เพราะ Content ถือเป็น Soft Power ในขณะเดียวกัน Content ก็ยังเป็น “สื่อ” (ช่องทางการสื่อสาร) ของ Soft Power ด้วย
การจะทำให้ Soft Power สำเร็จ จึงควรให้ความสำคัญกับบทที่ดี ต้องสนุก ต้องบันเทิง ต้องมี Genre (แนวหนัง) บางอย่างที่คนชอบ หากเริ่มต้นด้วยการเอา Soft Power เป็นหลักมากกว่าความบันเทิง อาจจะทำให้ Content หรือ บท ไม่สนุก พอไม่สนุก Soft Power ก็จะไม่สำเร็จ
เช่น บุพเพสันนิวาส ทำให้คนอยากทานเมนูต่าง ๆ ที่นางเอกทำ ทั้งที่เป็นเมนูที่ตัวเองก็เคยทานมาแล้ว อยากไปเที่ยวอยุธยาตามฉากในละคร ทั้งที่เคยไปมาหลายครั้ง แต่เพราะละครมีการนำเสนอบทในมิติที่สนุกต่างออกไป การได้ทานและเที่ยวตามบทละครและตัวละคร จึงให้ความรู้สึกที่ไม่เหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม การทำ Soft Power ผ่านหนัง, ซีรีส์, และ Content ควรมีการวางแผนตั้งแต่ pre-production ไปจนถึง post-production เพราะหลายครั้งที่หนังได้สร้าง Soft Power ที่เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น “แปลรักฉันด้วยใจเธอ” และ “ปายอินเลิฟ” หากมีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนจบ เราจะมีข้อมูลเก็บไว้เพื่อการสร้างสรรค์ Content ที่เป็น Soft Power ได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
ส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ “พี่แจว ดร. ชนะใจ ต้นไทรทอง” โดย TAT REVIEW
•
อยากให้ทุกคนได้มาฟังแบบสด ๆ เต็มอิ่มกับ
ดร. ชนะใจ ต้นไทรทอง ผู้ร่วมก่อตั้ง และ ผู้อำนวยการผลิตภาพยนตร์ บริษัท จอยลัคคลับ ฟิล์มเฮาส์ จำกัด
1 ใน Speakers ของงานเสวนา “ภาพยนตร์ไทยในมิติ SOFT POWER เพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
งานวันที่ 25 มิถุนายน 2567 เวลา 13.00-15.00น. ที่ NIDA
จัดโดย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจพอเพียง และ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์