กระแส หนังสยองขวัญ ธี่หยด จากเรื่องเล่าผ่านรายการวิทยุผี สิ่งที่ถูกเอามาพูถึงมากที่าุกไม่พ้น เสียงสยองขวัญ “ธี่หยด” ที่มีผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่าเป็นคำในภาษามอญ โยงกันไปถึง วิญญาณสยองขวัญในเรื่องคือ ผีมอญ
Backbone MCOT ได้รับคำอธิบายจาก ดร.องค์ บรรจุน อาจารย์ประจำคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมอญ อธิบายไว้ว่า ในทางวัฒนธรรมมอญไม่ได้มีความเชื่อเรื่องผีในเชิงสิ่งลี้ลับ แม้วัฒนธรรมมอญจะมีความเชื่อเรื่องผี แต่ก็เป็นผีที่อยู่ตามเสาบ้านเสาเรือน เป็นผีบรรพชน ผีบรรพบุรุษ ที่มีการเซ่นไหว้ตามประเพณี ถ้าเทียบกับวัฒนธรามไทยอาจจะตรงกับผีปู่ย่า ผีในวัฒนธรรมมอญเป็นผีบรรพบุรุษที่มีตัวตนในเชิงวัฒนธรรมแบบมอญ
“มองว่าการทีาใครจะเชื่อเรื่องราวใดโดยอ้างเอาไปเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งควรให้ความเคารพทั้งตัวเองและเจ้าของวัฒนธรรมด้วย โดยอาจจะพิจารณาว่าความเชื่อนั้นจะเป็นผลดีหรือผลเสียต่อตัวเองอย่างไรหรือไม่ ”
ส่วนคำว่าธี่หยด ได้ตอบไว้ในหลายครั้งว่า ตามหลักวิชาการว่าธี่หยดไม่ใช่ภาษามอญ ไม่ใช่บทสวดที่ออกเสียงในภาษามอญ แต่ถ้าจะเอาไปสันนิษฐานด้วยการแยกคำ ธี่ คำหนี่ง หยด คำหนึ่งแล้วเอามาโยงกับภาษามอซ หรือวิเคราะห์ตามบริบทแวดล้อมข้างเคียงตามจินตนาการของผู้ชมก็เป็นเป็นสิทธิส่วนบุคคล
ดร.องค์ ทิ่งท้ายว่า การที่มีคนพยายามสันนิษฐานด้วยการหาความหมายโดยตัดคำแยกออกมาเป็นสองคำ จนพอจะมีความหมายใกล้เคียงกับภาษามอญ ถ้าใช้วิธีการนี้ก็คงใช้กับเกือยภาษาทุกภาษา ธี่หยด ไม่ใช่ภาษามอญ แม้จะแยกคำออกมาแล้วเอามาอธิบายว่าเป็นคำสวดในภาษาฮินดูก็ดูจะไม่เข้ากับบริบทของการปรากฎตัวของผีตามเรื่องนี้เลย การที่เราจะเชื่อเรื่องราวเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราควรเชื่อโดยพิจารณาจากบริบททางสังคมและบริบทของพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ เรื่องเล่านี้เกิดที่จังหวัดกาญจนบุรี บุคคลตามเรื่องนี้ไม่ใช่คนเชื้อสายมอญ