ธรรมเนียมของพระสงฆ์รามัญที่มีมาแต่โบราณกาลและรักษาสืบต่อกันมาจนกลายเป็นราชประเพณีอย่างหนึ่งของราชสำนักไทย คือ การสวดพระปริดแบบรามัญ หรือ พระปริตมอญ
พระมหากษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้มีพระดำแหน่งพระครูพระปริตรามัญชุดหนึ่งมี 4 รูปสำหรับสวดพระปริตแบบรามัญ ทำน้ำพระพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวังเป็นประจำ สืบมา
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่า "การสวดพระปริตทำน้ำมนต์ถือเป็นการสำคัญในราชประเพณีอย่างหนึ่ง มีตำแหน่งพระครูพระปริตไทย 4 รูป พระครูพระปริตมอญ 4 รูป สำหรับสวดทำน้ำพระพุทธมนต์ ในบรรดางานพระราชพิธีซึ่งมีสรงมุรธาภิเษกพระราชาคณะไทยรูปหนึ่ง มอญรูปหนึ่ง กับพระครูพระปริดทั้ง รูปนั้น สวดทำน้ำพระพุทธมนต์สำหรับสรงมุรธาภิเษกทุกงาน และโดยปกติ พระครูพระปริตมอญต้องเข้ามาสวดทำนำพระพุทธมนต์ที่หอศาสตราคมทุกวันน้ำมนต์พระปริตนั้นส่วนหนึ่งแบ่งส่งไปสำหรับเป็นน้ำสรงพระพักตรและโสรจสรง อีกส่วนหนึ่งใส่บาตรสองใบ ให้สังฆการีถือตามพระครูพระปริต 2 องค์ เข้าไปเดินประด้วยหญ้าคาที่ในพระราชวังในเวลาบ่าย 14 นาฬิกาทุกวันเป็นนิตย์มาแต่โบราณ“
ความเป็นมาของราชประเพณีอันนี้ พระบาทสมเต็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชาธิบายไว้ว่า "ในพระราชนิเวศน์เวียงวังของพระเจ้าแผ่นดินสยามตามแผนบุรพประเพณีสืบมา พระสงฆ์รามัญได้สวดพระปริตตามแบบอย่างข้างรามัญ ถวายน้ำพระพุทธมนต์แลน้ำสรงพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลเป็นน้ำสำหรับสรงพระพักตร์ ประพรมเป็นทักษิณาวัตรขอบใน จังหวัดพระราชมหามณเทียรนี้ทุกวัน เป็นการพระราชพิธีมีสำหรับบรมราชตระกูลสืบมาแต่โบราณพระสงฆ์อื่น แม้มีฐานันดรยศปรากฏด้วยเกียรติคุณคือเรียนรู้พระคัมภีร์ที่เป็นพระราชาคณะเปรียญหรือที่เป็นอาจารย์บอกภาวนาวิธี หรือพระสงฆ์ที่รู้ประกอบวิทยาคมมนต์ตลเป็นที่นับถือของคนเป็น อันมากก็ดี ก็ไม่มีรากบัญญัติที่จะได้รับวาระผลัดเปลี่ยนกันมาสวดพระปริตถวายน้ำพระพุทธมนต์เลยเหตุอันนี้ได้ทรงพระราชดำริว่า ชรอยจะมีเหตุวิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งแต่โบราณราชการเป็นมหัศจรรย์สำคัญอยู่อย่างไรเป็นแน่แท้ เพราะว่าปกดิธรรมดาคนชาวภาษาใดประเทศใดย่อม นับถือพระสงฆ์แลแพทย์หมอ ตามประเทศตามภาษาของตัว ในการสวดแลการบุญ แลการปริตรักษาตนรักษาไข้ แต่การที่มีนิยมเฉพาะให้พระสงฆ์รามัญพวกเดียวประจำสวดปริตอย่างรามัญในพระราชวังนี้จะมีความยืนยันมาในพระราชพงศาวดารหรือจดหมายเหตุการณ์ต่อมาเป็นแน่นอน ไม่มีมีแต่คำกล่าวเล่าต่อๆกันมาว่า บางพวกว่าเมื่อครั้งแผ่นดิ
นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเจ้านั้น ทรงนับถือพระมหาเถรกันฉ่อง ว่าเป็นครูอาจารย์ จึงพระราชทานฐานันดรยศให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช แล้วทรงนับถือพระสงฆ์รามัญมาก แต่นั้นมาจึงได้เฉพาะให้อาราธนาแต่พระสงฆ์รามัญสวดประปริตในพระราชวังดังนี้บ้าง
บางพวกกล่าวว่า พระสงฆ์รามัญ รูปหนึ่งกับน้องหญิงมาด้วยกันในป่า ครั้งถึงเมืองสยามแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงรังเกียจไม่ร่วมสังฆกรรม ด้วย พระสงฆ์รามัญรูปนั้นจึงบอกว่าดัวบริสุทธิ์อยู่ เมื่อเวลานอนในป่าได้วางพร้าภาษารามัญเรียกว่าปะแระตะราย" เล่มหนึ่งไว้ท่ามกลาง มีแต่พร้าเป็นพยาน จึงทำสัตยาธิษฐานเฉพาะต่อความบริสุทธิ์แลไม่บริสุทธิ์แล้วขว้างพร้าลงไปในน้ำนั้นบันดาลลอยเห็นประจักษ์ พระเจ้าแผ่นดินทรงทราบความเรื่องนี้จึงทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสตั้งพระภิกษุนั้นเป็นที่พระไตรสรณธัช แล้วทรงนับถือพระสงฆ์รามัญซึ่งเป็นศิษยานุศิษย์พระไตรสรณธัชนั้นสืบมา
