วาตภัยคืออะไร
วาตภัยหมายถึง ภัยที่เกิดขึ้นจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้างสำหรับในประเทศไทยวาตภัยหรือพายุลมแรงมีสาเหตุมาจากปรากฎการณ์ทาง ธรรรมชาติ คือ
- 1. พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น
- 2. พายุฤดูร้อน ส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดถี่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก จะมีการเกิดน้อยครั้งกว่า สาหรับ ภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนักโดยพายุฤดูร้อนจะเกิดใน ช่วงที่มีลักษณะอากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน แล้วมีกระแสอากาศเย็นจากความกดอากาศสูงในประเทศจีนพัดมาปะทะกัน ทำให้เกิดฝนฟ้าคะนองมีพายุลมแรงและอาจมีลูกเห็บตกได้จะทำความเสียหายในบริเวณที่ไม่กว้าง นัก ประมาณ 20-30 ตารางกิโลเมตร
- 3. ลมงวง (เทอร์นาโด) เป็นพายุหมุนรุนแรงขนาดเล็กที่เกิดจากการหมุนเวียน ของลมภายใต้เมฆ ก่อตัวในทางตั้งหรือเมฆพายุฝนฟ้าคะนอง (เมฆคิวมูโลนิมบัส) ที่มีฐานเมฆต่า กระแสลมวนที่มี ความเร็วลมสูงนี้จะ ทำให้กระแสอากาศเป็นลำพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า หรือย้อยลงมาจากฐานเมฆดูคล้าย กับงวงหรือปล่องยื่นลงมา ถ้าถึงพื้นดินก็จะทำความเสียหายแก่บ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งปลูกสร้าง ได้ สำหรับในประเทศไทยมักจะเกิดกระแสลมวน ไกล้พื้นดินเป็นส่วนใหญ่ไม่ต่อเนื่องขึ้นไปจนถึงใต้ พื้นฐานเมฆ และจะเกิดขึ้นนาน ๆ ครั้ง โดยจะเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ และมีช่วงระยะเวลาสั้น ๆ จึง ทาให้เกิดความเสียหายได้ในบางพื้นที่
วาตภัยครั้งสำคัญในประเทศไทยเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อไร
- 1. วาตภัยจากพายุโซนร้อน “แฮเรียต” ที่แหลมตะลุมพุก อาเภอปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราชเมื่อวันที่25ตุลาคม2505มีผู้เสียชีวิต870คนสูญหาย160คนบาดเจ็บ 422 คน ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัย 16,170 คน ทรัพย์สินสูญเสียราว 960 ล้านบาท
- 2. วาตภัยจากพายุไต้ฝุ่น “เกย์” ที่พัดเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ความเร็วของลมวัดได้ 120 กม./ชม. ประชาชนเสียชีวิต 602 คน บาดเจ็บ 5,495 คน บ้านเรือนเสียหาย 61,258 หลัง ทรัพย์สินสูญเสียราว11,739,595,265 บาท
- 3. วาตภัยจากพายุไต้ฝุ่นลินดา ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน ถึง 4 พฤศจิกายน 2540 ทำให้เกิด ความเสียหายจากวาตภัย อุทกภัย และคลื่นซัดฝั่งในพื้นที่ 11 จังหวัดของภาคใต้และภาค ตะวันออกเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2532
การเตรียมการป้องกันเมื่อเกิดพายุ
- 1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรม อุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th สายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182
- 2.ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติเตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
- 3. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าเพื่อติดตามข่าวสาร
- 4. ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัย ให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
- 5. ติดตั้งสายล่อฟ้าสาหรับอาคารสูงๆ
- 6. ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียม ป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
- 7. ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
- 8. ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง
- 9. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