ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการจมน้ำในแม่น้ำกับทะเลอันไหนอันตรายกว่ากัน ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยระบุแคปชันว่า... แม่น้ำกับทะเล คนมักกลัวจมทะเลมากกว่า เพราะทะเลกว้าง ฝั่งอยู่ไกล ฯลฯ
แต่แม่น้ำอันตรายหากพลาดพลั้ง เพราะน้ำแรง น้ำขุ่น มีสวะ/ผักตบมากมาย น้ำจืดยังตัวจมง่ายกว่าน้ำเค็ม (เกลือทำให้น้ำเค็มหนาแน่นมากกว่า)การระวังตัวดีสุดคือชูชีพ หากใส่อยู่ ยังไงก็ลอย และลอยในแม่น้ำแป๊บเดียวก็มีคนเจอหรือเข้าไปใกล้ตลิ่ง ไม่เหมือนในทะเลที่บางทีอาจลอยนานๆ จนกว่าจะมีความช่วยเหลือเมื่อใส่ชูชีพ ตกแม่น้ำมีโอกาสปลอดภัยสูง ขอเพียงคุมสติ อย่าตกใจ ว่ายน้ำไม่เป็นก็ไม่ต้องตกใจ เมื่อใส่เสื้อชูชีพแล้ว ไม่ต้องกลัวจมครับการว่ายน้ำท่าปรกติอาจยาก เพราะเสื้อชูชีพทั่วไปออกแบบให้พยุงให้หน้าพ้นน้ำ นอนหงาย ให้ใช้แขนแบบเวลาว่ายกรรเชียงเป็นหลัก ขาเหยียดออกไปเอาไว้เผื่อถีบสิ่งกีดขวางแขนสองข้างคอยกวาดน้ำประคองตัวและทิศทาง
วิธีเอาตัวรอดจากสถานการณ์จมน้ำ
- สวมเสื้อชูชีพ
- ลอยตัวท่านอนหงาย ขาแขนเหยียดตรงเงยหน้า ยกคาง ให้ปากหายใจได้
- มองหาสิ่งของที่เกาะได้ เพื่อช่วยพยุงตัว
- ตะโกนพร้อมโบกมือขึ้น-ลง ให้คนอื่นรู้ว่ากำลังประสบภัยหรือเป่านกหวีดที่ติดมากับเสื้อชูชีพ
- สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีสติพยายามช่วยตัวเองให้ลอยตามน้ำให้ได้ อย่าพยายามว่ายเข้าฝั่งอาจทำให้หมดแรง
รู้หรือไม่?เสื้อชูชีพ และเสื้อพยุงตัว ใช้ต่างกัน
- เสื้อชูชีพถูกออกแบบให้พลิกตัวผู้ประสบภัยให้หงายหน้าขึ้น
- เสื้อพยุงตัวเหมาะสำหรับกีฬาทางน้ำถูกออกแบบมาช่วยลอยน้ำมากกว่าช่วยชีวิต