่า กสทช.ที่ต้องคดีแม้คดียังไม่ถึงที่สุดสามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้หรือไม่
คดีกับเอกชนต้องสู้ในชั้นอุทธรณ์ คดีที่ถูกรองเลขาธิการฟ้องมารอในเดือนเมษายน คดีนี้ไม่ใช่ กสทช. 1 ท่าน แต่เป็น 4 ท่าน เชื่อว่าผลคดี ทรู - ดร.พิรงรอง อาจทำให้ กสทช.บางท่านไม่ค่อยสบายใจ และหากมีแรงกดดันถ้า มีการยื่นให้ ป.ป.ช. วินิจฉัยคุณสมบัติ ย่อมมีผลต่อการทำงานของบอร์ด คลื่นลูกแรกอาจทำให้ โครงสร้างอำนาจจะสวิงเปลี่ยนจากฝ่ายเสียงข้างมากเป็นเสียงข้างน้อย ฝ่ายที่มีเสียงน้อยกว่ากลายเป็นเสียงข้างมาก
จุดแตกหักของเรื่องนี้ ไม่ได้อยู่ที่ บอร์ดเหลือฝ่ายละกี่คน หรือ ใครได้ทำหน้าที่ต่อหรือไม่ แต่ออยู่ที่ผลคดีระหว่างรักษาการเลขาธิการ กสทช. กับ บอร์ด 4 คนเพราะถ้าเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นมา สิ่งที่เคยมีคำวินิจฉัยของศาลเป็นบรรทัดฐานย่อมสามารถนำมาใช้อ้างได้ เมื่อนั้นจะไม่ใช่การสลับขั้วอำนาจ แต่จะเป็นการ ล้างไพ่ สลายขั้วเปลี่ยนบอร์ด กสทช.ใหม่ ทั้งหมด
******
โดยในการนี้มีได้รับการคาดการณ์ว่า จะมีความพยายามทำทุกวิถีทางจากบอร์ดกสทช.ด้วยกันเองส่วนหนึ่ง ที่จะกันให้ ศ.พิรงรอง ออกจากการประชุม โดยเฉพาะการประชุมที่มีความเกี่ยวข้องกับ บริษัท ทรูฯ คู่กรณีของ ศ.พิรงรอง
และมีการจับตาด้วยว่า ในการประชุมอาจจะมีวาระจรให้ กสทช .พิจารณาว่า ต้องให้ ศ.พิรงรอง ยุติการปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ชั่วคราวหรือไม่ โดยอ้างผลจากคำพิพากษา
โดยทาง บ.ทรูฯ ต้องการให้พิรงรองยุติการทำหน้าที่กสทช. มาตั้งแต่ตอนยื่นฟ้องอจ.พิรงรองเมื่อเดือนเมษายน 2566 แล้ว โดยยื่นคำร้องต่อศาลให้สั่งให้อจ.พิรงรองยุติการปฏิบัติหน้าที่ กรรมการ กสทช.และประธานอนุกรรมการพิจารณา อนุญาตด้านกิจการโทรทัศน์ไว้ชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา เพราะเกรงว่าอจ.พิรงรองจะเป็นปฏิปักษ์ กลั่นแกล้งทรู เนื่องจากเป็นคู่ความกัน แต่ศาลยกคำร้อง
แต่เมื่อศาลไม่ให้ตามนั้น ทรูจึงวิ่งเข้าหากสทช.ให้พิรงรองหยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่บอร์ด กสทช ประชุมลับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ลงมติด้วยคะแนนเสียง 4 ต่อ 3 ให้ พิรงรองปฏิบัติหน้าที่ กสทช.ต่อไป
การประชุมวันที่ 19 กพ.นี้ จึงมีรายงานข่าวว่าจะมีความพยายามกดดันให้ พิรงรองหยุดปฏิบัติหน้าที่อีก อ้างความชอบธรรมว่ามีคำตัดสินของศาลต่ออจ.พิรงรองออกมาแล้ว
โดยในรอบนี้ ประธาน กสทช. ศ.คลินิค นายแพทย์ สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ อาจจะเป็นผู้เสนอให้ อจ.พิรงรองหยุดปฎิบัติหน้าที่ไปก่อนเพื่อความยุติธรรมต่อคู่กรณีคือบ.ทรู เพราะในการประชุมครั้งนี้จะมีเรื่องเพื่อพิจารณาในบอร์ดกสทช.ที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของทรูในเรื่องอื่นๆด้วย
เหมือนในการประชุมบอร์ด กสทช. เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งประธานบอร์ดท่านเดียวกันนี้เคยออกเสียงแต่ได้เป็นเสียงข้างน้อย 1 ใน 3 เสียงที่เห็นว่าอจ.พิรงรองต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ กสทช.
