หยอก ๆ ด้วยภาพของ 2 น้องหมา ที่... หมอยง (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ) โพสต์เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เพื่อแนะนำไปสู่ข้อมูล เกี่ยวกับโรคร้ายแรง ซึ่งมีต้นตอแอบซ่อนอยู่ในสัตว์ นั่นคือ ไวรัสเห็บ โรคนี้น่ากลัวมาก... เป็นโรคที่ยังไม่มีชื่อไทย อย่างเป็นทางการ แต่วงการแพทย์ เรียกตัวย่อกันว่า โรค SFTS ข้อมูลทางวิชาการ ระบุอีกว่า อัตราการตายจากโรคนี้ จะสูงมากในกรณีที่ผู้ป่วย ได้รับการวินิจฉัยโรคผิดพลาด ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ SFTS ที่มีอาการรุนแรง มีอัตราการตายสูงถึง ร้อยละ 12 - 30 และไม่มียาเฉพาะใด ๆ ส่วนใหญ่รักษาตามอาการป่วย
โดย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan เมื่อวันที่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา เปิดเผยว่า "สองตัวการ ที่เปิดเอกสารลับ ถูกจับมาสอบสวน พิจารณาความผิด สีหน้าน่าสงสารไหม" เป็นข้อความ หยอก ๆ 2 น้องสุนัข เพื่อนำไปสู่การเตือน ให้ระมัดระวังภัยจากโรคร้าย SFTS (Severe fever with thrombocytopenia syndrome) หรือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส มาจากเห็บเป็นพาหะ ซึ่ง หมอยง ระบุว่า ไข้สูง และมีเกล็ดเลือดต่ำ อาการคล้ายไข้เลือดออก แต่ไม่ใช่ ไข้เลือดออก
Severe Fever with Thrombocytopenic Syndrome อาการไข้สูง แล้วมีเกล็ดเลือดต่ำ ส่วนใหญ่จะให้การวินิจฉัยว่าเป็น ไข้เลือดออก หรือกลุ่มโรคที่นำโดยแมลง แต่ความจริง โรคไข้สูง และมีเกล็ดเลือดต่ำ ที่รายงานจากศูนย์ของเรา เป็นศูนย์แรก ที่รายงานในรายละเอียดทั้งหมด รวมทั้งถอดรหัสพันธุกรรม ของไวรัสที่ก่อโรคนี้
ในผู้ป่วย 3 ราย ที่อยู่ในกรุงเทพฯ และ ภาคตะวันออกของประเทศไทย และยังพบผู้ป่วย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก และเชื่อว่า พบได้ทั่วไปในประเทศไทย
โรคนี้ชื่อว่า Severe Fever with Thrombocytopenic Syndrome โรคนี้พบมากใน ประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น มีการกล่าวว่า นำโดยเห็บ โดยเฉพาะเห็บของกวาง หรือ สัตว์ในปศุสัตว์
สำหรับประเทศไทย ทีมเรารายงานไว้อย่างละเอียด และได้ทำการศึกษาในวงกว้าง พบได้ในหลายภาคของประเทศไทย
โรคเกิดจากไวรัส ที่มีตัวนำเป็นเห็บ หมัด หรือ ไรอ่อน ของหมา แมว และเชื่อว่า น่าจะอยู่ใน สัตว์ตระกูลฟันแทะด้วย
อาการที่พบ จะมีไข้สูงมาก และมีเกล็ดเลือดต่ำ ลักษณะอาการคล้าย ไข้เลือดออกมาก แต่ไข้ อาจจะยาวนาน เป็นสัปดาห์ได้ ส่วนใหญ่ จะไม่ได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่มีวิธีการตรวจอยู่ทั่วไป
ในกรณีที่สงสัย ทางศูนย์เรายินดี รับคำปรึกษา และตรวจให้ตามสิทธิ์ และค่าใช้จ่ายของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
นอกจากนี้ Backbone MCOT มีข้อมูลวิชาการทางแพทย์ นักวิจัยฯ เกี่ยวกับโรค SFTS หรือขอเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า โรคไวรัสเห็บ มาแนะนำให้ลองไปดูกันได้เบื้องต้น ซึ่งมีทางบทความฯ ของนักวิชาการไทย และสถาบันชื่อดังในต่างประเทศ (คลิกอ่านได้ จากลิงก์ด้านล่างนี้)
+ Severe fever with thrombocytopenia syndrome โดย พญ.พักต์เพ็ญ สิริคุตต์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (บทความฯ เว็บไซต์ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย)
