14 ก.พ.65 - วันนี้เมื่อ 29 ปีที่แล้ว เกิดโศกนาฏกรรมในวันแห่งความรัก เมื่อป่าเมืองไทยต้องพบกับเรื่องสะเทือนใจ“พญาแร้งฝูงสุดท้าย” ถูกวางยาตายยกฝูง สูญสิ้นแร้งในป่าของไทยนับแต่นั้นมา
14 กุมภาพันธ์ 2535 เป็นอีกวันที่เป็นบทเรียนของแวดวงการอนุรักษ์สัตว์ป่าของไทย เมื่อแร้งฝูงสุดท้าย ถูกพรากชีวิตทั้งหมด หลังโดนพรานป่าวางยาในซากเก้ง ที่หวังล่อเสือให้มาติดกับดัก แต่ลืมไปว่าผู้ล่าไม่ได้มีเพียงแค่เสือ ยังมีสัตว์กินซากอย่างพญาแร้ง แวะลงมากินซากสัตว์ที่ถูกวางยาไว้นี้ด้วย
•
ทำให้แร้งทั้งฝูง ที่เชื่อว่าเป็นฝูงสุดท้ายในป่าธรรมชาติของไทย จบชีวิตลงจากความละโมบของมนุษย์
•
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร บอกไว้ว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นป่าห้วยขาแข้งต้องสูญเสียพญาแร้ง สมาชิกสำคัญของระบบนิเวศป่า ตายจากพิษของฟูราดาน ซากพญาแร้ง กระจัดกระจายไปทั่วบริเวณใกล้จุดที่ซากเก้งกระจายอยู่ เป็นโศกนาฏกรรมที่ปิดฉากตำนานนกเทศบาลประจำป่าห้วยขาแข้งทันที
•
นั่นทำให้ในวันแห่งความรักครั้ง ไม่หอมหวานสำหรับนักอนุรักษ์ ที่ต้องสูญเสียสัตว์ป่าหนึ่งในส่วนที่สำคัญในการรักษาระบบนิเวศ และอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ไปได้ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น นั่นทำให้ความหวังในการฟื้นฟูประชากรแร้งขึ้นมาใหม่ มีความเป็นไปได้อีกครั้ง
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร บอกอีกว่า ขณะนี้ 4 องค์กรหลัก ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ได้พยายามที่จะฟื้นฟูและขยายพันธุ์พญาแร้งคืนสู่ผืนป่าห้วยขาแข้ง ภายใต้โครงการ “การฟื้นฟูประชากรพญาแร้งในถิ่นอาศัยของประเทศไทย”
โดยกำลังพยายามที่จะนำพญาแร้ง กลับมาคืนสู่ผืนป่าอีกครั้งอีก โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 คณะทำงานฯ จะทำการย้ายแร้งจากสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ขึ้นไปยังซับฟ้าผ่า ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งจ.อุทัยธานี โดยหวังว่าแร้งทั้งสองจับคู่กันอีกครั้ง เพื่อเพิ่มประชากรแร้งและให้พวกเขาได้กลับมาโบยบินในป่าห้วยขาแข้งในอนาคต
•
หากถึงขั้นตอนการผสมพันธุ์ จะย้ายทั้งคู่เข้าไปที่กรงขนาดใหญ่ที่หน่วยซับฟ้าผ่า เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับสภาพอากาศ สภาพพื้นที่ เพราะหวังว่าในอนาคตทั้งคู่จะผลิตลูกออกมาได้ จากข้อมูลพญาแร้งจะวางไข่ครั้งละ 1 ใบ และมีวงรอบการผสมพันธุ์ทุก 2 ปี คือวางไข่ปีเว้นปี
•
ตอนนั้นเราก็จะดำเนินการเลี้ยงลูกของพวกมันให้โตข้ามปี แล้วก็ปล่อยสู่ธรรมชาติ ซึ่งมิ่งและป๊อกจะทำหน้าที่เป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นบรรพบุรุษของประชากรพญาแร้งในป่าห้วยขาแข้งต่อไป
•
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เชิญชวนร่วมสนับสนุนงานอนุรักษ์และวิจัยพญาแร้งได้ที่: โครงการพญาแร้งคืนถิ่น ธนาคารกรุงไทย สาขาเทสโก้โลตัส รัตนาธิเบศร์ บัญชีเลขที่ 679-6-72119-5
•
#มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
#พญาแร้ง
#พญาแร้งคืนถิ่น
#ห้วยขาแข้ง
#ป่ามรดกโลก
ขอบคุณภาพ : Phongsakorn Pattaphong
ขอบคุณภาพและข้อมูล : มูลนิธิสืบนาคะเสถียร