รัฐบาลไทยผนึกกำลัง ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เปิดตัวโครงการ "THAI Academy ขับเคลื่อนอนาคต AI ประเทศไทย ยกระดับพันธกิจการเสริมทักษะด้าน AI ให้ครอบคลุมคนไทยกว่า 1 ล้านคน ภายใต้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างไมโครซอฟท์และรัฐบาลไทย พร้อมพันธมิตรจากภาครัฐและภาคเอกชนกว่า 35 องค์กร และขยายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการขับเคลื่อนประเทศสู่ยุค AI First
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า AI เป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญในการนำพาประเทศไทยให้ก้าวเดินและเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งบนเวทีโลก รัฐบาลไทยได้วางแผนแม่บท AI แห่งชาติที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในหลายมิติ รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจด้าน AI ให้กับประชาชนอย่างกว้างขวางและทั่วถึง การร่วมกันเปิดตัวโครงการ THAI Academy ครั้งนี้ สอดคล้องเป็นอย่างดีกับแผนงานของภาครัฐในการจับมือกับผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยโดยเร็วที่สุด
“ รัฐบาลทำงานร่วมกับไมโครซอฟท์เพื่อนำ AI มาใช้ช่วยสนับสนุนประชาชน ถือเป็นความท้าทายที่รัฐบาลต้องเร่งพัฒนาเพื่อความขีดความสามารถในการแข่งขัน 2565-2570 โดยมีกรรมการขับเคลื่อนแผนทางปัญญาประดิษฐ์ โดยจะบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อทำให้ประชาชนเข้าถึงและพัฒนาทักษะทางดิจิทัลอย่างทั่วถึง พร้อมไปกับการสร้างมาตรฐานจริยธรรมในการใช้AI และในเดือนมิถุนายนรัฐบาลจะจัดการประชุมนานาชาติด้าน AI กับยูเนสโก เพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำ AI ในภูมิภาค ”
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า I’mขอขอบคุณรัฐบาลไทย ที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาทักษะ AI ให้กับคนไทย ภายใต้โครงการ THAI Academy ไมโครซอฟท์ มุ่งมั่นทำงานประสานกับหลากหลายหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เปิดโอกาสการเรียนรู้ทักษะ AI ให้กับคนไทยได้อย่างกว้างขวาง ให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีเป้าหมายยกระดับทักษะคนไทยมากกว่า 1 ล้านคน ภายในปี 2568 นี้
"AI Skills Navigator" เป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่รวบรวมหลักสูตรด้าน AI จากไมโครซอฟท์และพันธมิตร รวมกว่า 200 หลักสูตร เพื่อตอบโจทย์การฝึกทักษะ ทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จาก AI ในหลากหลายสถานการณ์ นับตั้งแต่ผู้เริ่มต้นใช้งาน บุคคลทั่วไป คนทำงานเฉพาะทาง ไปจนถึงนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยมีหลักสูตรไฮไลท์สำหรับผู้เริ่มเรียนรู้ใน 3 ระดับ ได้แก่
• AI Basics – ปูพื้นฐานตั้งแต่ความเข้าใจในเทคโนโลยี AI ประวัติศาสตร์และที่มาเบื้องหลังนวัตกรรม และพื้นฐานในการเริ่มใช้งาน
• AI Skills for Everyone – หลักสูตรรวบรัดที่เจาะพื้นฐานการใช้งานเครื่องมือ AI บนแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ในสถานการณ์ประจำวันอย่างถูกต้อง แม่นยำ และได้ผลจริง
• Azure AI: Zero to Hero – เปิดประตูให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์และนักศึกษาก้าวสู่โลกของคลาวด์และ AI อย่างเต็มตัว กับพื้นฐานในการสรรสร้างเครื่องมือและโซลูชันพลังงาน AI เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
นายธนวัฒน์ กล่าวเสริมว่า “คน เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงประเทศ หากเรายังไม่เริ่มพัฒนาทักษะด้าน AI วันนี้ เราจะเสียโอกาสและถูกทิ้งห่างอย่างรวดเร็ว การพัฒนาทักษะด้าน AI ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างนวัตกรรมและความก้าวหน้าในทุกภาคส่วนของประเทศ การลงทุนในทักษะ AI วันนี้ จะเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตที่เต็มไปด้วยโอกาสและความท้าทาย ข้อมูลจาก LinkedIn ชี้ให้เห็นว่า 70% ของทักษะที่จำเป็นสำหรับตำแหน่งงานส่วนใหญ่ในอนาคตจะแตกต่างไปจากปัจจุบัน โดยมีตำแหน่งงานที่ต้องการทักษะการใช้งาน AI เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า”
ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเริ่มเรียนรู้ทักษะ AI ด้วยตนเองผ่าน AI Skills Navigator ได้แล้ววันนี้ที่ https://aiskillsnavigator.microsoft.com/th-th โดยไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากเนื้อหาทั้ง 200 หลักสูตรที่รวบรวมไว้ในที่เดียวแล้ว แพลตฟอร์มนี้ยังสามารถแนะนำหลักสูตรที่เหมาะสม ตรงตามเป้าหมายและความสนใจที่แตกต่างกันไปของผู้เรียนแต่ละคน
