จากกรณีที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ลุยแก้กฎหมายอุ้มบุญ เพื่อเปิดช่องทางให้ชาวต่างชาติเข้ามาอุ้มบุญในประเทศไทย และให้หญิงไทยสามารถรับจ้างตั้งครรภ์แทนได้นั้น เรามาดูกันดีกว่าว่าปัจจุบันนี้ กฎหมายอุ้มบุญในไทย มีเงื่อนไขอะไรบ้าง?
การอุ้มบุญ : การตั้งครรภ์โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ มีข้อตกลงเป็นหนังสือก่อนตั้งครรภ์ว่าให้ทารกในครรภ์เป็นบุตรของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายนั้น
เงื่อนไข
- สามี ภรรยา สัญชาติไทย จดทะเบียนสมรส
- ต้องการจะมีลูก แพทย์ออกใบรับรองมีลูกยาก
- สามี หรือ ภรรยา คนใดคนหนึ่ง เป็นชาวต่างชาติ จดทะเบียนสมรส ไม่น้อยกว่า 3 ปี
เกณฑ์การตั้งครรภ์แทน
- ไม่เป็น พ่อแม่/ผู้สืบสันดานของสามีหรือภรรยาที่จะทำอุ้มบุญ
- เป็นญาติ สืบสายโลหิต ที่ชอบตัวกฎหมาย
- เป็นหญิงตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
- เคยมีบุตรก่อนเท่านั้นและได้รับความยินยอมจากสามี
ห้าม
- รับตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้า
- สามีภรรยาที่อุ้มบุญปฏิเสธที่จะรับเป็นบุตร
- เป็นคนกลาง นายหน้าเรียกรับทรัพย์หรือทำการชี้ช่องการรับตั้งครรภ์แทน
- โฆษณาว่ามีหญิงรับตั้งครรภ์
ข้อควรรู้การอุ้มบุญ
- สามี ภรรยา ที่ทำการอุ้มบุญ ต้องแจ้งเกิดตามกฎหมาย
- เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามีภรรยาที่ทำการอุ้มบุญ
- สามี ภรรยา เสียชีวิตก่อนเด็กเกิดให้หญิงตั้งครรภ์แทนผู้ปกครอง
- เด็กมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยครอบครัวและมรดก
ที่มา : พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558