จึงให้อาราธนาแต่พระสงฆ์รามัญมาสวดในราชวังเป็นนิจนิรันดร เป็นธรรมเนียมมาดังนี้ก็มีบ้างพวกหนึ่งว่าเมื่อครั้งพระเจ้าแผ่นตินพระองค์หนึ่งในกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา เกิดปีศาจคะนองหลอกหลอนยิ่งนักในพระราชวัง บางพวกกล่าวว่า สายรุ้งตกในพระราชวังทุกวันไม่หายไป ครังนั้น สมเต็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชโองการดำรัสให้นิมนต์พระสงฆ์ไทยที่มีชื่อเสียงเล่าลือ ว่าตีมีอานุภาพมาสวดพระปริต แลให้แพทย์หมอผู้รู้วิทยาคมต่างๆ มาประกอบวิทยาการแก้ไข เพื่อบำบัดอุปัทวโทษ คือ ปีศาจที่คะนองหรือสายรุ้งลงนั้น การก็หาสงบ อันตรธานหายไปไม่ ภายหลังจึงให้นิมนต์พระสงฆ์รามัญวัดดองปุมาสวดพระปริต พระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานไทยธรรมด่างๆ พระสงฆ์รามัญก็ไม่รับ แสดงลัทธิว่าควรจะรับได้แต่อาหารบิณฑบาตรในเวลาภิกขาจารอย่างเดียว ถ้ารับไทยธรรมอื่น เป็นลาภเพราะทำพระปริดนั้นแล้วเป็นอันเห็นแก่อามิสไป จะสวดพระปริตก็ไม่มีอำนาจ ไม่อาจบำบัติอุปัทวอันตรายได้ พระเจ้าแผ่นดินจึงได้พระราชทานแต่อาหารบิณฑบาดรอย่างเดียวเท่านั้นตามคำพระสงฆ์รามัญ พระสงฆ์รามัญจึงจะเจริญพระปริด ปีศาจที่คะนองหรือสายรุ้งที่ลงนั้นก็อันตรธานสงบเสื่อมหายแต่นั้นมา พระสงฆ์รามัญจึงได้สวดพระปริดในพระราชวัง พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแต่อาหารบิณฑบาตร เรียกว่า ทรงบาตรพระปริต พระราชทานก่อนเป็นปฐมในเวลาเช้าทุกวันมิได้ขาด แลมิได้ให้มีไทยธรรมสิ่งอื่นถวายพวกพระสงฆ์รามัญสวดพระปริตเหมือนพวกพระสงฆ์สวดจตุเวทนั้นเลย เป็นธรรมเนียมสืบมาจนทุกวันนี้ ธรรมเนียมใช่ว่าพระเจ้าแผ่นดินจะไม่พระราชทานด้วยมัจฉริยเจตนา ในพระสงฆ์รามัญที่มีอุปการะนั้น
เมื่อมีการเสด็จพระราชดำเนินประทับแรมราตรี ณ ตำบลใดเป็นทางไกลคือ เสด็จไปการสงครามหรือแทรกโพนช้างในแผ่นดินก่อน พระสงฆ์รามัญสวดพระปริดนี้ ก็ต้องดามเสด็จพระราชดำเนินด้วยทุกครั้งเมื่อครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้าเสด็จไปประทับอยู่กรุงลพบุรี 8 เดือน ในฤดูแล้งทุกปี ก็ได้อาราธนาพระสงฆ์รามัญวัดดองปู่ให้ตามเสด็จขึ้นไปดั้งอารามชื่อวัตดองปุอยู่สวดพระปริดถวายพระพุทธมนต์ทุกวัน อารามนั้นก็มีปรากฏจนทุกวันนี้ แลน้ำพระพุทธมนต์พระปริตนี้ย่อมเป็นที่เห็นว่าอำนาจป้องกันอุปัทวันตรายได้จริง ในพระบาทสมเด็จพระอยู่ ได้ดำรงสิริรัตนราชยสวริยาธิปัตย์เถลิงถวัลยราช ณ กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์มหินทราอยุธยานี้ ได้ทรงถือน้ำพระพุทธมนต์พระปริตที่พระสงฆ์รามัญสวดถวายนั้น เป็นน้ำสรงพระพักตร์และน้ำสรงมาทุกพระองค์"
พระครูพระปริตรามัญทั้ง 4 คือ พระครูราชสังวร พระครูสุนทรวิลาศ พระครูราชปริต แบะพระครูสิทธิเดชะ จากวัดชนะสงคราม มีหน้าที่สวดพระปริต ทำน้ำพระพุทธมนต์ในพระบรมมหาราชวัง ณ หอศาสตราคม เรื่อยมาจนถึงปี 2389 ปรากฏว่าพระภิกษุที่สามารถสวดรามัญได้นั้นมีน้อยรูปลง ไม่พอจะผลัดเปลี่ยน พระครูราชสังวร (อายุวทฺฒโก พิศ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในครั้งนั้น จึงได้มีหนังสือถึงกรมการศาสนาขอลดวันสวดพระปริตลง กระทรวงศึกษาธิการได้นำความกราบบังคมทูลก็ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ลดวันลงมาทำเฉพาะวันธรรมสวนะเท่านั้น พิธีเริ่มแต่เวลา 13 นาฬิกา พระ 4 รูป พร้อมด้วยพระผู้เป็นประธาน๑ รูป สวดพระสัตตปริต อย่างภาษารามัญที่หอศาสตราคม เมื่อเสร็จราว 14 นาฬิกา มีเจ้าหน้าที่มานำพระ 2 รูป ไปประพรมน้ำพระพุทธมนต์รอบหมู่พระมหามณเทียร เป็นเสร็จพิธี