ประสานพลังหน่วยงานภาครัฐ อัปสกิล AI ให้ทั่วถึง
นอกเหนือจากแพลตฟอร์ม AI Skills Navigator แล้ว โครงการ THAI Academy ยังครอบคลุมความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในหลายมิติ โดยมีตัวอย่างโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
ขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐให้ใช้ประโยชน์จาก AI
• จับมือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบรายการ (กพร.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร. / DGA) เพื่อพัฒนาทักษะด้าน AI ให้กับข้าราชการไทยกว่า 100,000 คน พร้อมร่วมกับ สพร. ในการจัดกิจกรรม “GovAIHackathon” ที่เปิดให้บุคลากรภาครัฐจากทุกหน่วยงานมาร่วมแชร์แนวคิดการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย โดยกิจกรรมนี้เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2568
• จับมือกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เสริมทักษะ AI ให้แรงงานไทยและผู้ที่กำลังมองหางานทั่วประเทศ รวมกว่า 100,000 คน
• ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ฝึกอบรมทักษะเฉพาะทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับบุคลากรของ สกมช. และตัวแทนจากองค์กรที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศรวมกว่า 300 คน ควบคู่ไปกับการจัดอบรมทักษะด้าน AI และความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่นักเรียน-นักศึกษากว่า 10,000 คน
ปลดล็อกศักยภาพ AI เพื่อภาคการศึกษา
• ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาทักษะ AI แก่บุคลากรครู 4,500 คน โดยถ่ายทอดความรู้
ความเข้าใจต่อไปยังนักเรียนอีกกว่า 400,000 คนทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ ได้ร่วมกับ สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ แห่งชาติ (เนคเทค) บรรจุเนื้อหาจากหลักสูตรพื้นฐานด้าน AI ของไมโครซอฟท์ไว้ในหลักสูตร AI Literacy หรือความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AI ตามโครงการขับเคลื่อนการสอนปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในโรงเรียน ซึ่งมุ่งเป้าไปที่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
• ร่วมสร้างทักษะ AI ให้กับนักศึกษา ผ่านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นกลุ่มนักศึกษาในสายวิชาด้านเทคโนโลยี เพื่อปั้นนักพัฒนารุ่นใหม่ เสริมตลาดแรงงานสาย AI ในไทยด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถกว่า 50,000 คน
เติมพลังให้ผู้ประกอบการเติบโตแบบติดปีกด้วย AI
• ร่วมมือกับสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย(DCT) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)ตลาดหลักทรัพย์ ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการขับเคลื่อนการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยกว่า 20,000 คน
เสริมโอกาสการเรียนรู้และทำงานให้ทั่วถึงและเท่าเทียม
• ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝึกทักษะ AI ให้กับทีมงานผู้ดูแลศูนย์ ICT Learning Center 1,722 แห่งทั่วประเทศ เพื่อกระจายความรู้ต่อไปยังประชาชนอีกกว่า 250,000 คน
• และล่าสุดกับการเปิดตัวหลักสูตรทักษะ AI ผ่าน AI Skills Navigator พร้อมสนับสนุนให้แรงงานไทยที่อยู่นอกระบบการจ้างงาน เช่น ผู้ที่ไม่มีงานประจำ หรือคนทำงานฟรีแลนซ์ ได้เสริมทักษะ AI ด้วยตนเอง
*****
ข้อมูลโครงการ THAI Academy
โครงการ “THAI Academy” ขับเคลื่อนอนาคต AI ประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย กับไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ที่มุ่งเปิดโอกาสให้คนไทยทุกคน ในทุกสาขาอาชีพและทุกระดับทักษะ ได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะสำคัญใหม่ ๆ ในยุคที่สังคมโลกและเศรษฐกิจไทยต่างมีนวัตกรรม AI เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ผ่านทางการจัดกิจกรรม สรรสร้างคอนเทนต์มากมายร่วมกับพันธมิตร นำโดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และหน่วยงานจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมกว่า 35 องค์กร
โครงการ THAI Academy มุ่งสู้เป้าหมายยกระดับทักษะ AI ให้คนไทยกว่า 1 ล้านคน ภายในปี 2568 โดยมีโครงการย่อยและรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ ดังต่อไปนี้
ขับเคลื่อนหน่วยงานภาครัฐให้ใช้ประโยชน์จาก AI
• จับมือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบรายการ (กพร.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร. / DGA) เพื่อพัฒนาทักษะด้าน AI ให้กับข้าราชการไทยกว่า 100,000 คน พร้อมร่วมกับ สพร. ในการจัดกิจกรรม “GovAIHackathon” ที่เปิดให้บุคลากรภาครัฐจากทุกหน่วยงานมาร่วมแชร์แนวคิดการใช้ AI ให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย โดยกิจกรรมนี้เปิดรับสมัครจนถึงวันที่ 12 พฤษภาคม 2568
• จับมือกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน เสริมทักษะ AI ให้กับครูผู้ฝึกสอนในศูนย์ฝึกอบรมฝีมือแรงงานทุกจังหวัดทั่วประเทศ และข้าราชการในสังกัดของกรมฯ รวมกว่า 2,000 คน เพื่อกระจายความรู้และทักษะไปสู่แรงงานไทยและผู้ที่กำลังมองหางานทั่วประเทศ รวมกว่า 100,000 คน
• ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ฝึกอบรมทักษะเฉพาะทางด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้กับบุคลากรของ สกมช. และตัวแทนจากองค์กรที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศรวม 368 คน ควบคู่ไปกับการจัดอบรมทักษะด้าน AI และความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่นักเรียนนักศึกษากว่า 10,000 คน
ปลดล็อกศักยภาพ AI เพื่อภาคการศึกษา
• ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาทักษะ AI แก่บุคลากรครู 4,500 คน โดยถ่ายทอดความรู้
ความเข้าใจต่อไปยังนักเรียนอีกกว่า 400,000 คนทั่วประเทศ พร้อมกันนี้ ได้ร่วมกับ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) บรรจุเนื้อหาจากหลักสูตรพื้นฐานด้าน AI ของไมโครซอฟท์ไว้ในหลักสูตร AI Literacy หรือความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับ AI ตามโครงการขับเคลื่อนการสอนปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในโรงเรียน
ซึ่งมุ่งเป้าไปที่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
• ร่วมสร้างทักษะ AI ให้กับนักศึกษา ผ่านกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นกลุ่มนักศึกษาในสายวิชาด้านเทคโนโลยี เพื่อปั้นนักพัฒนารุ่นใหม่ เสริมตลาดแรงงานสาย AI ในไทยด้วยบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถกว่า 50,000 คน
• ร่วมกับ 20 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ อบรมทักษะ AI ให้กับคณาจารย์ในหลากหลายสาขาวิชา พร้อมนำเนื้อหาจากหลักสูตรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบจัดการเรียนรู้(Learning Management System) และสนับสนุนการพัฒนาระบบ micro-credentials ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเลือกศึกษาทักษะที่ตนเองสนใจ พร้อมรับใบรับรองทักษะความสามารถในด้านนั้น ๆ
เติมพลังให้ผู้ประกอบการเติบโตแบบติดปีกด้วย AI
• ร่วมมือกับสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย(DCT) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) ตลาดหลักทรัพย์ ไลฟ์เอ็กซ์เช้นจ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในการขับเคลื่อนการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยกว่า 20,000 คน รวมถึงการจัดงาน SMEs AI Skills Summit เพื่อแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการที่ผ่านการใช้งาน AI ในองค์กรมาแล้ว ไปสู่ผู้ประกอบการในกลุ่มอื่น ๆ
• จับมือกับสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) สนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในภาคการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาทักษะ AI เพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry) โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2567 กับโครงการนำร่องในพื้นที่ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีทั้งยังมีการขยายผลไปสู่กิจกรรม AI for Tourism Hackathon เพื่อค้นหาไอเดียใหม่ ๆ ในการยกระดับภาคการท่องเที่ยวด้วย AI
เสริมโอกาสการเรียนรู้และทำงานให้ทั่วถึงและเท่าเทียม
• ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาแรงงานสายเทคในด้าน AI โดยเฉพาะ เช่นนักพัฒนาโซลูชัน AI หรือวิศวกร AI ด้วยหลักสูตรที่มีเนื้อหาครบถ้วนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง
• ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (BDE) และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝึกทักษะ AI ให้กับทีมงานผู้ดูแลศูนย์ ICT Learning Center 1,722 แห่งทั่วประเทศ เพื่อกระจายความรู้ต่อไปยังประชาชนอีกกว่า 250,000 คน