X
แบบนี้ก็มีด้วย! โรคกลัวหมดวันอาทิตย์

แบบนี้ก็มีด้วย! โรคกลัวหมดวันอาทิตย์

14 พ.ย. 2564
1120 views
ขนาดตัวอักษร

14 ..64 - โรคแบบนี้ก็มีด้วย Sunday Night Blues หรือโรคหลัวหมดวันอาทิตย์ โรคนี้คืออะไร ทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้ แล้วเกี่ยวอะไรกับวันอาทิตย์


เคยเป็นหรือไม่ พอถึงวันอาทิตย์ หรือกำลังจะหมดวันหยุดในสัปดาห์นั่น มักมีอารมณ์เศร้า หรือกังวลว่าวันอาทิตย์นั่นกำลังจะหมดไป และใกล้ถึงช่วงการทำงานของสันจันทร์อีกครั้ง บางคนกังวลหนักถึงขั้นนอนไม่หลับ หวุดหงิด และไม่ร่าเริงเหมือนเคย หากใครมีอาการแบบนี้คุณอาจอยู่ในอาการของโรค Sunday Night Blues หรือโรคกลัวหมดวันอาทิตย์ ก็ได้

พญ.ญาณิน ทิพากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย บอกว่า Sunday Night Blues เป็นความรู้สึกเศร้าหรือกังวลว่าช่วงเวลาของวันอาทิตย์กำลังจะหมดไป และใกล้เข้าสู่วันของการทำงานในเช้าวันจันทร์อีกครั้ง 

เป็นภาวะของความกังวลล่วงหน้าเกี่ยวกับภาระงานและความเครียดที่จะต้องเผชิญเมื่อต้องกลับสู่การทำงานในวันธรรมดา

ข้อสังเกตสำหรับใครที่มีอาการ Sunday Night Blues สามารถสังเกตได้ ดังนี้

1.นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก เพราะต้องการใช้เวลาวันอาทิตย์ให้มากที่สุด

2.หงุดหงิดง่าย

3.รู้สึกกังวลเมื่อนึกถึงวันจันทร์

4.เศร้า หรือไม่สดใสร่าเริง

5.รู้สึกกระสับกระส่าย

ซึ่งอาการเหล่านี้ ไม่ต้องกังวลใจไป มีวิธีรับมือกับอารมณ์หดหู่ในคืนวันอาทิตย์ ด้วยเช่นกันเพียงแค่

1.วางแผนเพื่อรับมือกับสิ่งที่กังวล เช่น จัดการงานค้างให้เสร็จภายในเย็นวันศุกร์เพื่อให้สามารถผ่อนคลายเต็มที่ในวันเสาร์และอาทิตย์

2.จดรายการของงานสำคัญที่จะต้องทำในสัปดาห์ที่จะถึง และอาจวางแผนกิจกรรมผ่อนคลายระหว่างสัปดาห์

3:ลดการแจ้งเตือนเรื่องงานในวันหยุดเพื่อการพักผ่อนและใช้เวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่

4.กำหนดงานอดิเรกในวันหยุด เช่น ชมภาพยนตร์ จัดตกแต่งห้องนอน เดินทางพักผ่อนต่างจังหวัด เพื่อคลายความเครียดและความเหนื่อยล้าที่สะสมตลอดสัปดาห์

5.สนทนาแลกเปลี่ยนความรู้สึกกับเพื่อนร่วมงานที่สนิท เพื่อผ่อนคลายความกังวลใจและช่วยให้มีความสุขกับการทำงานมากขึ้น

พญ.ญาณิน ยังได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมอีกว่า ความกังวลหรือเศร้าเล็กน้อยในเย็นวันอาทิตย์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หากรุนแรงอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงปัญหาในการทำงานหรือความเครียดสะสมได้ 

หากมีความรู้สึกซึมเศร้า หดหู่ หรือตึงเครียดตลอดเวลา ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อคลายความกังวลและรับการรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งจะช่วยให้กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติ และควรดูแลสุขภาพกายให้แข็งแรงควบคู่ไปกับสุขภาพจิตเพื่อพร้อมรับมือกับวันทำงาน


ข้อมูล  วันที่ 26 กันยายน 2564

ที่มา : พญ.ญาณิน ทิพากร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)