จากเหตุการณ์ #ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว และ #ไฟไหม้ลาดกระบัง แอดจึงขอนำเกร็ดเล็ก ๆ มาฝากทุกคนกันค่ะว่าถังดับเพลิงมีกี่ชนิด แล้วแต่ละชนิดควรใช้งานอย่างไรให้เหมาะสม ไปดูกันเลยค่ะ
ชนิดเคมีสูตรน้ำ
ใช้ดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงทั่วไป ของเหลวติดไฟ ก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าและน้ำมันที่ติดไฟยาก เหมาะสำหรับใช้งานในครัวเรือน เนื่องจากดับไฟที่เกิดจากน้ำมันประกอบอาหารได้
ชนิดผงเคมีแห้ง
ใช้ดับไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงได้เกือบทุกประเภท ยกเว้นเพลิงไหม้ที่เกิดจากน้ำมันที่ติดไฟยาก
ชนิดน้ำยาเหลวระเหย
เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ห้องไฟฟ้า ห้องเก็บอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องใช้สำนักงาน เนื่องจากไม่ทำให้เกิดคราบสกปรก
ชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เหมาะสำหรับควบคุมเพลิงไหม้สถานีบริการน้ำมัน ก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัดคล้ายน้ำแข็งแห้ง จึงช่วยลดความร้อนของไฟได้ แต่ไม่เหมาะสำหรับนำไปใช้ในบริเวณที่อับอากาศ เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจเสียชีวิตได้
ชนิดโฟม
เหมาะสำหรับดับเพลิงในภาคอุตสาหกรรม เชื้อเพลิงประเภททินเนอร์ และสารระเหยติดไฟ แต่มีน้ำเป็นส่วนประกอบหากนำไปดับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เกิดเพลิงไหม้จะทำให้ผู้ใช้งานถูกไฟฟ้าดูดได้
หรือสังเกตสัญลักษณ์ที่ถังดับเพลิงได้ง่าย ๆ
A เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ไม้ ผ้า กระดาษ
B เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ เช่น น้ำและก๊าซไวไฟ
C เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้า
D เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะติดไฟได้ เช่น ไทเทเนียม, อลูมิเนียม
K เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ของเหลวที่ใช้ประกอบอาหาร
ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย