8 ธ.ค. 66 - เศรษฐกิจจีนยังซบซำ
หนุ่มสาวจีนผุดไอเดีย เทรนด์ B1B2 ใช้ชีวิตในห้างชั้นใต้ดิน
รายได้ไม่เอื้อให้ถอยแบรนด์เนม ร้านอาหารหรู นั่งฟู้ดคอร์ทใช้ของจีน
เศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้นหลังโควิด แม้ว่าจะมีอาการที่ดีขึ้นกว่าช่วงโควิด แต่การขยายตัวในระดับต่ำกว่าร้อยละ 5 ของจีนในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถกระตุ้นการบริโภคภายในได้เท่าที่ควร โดยเฉพาะตลาดของ ของแบรนด์เนม ซึ่งก่อนหน้าช่วงโควิดนั้น จีนนั้นนับว่าเป็นตลาดใหญ่ของสินค้าแบรนด์เนมจากประเทศตะวันตก ทั้งจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป
จากการเปิดเผยจากสำนักข่าวต่างประเทศทั้ง CNBC , Bloomberg เทรนด์ใหม่ของวัยรุ่น วัยทำงานจีนที่เรียกว่า B1B2 ซึ่งเทรนด์นี้มากจากสื่อสังคมออนไลน์จีนอย่าง Weibo โดยมีเทรนด์นี้ฮิบายง่าย ๆ ว่าวัยรุ่นในยุคปัจจุบันของจีนจะไปช็อปปิ้งได้แค่ชั้น B1 และ B2 เท่านั้น โดยห้างสรรพสินค้าของจีนนั้นชั้นใต้ดิน หรือชั้นล่างสุดอย่าง B1 B2 คือชั้นของซุปเปอร์มาเก็ต และฟู้ดคอร์ท ร้านค้าทั่วไป เช่น Miniso และร้านกาแฟแบรนด์ของจีนเองอย่าง Luckin Coffee สำหรับชั้นบน ๆ จะเป็นพื้นที่ของร้านหรูจากตะวันตก
มินลี
สาวออฟฟิศวัย 26 ให้สัมภาษณ์กับ
CNBC ว่า
เธอไม่ได้ไปห้างสรรพสินค้าบ่อยนัก แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เธอไป
เธอจะวิ่งผ่านร้านสินค้าแบรนด์เนมหรูหราทั้งหลายลงไปชั้นใต้ดิน เธอทิ้งท้ายไว้ว่า “ชั้นบนมันแพงเกินไป”
เช่นเดียวกับหนุ่มสาวหลายคนที่กำลังเป็นวัยทำงานในช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด-19
ที่ทำให้กระแสการใช้สินค้าหรูในปัจจุบันกลายเป็นกระแสที่ไม่เป็นที่นิยมอีกแล้วในปัจจุบัน
นอกจากนั้น Bloomberg
การใช้สินค้าแบรนด์เนมอาจจะกลายเป็นสิ่งล้าหลังสำหรับสังคมจีนยุคใหม่
ที่เลือกจะใช้สินค้าเรียบง่ายผลิตในประเทศ
และจำเป็นในชีวิตมากกว่าการใช้สินค้าหรูหราจากตะวันตก
โดยมองว่าค้านิยมการมองด้วยรูปลักษณ์ภายนอกและเครื่องประดับหรูหราเริ่มกลายเป็นสิ่งไร้สาระของหนุ่มสาวจีนในปัจจุบัน
ในอดีต Starbuck เป็นตัวแทนของเครื่องดื่มสำหรับหนุ่มสาวในจีน แต่ปัจจุบัน ร้านกาแฟแบรนด์ในประเทศอย่าง Luckin กลายเป็นร้านกาแฟที่มีสาขามากที่สุดในประเทศจีน และหนุ่มสาวยุค B1B2 ก็นิยม Luckin มากกว่า Starbuck อีกด้วย แฮทแทคในสื่อสังคมออนไลน์จีนอย่าง Weibo ที่แปลออกมาได้ว่า “เราสามารถซื้อสิ่งที่เราต้องการได้ในชั้นB1B2” มีการแชร์กันไปกว่า 1 ล้านครั้ง
ยิ่งในปัจจุบันเศรษฐกิจที่ยับซบเซาของจีนยิ่งทำให้การบริโภคในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงเรื่อย ๆ “เยาวชนของจีนจำนวนมากกำลังดิ้นรนเพื่อหางานทำที่มั่นคง หรือหาเงินได้เพียงพอเพื่อดำรงชีวิตที่ดีให้กับตนเอง” เจี่ย เหมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ประจำเซี่ยงไฮ้ กล่าว พวกเขาถูกสถานการณ์บังคับให้ประหยัดเงินมากขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน 2022 การสำรวจพบว่าเงินเดือนโดยเฉลี่ยของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีมีรายได้ 6000 หยวนจีน (ราว 30,000 บาท) “ผู้คนรู้สึกว่าอนาคตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน ... คนหนุ่มสาวต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นเวลาหลายปี” เจี่ย เหมา กล่าว
แม้กระทั่งยักษ์ใหญ่ของการช็อปปิ้งออนไลน์อย่างอาลีบาบา
และ JD.com ก็ยังปฎิเสธการเปิดเผยตัวเลขยอดขายใน “วันคนโสด” ซึ่งเป็นวันที่สินค้าออนไลน์มีการกระหน่ำโปรโมชั่นสำหรับสินค้าต่าง
ๆ ในตลาดออนไลน์ และเป็นวันที่ยอดขายสินค้าในจีนสูงสุดในทุก ๆ ปี และเหล่าช็อปปิ้งออนไลน์จะเปิดเผยยอดขายเป็นการแข่งขันกันในตัว
แต่สองปีมานี้ไม่มีบริษัทไหนกล้าเปิดเผยยอดขายอีกเลย
“ฉันคิดว่าอนาคตไม่ได้มีความหวังมากนัก
แต่เรายังคงทำงานอย่างหนักเพื่อให้ได้สิ่งที่เราต้องการ” “ในประเทศจีนที่นี่
พวกเราส่วนใหญ่ และพูดตามตรง ทุกคนรู้สึกถึงความกดดันที่เกิดจากเศรษฐกิจ โควิด และจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ ” มินลี สาวออฟฟิศวัย 26
ปี กล่าวปิดท้ายกับ CNBC
เรียบเรียงจาก China’s
young people shop for bargains in mall basements: ‘The first floor is too
expensive’
https://www.cnbc.com/2023/12/06/chinas-youths-shop-at-b1b2-bargain-basements-as-economy-bites.html