ข้อมูลเบื้องต้น: ในปลายเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยหญิง ชาวญี่ปุ่นอายุ 51 ปี เสียชีวิตจากการติดเชื้อ ที่มีเห็บแมวเป็นพาหะ สาเหตุของการเสียชีวิต ในผู้ป่วยรายนี้ เกิดจากโรค severe fever with thrombocytopenia syndrome (SFTS)
https://www.pidst.or.th/A581.html
+ รู้จักโรค SFTS หรือไวรัสจากเห็บเป็นพาหะ หลังญี่ปุ่นเจอ... ติดต่อจาก **คนสู่คน**
(รายงานโดยเว็บไซต์ : เจาะลึกระบบสุขภาพ Hfocus เมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2567)
ข้อมูลเบื้องต้น: ตามที่ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวญี่ปุ่น รายงานว่า สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่น (NIID) พบการติดเชื้อไวรัส ที่ติดต่อโดยเห็บ จากผู้ป่วยไปยังแพทย์ ที่เข้ารับการรักษา โดยผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาต่อมา และได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค SFTS ซึ่งถือเป็นการติดเชื้อดังกล่าว จากคนสู่คนครั้งแรก
https://www.hfocus.org/content/2024/04/30168
+ โรคภาวะเกล็ดเลือดต่ำ หรือ โรคเห็บ “Severe fever with thrombocytopenia syndrome (SFTS)” เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน
(รายงานโดยเว็บไซต์ : กรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2567)
ข้อมูลเบื้องต้น: เมื่อคนถูกเห็บ ที่มีเชื้อไวรัสกัด ทำให้เกิดกลุ่มอาการไข้สูง และเกล็ดเลือดต่ำ ปวดศีรษะ ภายใน 7-14 วัน ส่วนใหญ่มีอาการทาง ระบบทางเดินอาหาร บางรายอาจ ชัก ซึม หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออก ตับอักเสบ และการทำงานของ อวัยวะภายในล้มเหลว ก่อความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่ได้รับการรักษาได้ทันท่วงที
https://ddc.moph.go.th/odpc5/news.php?news=42160
+ โรคอุบัติใหม่ ที่นำโดยเห็บ วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพสัตว์ และเทคโนโลยี ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) หน้า 40-47
https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php/BKN_VETTECH/search_detail/result/373213
+ Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome Virus Infection, Thailand, 2019–2020
Patthaya Rattanakomol, Sarawut Khongwichit, Piyada Linsuwanon, Keun Hwa Lee, Sompong Vongpunsawad, and Yong Poovorawan
https://wwwnc.cdc.gov/eid/article/28/12/22-1183_article
+ Clinical Update of Severe Fever with Thrombocytopenia Syndrome
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8310018/
#BackboneMCOT
อ้างอิง และขอบคุณข้อมูล จาก :
เฟซบุ๊ก : Yong Poovorawan (ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ)
https://www.facebook.com/yong.poovorawan
เว็บไซต์ : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
https://ddc.moph.go.th
เว็บไซต์ : เจาะลึกระบบสุขภาพ Hfocus
https://www.hfocus.org
เว็บไซต์ : National Library of Medicine
https://www.ncbi.nlm.nih.gov
6 เม.ย 2567
1580 views
ขนาดตัวอักษร