ทั้งนี้ นพ สรณ ได้เคยตอบคำถามสื่อมวลชนเมื่อถูกถามถึงการดำรงตำแหน่งและบทบาทของ อจ.พิรงรองในบอร์ดกสทช.หลังได้รับคำตัดสินจากศาลแล้ว ว่าในฐานะประธานบอร์ดพร้อมจะ “ดับเบิ้ลโหวต” หากพิรงรอง ต้องหยุดทำหน้าที่ กสทช.และในบางวาระที่การลงมติของบอร์ด กสทช. 6 คน มีเสียงเท่ากัน 3 ต่อ 3 ก็พร้อมจะออกเสียงครั้งที่ 2 เพื่อชี้ขาด
รวมถึงมีการรายงานข่าวด้วยว่า ในกสทช.นั้นมีฝ่ายที่ต้องการให้อจ.พิรงรองออกไปจาก กสทช. โดยอาจจะไปร้องต่อ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และประพฤติมิชอบ หรือ ปปช.ให้สอบสวนพิรงรอง ในประเด็นจริยธรรม เป็นการเพิ่มแรงกดดันให้พิรงรองอีกทางหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในกนะบวนการที่มีความพยานามจะกันอจ.พิรงรองออกไปจาก กสทช.
__________________
ลองพิจารณาดูครับพี่ เขียนรวบรวมจากข้อมูล และสิ่งที่ประธานพูดกับน้องๆไว้ ข่าวนี้ผมอาจไม่ได้ลงเพราะออฟฟิศกำลังปรับโทนคอนเทนท์ มันลอยๆไม่มีคนพูด แต่เป็นแฟคจริง กำหนดอ่านจริง เรื่องยื่น ปปช ก็จะมีคนยื่นครับ
“พิรงรอง effect” แรงกดดัน คดีความ กดดัน กสทช. เสียงข้างมาก
กรณีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง พิพากษา จำคุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา "ดร.พิรงรอง รามสูต" กรรมการ กสทช. กรณีออกหนังสือเตือนโฆษณาแทรกบนแพลตฟอร์มทรูไอดี แม้หลังฟังคำพิพากษาและขอประกันตัวด้วยวงเงิน 120,000 บาท
แม้ตามพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ กรรมการ กสทช. ยังสามารถทำหน้าที่ต่อไปได้เพราะได้รัประกันตัว แต่สิ่งที่พัดกระหน่ำยังมีอย่างต่อเนื่อง มีคดีที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา ที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. ฟ้องคณะกรรมการกสทช. กับพวกรวม 5 คน กรณีสอบสวนข้อเท็จจริงกล่าวหาโจทก์เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายและดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. แทนโจทก์ โดยมิชอบ คดีนี้เบิกความหมดแล้ว นัดอ่านคำพิพากษาเดือนเมษายน 2568
กว่าจะถึงวันนั้น มีกระแสข่าวจากซอยสายลมที่อาจจะเพิ่มแรงกดดดัน อาจมีการส่งเรื่องคดีของดร.พิรงรองให้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ดูว่าปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้หรือไม่
คดีกับเอกชนต้องสู้ในชั้นอุทธรณ์ คดีที่ถูกรองเลขาธิการฟ้องมารอในเดือนเมษายน คดีนี้ไม่ใช่ กสทช. 1 ท่าน แต่เป็น 4 ท่าน เชื่อว่าผลคดี ทรู - ดร.พิรงรอง อาจทำให้ กสทช.บางท่านไม่ค่อยสบายใจ และหากมีแรงกดดันถ้า มีคนไปยื่น ป.ป.ช. วินิจฉัยคุณสมบัติ ยิ่งเป็นไปได้ว่าอาจกลายเป็นอุปสรรคในการทำหน้าที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้