X
OPPO ชูแผน Zero-Battery Future

OPPO ชูแผน Zero-Battery Future

21 ม.ค. 2565
580 views
ขนาดตัวอักษร

OPPO Research Institute ได้เผยแพร่เอกสารรายงานเรื่อง Zero-Power Communication ฉบับใหม่อย่างเป็นทางการโดยเอกสารนี้จะวิเคราะห์ตำแหน่งทางเทคนิคของเทคโนโลยี Zero-Power Communication ในด้านความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองเกี่ยวกับ IoT และขั้นตอนการดำเนินการสำหรับเทคโนโลยีที่จะพัฒนาร่วมกับระบบการสื่อสารอื่นๆ ในอนาคต


อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้แบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงาน แม้ว่าเทคโนโลยีแบตเตอรี่จะก้าวไปไกลในหลายปีที่ผ่านมา แต่เทคโนโลยีแบตเตอรี่ในปัจจุบันยังคงมีปัญหาสำคัญในแง่ของขนาดโดยรวม ต้นทุนการผลิต อายุการใช้งาน ความสะดวกในการใช้งาน และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเทคโนโลยี Zero-Power Communication ได้ลดความจำเป็นในการใช้แบตเตอรี่โดยการเก็บเกี่ยวพลังงานจากคลื่นความถี่วิทยุรอบตัวเพื่อสร้างพลังงาน มอบอุปกรณ์ที่มีขนาดกะทัดรัด มีประสิทธิภาพ และต้นทุนต่ำ โดยคุณสมบัติดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการใช้งานด้านต่างๆ ทั้งในเชิงพาณิชย์ เช่น การคลังสินค้า การขนส่ง รวมถึงการเกษตร และในอุปกรณ์สวมใส่  ระบบภายในบ้านแบบอัจฉริยะ และการใช้งานที่ทันสมัยอื่นๆ


เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ไกลออกไป เราไม่เชื่อว่าการรับส่งข้อมูลจะเป็นตัวขับเคลื่อนที่ยิ่งใหญ่ในเทคโนโลยีโทรคมนาคมแต่เราเชื่อว่าเทคโนโลยีควรพัฒนาเพื่อมอบความสะดวกสบายและคุณค่าที่ยั่งยืนให้กับสังคมโดยรวมมากยิ่งขึ้น โดยเทคโนโลยี Zero-Power Communications ได้มอบวิธีการสำหรับผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเลิกใช้แบตเตอรี่ในผลิตภัณฑ์ จะลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกระบวนการได้ ด้วยเหตุนี้ Zero-Power Communications จึงเป็นหนึ่งในประเด็นหลักเมื่อเราก้าวเข้าสู่ยุค B5G/6G” Henry Tang Henry Tang, OPPO's Chief 5G Scientist กล่าวในขณะที่เทคโนโลยีการสื่อสารแบบ passive communication มีอยู่แล้วในเทคโนโลยี radio frequency identification (RFID) ในปัจจุบัน ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันมักจะประสบปัญหา เช่น ระยะการสื่อสารสั้นประสิทธิภาพต่ำ และความจุของระบบขนาดเล็ก สิ่งนี้เหล่านี้เป็นความท้าทายที่สำคัญเมื่อใช้เทคโนโลยี RFID กับการใช้งานที่เฉพาะเจาะจงหรือซับซ้อน เช่นเครือข่ายเซ็นเซอร์อุตสาหกรรม การขนส่งและการคลังสินค้าที่ต้นทุนต่ำแต่กำลังการขนส่งสูงและบ้านอัจฉริยะราคาประหยัดและใช้พลังงานต่ำ รวมไปถึงเทคโนโลยีสวมใส่ขนาดเล็ก


อุปกรณ์ Zero-Power แตกต่างจากวิธีการดั้งเดิมตรงที่สามารถรับสัญญาณวิทยุรอบตัว ที่ออกอากาศจากแหล่งต่างๆ เช่นหอกระจายภาพ หอวิทยุ FM สถานีฐานโทรศัพท์ และจุดเชื่อมต่อ WiFi (AP) ที่เป็นแหล่งพลังงาน โดยหลังจากรวบรวมพลังงานจากคลื่นวิทยุแล้ว อุปกรณ์จะสามารถปรับสัญญาณวิทยุแวดล้อมกับข้อมูลของตัวเอง และส่งสัญญาณเหล่านี้ออกไปภายนอกในกระบวนการที่เรียกว่าการสื่อสารแบบกระจายกลับการออกแบบเครือข่าย Zero-Power Communication จำเป็นต้องพิจารณาถึงการอยู่ร่วมกันของระบบ Zero-Power communication และระบบ 4G/5G ที่มีอยู่ 


นอกเหนือไปจากเรื่องช่วงความถี่แบบ unlicensed bands และแบบ licensed bandsระบบ Zero-Power Communication สามารถสร้างได้ในกรอบงานที่ใช้การสื่อสารแบบเซลลูลาร์ การสื่อสารแบบไซด์ลิงก์ หรือในแบบไฮบริดโดยระบบ Zero-Power Communication แบบเซลลูล่าร์จะสามารถรองรับแอปพลิเคชันเครือข่ายเซ็นเซอร์อุตสาหกรรมได้ดีที่สุด เช่น แอปพลิเคชันที่อาจต้องติดตั้งอุปกรณ์ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก เช่น สถานที่ซึ่งมีจำนวนอุปกรณ์ในเครือข่ายมาก หรือที่มีต้นทุนค่าปรับใช้และบำรุงรักษาในการใช้อุปกรณ์แบบดั้งเดิมสูงในทางกลับกัน วิธีการแบบไซด์ลิงค์นั้นเหมาะกับการสื่อสารระยะสั้นที่มีต้นทุนต่ำ เช่น อุปกรณ์สวมใส่หรืออุปกรณ์สมาร์ทโฮม ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถใช้ในการประมวลผลข้อมูลที่ได้รับอีกด้วย และวิธีการแบบไฮบริดที่ใช้ทั้งวิธีการสื่อสารแบบเซลลูลาร์และไซด์ลิงก์จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถปลดล็อกแอปพลิเคชันได้มากขึ้นโดยการใช้ระบบ Zero-Power Communications

Terms of Service © 2018 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล