X
ลดโลกร้อนทุกคนช่วยได้ “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน”

ลดโลกร้อนทุกคนช่วยได้ “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน”

10 ก.พ. 2565
600 views
ขนาดตัวอักษร

10 ..65 - เมื่อการลดโลกร้อน ทุกคนช่วยได้ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เปิดเวที “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน” เปิดแนวทางขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก

ภาวะโลกร้อน เป็นปัญหาระดับโลกที่นานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทย หาแนวทางร่วมกันแก้ไข และบรรเทาปัญหานี้ให้ได้ เพื่อลดปัญหาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งผลต่อวิถีชีวิตชาวโลกในระยะยาว


กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม(สส.) ได้เปิดเวทีออนไลน์ “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน” สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 หรือ COP 26 โดยเฉพาะเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งเป็นเวทีนำเสนอแนวทางขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน พร้อมด้วยนายรัชฎา สุริยกุล  อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านระบบ Video Conference


นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อต้องการสื่อสารงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการประชุม COP 26 ในการสร้างความรู้ความเข้าใจ โดยเฉพาะเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุเป้าหมายที่ประเทศไทยประกาศเจตนารมย์ไว้ในการประชุม COP 26 “Carbon Neutrality ภายในปี 2050/ Net Zero Emission ภายในปี 2065” 


พร้อมทั้งเป็นเวทีนำเสนอแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การดูดซับก๊าซเรือนกระจกให้กับชุมชน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งการบรรลุเป้าหมายตามเจตนารมณ์ที่นายกรัฐมนตรีประกาศไว้ในการประชุม COP 26 จะต้องขับเคลื่อนปัจจัยความสำเร็จ 4 ข้อ ได้แก่ 

1. นโยบายภาครัฐและกฎหมาย มุ่งสู่เป้าหมายยุทศาสตร์ชาติ 20 ปี ในเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 25% นำไปสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) 

2. ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน มีความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน 

3. เงินทุน (Funding) การกู้ยืม/สินเชื่อเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ 

4. เทคโนโลยี นวัตกรรม การสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก ศึกษาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง  ในการแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม


สำหรับในเวทีเสวนา “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน” วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ร่วมกันนำเสนอแนวทางการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างศักยภาพในระดับพื้นที่ การจัดการป่าไม้และพื้นที่สีเขียว การมีส่วนร่วมและการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากระดับนโยบายสู่การปฏิบัติของประชาชน 

เพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก จากการปรับพฤติกรรมของคนไทย รวมทั้ง สาระสำคัญต่าง จากการประชุม COP 26 ที่ผ่านมา งานวิจัยของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมต่อการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดก๊าซเรือนกระจกที่นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ บทบาทของอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสมในการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 

การสนับสนุนชุมชนในการตั้งรับ ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบทบาทขององค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากธรรมชาติ หรือ NGO ต่อการขับเคลื่อนความร่วมมือภาคีเครือข่ายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก


นายรัชฎา สุริยกุล  อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “COP 26 สู่วิถีชาวบ้าน” เป็นเวทีในการเผยแพร่ สื่อสารข้อมูล ผลจากการประชุม COP 26 ความรู้จากงานวิจัยของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถตั้งรับ และปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง 

นำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในระดับพื้นที่ เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และต่อยอดเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับพื้นที่ต่อไป 

โดยข้อเสนอจากข้อมูลต่าง  ในการประชุม COP26 ที่ผ่านมาให้เข้าใจง่ายและสามารถให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง  นำไปขับเคลื่อนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ ซึ่งทุกท่านสามารถเข้าชมย้อนหลังได้ที่ Facebook กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)