เชียงใหม่ 11 มี.ค.64 – จิตอาสาระรมขอความช่วยเหลือพี่น้องชาวไทย ร่วมบริจาคอุปกรณ์ดับไฟป่าและของจำเป็นสำหรับการลาดตระเวนภารกิจดับไฟป่าในพื้นที่อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ กว่า 800 ไร่ หลังต้องเผชิญกับไฟป่ามาต่อเนื่องขณะที่อุปกรณ์จำกัดและไม่เพียงพอ
กลุ่มจิตอาสาดับไฟป่าบ้านหัวทุ่ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ส่งต่อข้อความขอรับบริจาคอุปกรณ์ดับไฟป่าและของจำเป็นสำหรับการลาดตระเวน หลังต้องลงพื้นที่ทำการดับไฟ ในพื้นที่ป่าชุมชนติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว ที่อยู่ในความดูแลกว่า 800 ไร่
โดยสิ่งที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการดับไฟป่า
ได้แก่
-ไม้กวาด
-คราด
-น้ำดื่ม
-อาหารแห้ง
-เครื่องเวชภัณฑ์
-หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5
-เครื่องดื่ม ,เกลือแร่
-รองเท้าบูทเบอร์ 9-10.5
- เลื่อยยนต์
โดยสามารถส่งสิ่งของบริจาคได้ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
220 หมู่ 14 ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 50170 หรือสอบถามเพิ่มเติม ศิริวรรณ รู้ดี ผู้ใหญ่บ้าน
โทร. 0931308526
ทั้งนี้ปัจจุบันกลุ่มจิตอาสาดับไฟป่าบ้านหัวทุ่ง
มีสมาชิก 24 คน ไม่มีเงินเดือน หรือเบี้ยเลี้ยง โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แต่มีเหตุไฟป่าเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ การสนับสนุนจึงไม่ทั่วถึง
โดยอุปกรณ์และของใช้จำเป็นที่ขอรับบริจาคจึงขาดแคลนและยังมีความต้องการใช้ในการปฏิบัติภารกิจดับไฟป่า
เดินทางมาส่งเองได้ที่
"จุดรวมของในเมืองเชียงใหม่" คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โถงชั้น 1 อาคาร 30 ปี แผนที่:
https://goo.gl/maps/n6bb9R7nzY2C6wqD6
#savechiangdao
ด้านสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
หรือ GISTDA รายงานสถานการณ์จุดความร้อนไทยในวันนี้ลดลงเล็กน้อย
โดยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของระบบเวียร์
(VIIRS) เมื่อวันที่ 10
มีนาคม 2564 พบจุดความร้อนทั้งประเทศ 2,197
จุด หนักที่สุดคือภาคเหนือจุดความร้อนพุ่งสูงถึง 1,763
จุด โดยจังหวัดแม่ฮ่องสอน 560 จุด รองลงมา จังหวัดตาก 359
จุด และจังหวัดเชียงใหม่ 341 จุด
จากภาพแสดงให้เห็นว่ากลุ่มจุดความร้อนจำนวนมากจะกระจุกตัวที่บริเวณภาคเหนือ
ประกอบกับช่วงนี้ความเร็วลมมีกำลังเบา ทำให้การกระจายตัวของกลุ่มควันเป็นไปอย่างยากลำบาก
ส่วนของภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันเฉียงเหนือ และภาคใต้
ยังคงเห็นจุดความร้อนอยู่บ้าง
สำหรับจุดความร้อนประเทศเพื่อนบ้านยังคงมีให้เราเห็นอย่างต่อเนื่อง อันดับ 1 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ที่มีจุดความร้อนสูงถึง 5,676 จุด อันดับ 2 คือราชอาณาจักรกัมพูชา 2,213 จุด และอันดับ 3 คือประเทศไทย 2,197 จุด อาจส่งผลให้พื้นที่จังหวัดใกล้เคียงได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองและหมอกควัน ที่ลอยข้ามแดนเข้ามาได้
ส่วนภาพจากดาวเทียมฮิมาวาริ (Himawari) และดาวเทียมอื่นๆ
ได้ติดตามปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เมื่อช่วงเช้า 11
มีนาคม 2564 พบค่าคุณภาพอากาศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมาก
(สีแดงเข้ม) สลับกับค่าคุณภาพอากาศที่เริ่มจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม) ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือ
และยังคงกระจุกตัวในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบค่าคุณภาพอากาศที่ระดับ 245
รองลงมาเชียงราย ที่ระดับ 182 และเชียงใหม่ ที่ระดับ 134
ขณะที่ภาพรวมทั่วประเทศอยู่ในระดับคุณภาพอากาศที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีส้ม)
สลับกับคุณภาพอากาศปานกลาง (สีเหลือง)