ธนาวัฒน์ มาลาบุษผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง Priceza กล่าวในงาน Thailand E-commerce Trend 2024 ว่า คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ จึงน่าจะทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ช ยังคงอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยน่าจะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 16% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ 10% เนื่องจากยังคงเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคใช้ในการซื้อขายสินค้าขณะที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ยังคงมีการแข่งขันสูงโดยคาดว่าภายในครึ่งปีแรกของปีนี้จะมีผู้ประกอบการ ecommerce “Temu” อันดับ 4 ของประเทศจีนเข้ามาลงทุนจึงน่าจะทำให้การแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นและตลาดน่าจะเติบโต ไปในทิศทางที่ดี
“ ปีนี้การแข่งขั้นในตลาดน่าจะแข่งกันสูงจากแพลตฟอร์มอย่าง Tiktok และ Shopee ที่ดึงความสนใจของผู้บริโภคได้ การแข่งขันราคาน่าสนใจ และยังมีแพลตฟอร์มอันดับ 4 จากจีนเข้ามา สินค้าจีนน่าจะเข้ามา ”
ด้านตลาดค้าปลีกยังคงเติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะช่องทาง non store จากการบริโภคของภาคเอกชนที่ยังขยายตัวรวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐและการเติบโตของช่องทาง ecommerce จึงคาดว่าจะมีสัดส่วนอยู่ประมาณ 22% ของตลาดค้าปลีกในปี 2024 ภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกจึงมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะกลางคาดว่าตลาดยังคงเติบโตต่อเนื่องต่อเนื่องจากปัจจัยภายในประเทศเช่นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำและปัจจัยจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศมากขึ้น
“ช่องทาง non store จะยังคงเติบโตจากการที่ผู้ประกอบการปรับตัวเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคทำให้คาดว่าสัดส่วนของยอดขายจากอีคอมเมิร์ซในตลาดค้าปลีกจะอยู่ในราว 22% ในปี 2024 ความท้าทายของผู้ประกอบการค้าปลีกในปีนี้ยังอยู่ที่ราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูงทำให้ฉุดรั้งกำลังของผู้บริโภคและความไม่แน่นอนของนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ”
สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปขณะที่ผู้ประกอบการหันมาทำช่องทาง Omnichannel และ Social commerce จะเติบโตมากขึ้นในระยะต่อไป มูลค่าของตลาดอีคอมเมิร์ซเติบโตต่อเนื่องถึงแม้ว่าการเติบโตอาจจะไม่แรงเท่ากับช่วงโควิดโดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่ผู้บริโภคเน้นความสะดวกสบายในขณะที่ร้านค้ามีตัวเลือกให้ลูกค้าในการซื้อทั้งหน้าร้านและช่องทางออนไลน์
สำหรับช่องทาง Merketplace มีส่วนแบ่งตลาดลดลงจากที่เคยเป็นช่องทางที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงสุดอย่างไรก็ดีเนื่องจากเจ้าของสินค้าหลายชนิดตัดสินใจเข้ามายังตลาดออนไลน์ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของกลุ่มอื่นเพิ่มสูงขึ้นส่วนโซเชียลคอมเมอร์ซจะเข้ามามีบทบาทสำคัญเนื่องจากเป็นการผสมผสานระหว่าง E-marketplace กับ Social media ทำให้การเข้าถึงผู้บริโภคทำได้ง่ายขึ้น
สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคนักช็อปชาวไทยให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านราคามากที่สุดโดยหาร้านค้าจัดส่งฟรีจะมีมีแนวโน้มซื้อสินค้ามากขึ้นในขณะที่บัตรเครดิตเป็นวิธีการที่คนนิยมใช้ในการชำระเงินซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ที่ 47% รองลงมาคือการโอนเงินและ QR Code ที่ 23% และการชำระเงินปลายทางที่ 21%
นักช็อปวัยทำงานนิยมใช้บัตรเครดิตในการชำระเงินเป็นหลักขณะที่ Gen Z จะใช้การโอนเงินและ cod กลุ่มผู้สูงวัยใช้บัตรเครดิตและ cod เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้ผู้ค้าสามารถเลือกทำโปรโมชันและสิทธิพิเศษกับบัตรเครดิตหากมีกลุ่มผู้ค้าวัยทำงาน