ในโลกเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม มีการพูดถึง เทคโนโลยีสื่อสาร ยุคที่ 6 หรือ 6G กันมาสักระยะ เป็นเรื่องธรรมดาของเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้า
ในวันที่เราอยู่กับ 5G การไป 6G มันต้องเกิดขึ้นสักวันเร็วๆนี้ ก่อนถึง 6G เราต้อง ไป 5.5G ก่อน และวันนี้ประเทศไทยหด้เริ่มต้นทดลองทดสอง 5.5G
รู้จัก 5.5G คืออะไร? 5.5G หรือชื่อเต็มว่า 5G-Advanced ไม่ใช่แค่เวอร์ชันอัปเกรดของ 5G แต่เป็น “ก้าวกระโดด” ทางเทคโนโลยี ที่จะยกระดับเครือข่ายมือถือทั้งระบบให้เร็วขึ้น ฉลาดขึ้น และประหยัดพลังงานมากกว่าเดิมหลายเท่า แต่ .5 ทำไมถึงเรียกว่า “ปฏิวัติ”? เพราะ
เร็วขึ้น 10 เท่า: 5.5G ให้ความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดถึง 100Gbps เทียบกับ 5G ที่อยู่ราว 10Gbps หน่วงน้อยลงเหลือ 1 มิลลิวินาที: เหมาะกับงานเรียลไทม์ เช่น AR/VR, เกมเมอร์, หรือแม้แต่การผ่าตัดทางไกล ฉลาดขึ้นด้วย Native Intelligence: เครือข่ายสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจได้เองประหยัดพลังงานมากขึ้น: ทั้งสำหรับอุปกรณ์ผู้ใช้ และโครงข่ายเอง สนับสนุนแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน
ดังนั้น 5.5 G จึงใช้งานได้มากกว่าแค่ “อินเทอร์เน็ตเร็ว” 5.5G ขยายขอบเขตการใช้งานไปไกลกว่าการดูวิดีโอหรือเล่นเกม เราจะได้เห็น รถไร้คนขับ ที่เชื่อมต่อรถกับระบบนำทางแบบเรียลไทม์ ตอบสนองไว ลดอุบัติเหตุ การผ่าตัดทางไกล (ได้ซะที) ศัลยแพทย์สามารถควบคุมหุ่นยนต์ผ่าตัดจากอีกซีกโลกได้อย่างแม่นยำ สำหรับ IOT Passive IOT อุปกรณ์ที่ไม่ใช้แบตเตอรี่ก็สามารถสื่อสารผ่านเครือข่ายได้ และที่เราพูดกันเรื่อง เมืองอัจฉริยะ & อุตสาหกรรม 4.0 มันจะเกิดขึ้นจริง 5.5G จะรองรับโรงงานอัตโนมัติ ระบบจราจรอัจฉริยะ ฯลฯ
ทั่วโลกเริ่มใช้แล้ว ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเครือข่ายกว่า 60 รายทั่วโลก (จีน, ฮ่องกง, UAE, อัมมาน ฯลฯ) เริ่มให้บริการ 5.5G แล้ว หลังจากที่ 3GPP องค์กรกำหนดมาตรฐานโทรคมนาคม ออกร่างมาตรฐานแรกของ 5.5G ในปีนี้
แล้วประเทศไทยล่ะ? วันนี้ (21 กรกฎาคม 2568 ) การทดลองทดสอบ 5.5G ในพื้นที่ทดสอบทดลอง ที่เรียกว่า พื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (regulatory sandbox) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะเริ่มขึ้น
ข้อมูลที่เราได้รับ การทดสอบ/ทดลอง จะทำบริเวณแนวถนนเส้นหลักบริเวณพื้นที่หน้าสระน้ำ อ้อมไปหลังหอประชุมจุฬาฯ และพื้นที่ในอาคารสถาปัตยกรรม 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์คณะที่เข้าร่วม
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
แอปพลิเคชัน หรือ บริการที่จะทดสอบ บริการสื่อสารไร้สายแบบเคลื่อนที่ (IMT) เทคโนโลยี 5G-Advanced (หรือ 5.5G) โดยใช้คลื่นความถี่ Upper 6GHz เป็นคลื่นความถี่ที่ยังไม่เคยใช้งานสำหรับเทคโนโลยี IMT มาก่อน นับเป็นการทดสอบ/ทดลองครั้งแรกในประเทศไทย การทดสอบจะแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของเทคโนโลยี 5G-Advanced ซึ่งสามารถส่งข้อมูลฝั่ง downlink ด้วยอัตราเร็วถึง 10 Gbps (เร็วกว่าเทคโนโลยี 5G 10 เท่า)
ระยะเวลาความร่วมมือ การทดสอบ/ทดลองนี้ ดำเนินงานภายใต้ “โครงการ 5G-A Spectrum Joint Exploration” ซึ่งมีระยะเวลาโครงการ 1 ปี (ตุลาคม 2567 - กันยายน 2568) ความเร็ว 10Gbps ครับ ถือว่าเป็นการแสดงเทคโนโลยีที่มีความน่าสนใจ โดยใช้ย่านความถี่ U 6Ghz ทั้งนี้ในเรื่อง policy เรื่องการใช้ส่วนที่เป็น upper 6 GHz
โดย กสทช. อนุญาตให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ sandbox สำหรับทดสอบนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ รวมทั้งอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ Upper 6GHz ในการทดสอบ/ทดลองในโครงการนี้ กสทช. จะนำผลการศึกษา เข้าสู่ที่ประชุม ITU - WRC
สำหรับผู้สนับสนุนการทดสอบ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโทรคมนาคม อาทิ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด สนับสนุน เครือข่าย 5.5G ที่ใช้ในการทดสอบ/ทดลองในโครงการนี้ คาดว่าไทยจะเริ่มใช้ 5.5G อย่างเป็นทางการปลายปี 2568 โดย HUAWEI ร่วมมือกับผู้ให้บริการอย่าง AIS และ True รวมถึงภาครัฐ เพื่อผลักดันเทคโนโลยีนี้ให้สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0