14 ก.พ.68 - กองทัพอากาศ พร้อมด้วยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด เตรียมจัดงานครบรอบ 88 ปี กองทัพอากาศ "อธิบไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง" โชว์บินผาดแผลง Intemational Arshow
กองทัพอากาศ พร้อมด้วยบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด เตรียมจัดกิจกรรมครบรอบ 88 ปี กองทัพอากาศ โดยมีพลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วยพลอากาศเอก เสกสรร คันธา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ในฐานะประธานคณะกรรมการ จัดงานครบรอบ 88 ปี กองทัพอากาศ และ พลอากาศเอก พิบูลย์ วรวรรณปรีชา กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด ณ พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศและการบินแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติประวัติติที่แสดงถึงความภาคภูมิใจ ในเกียรติภูมิของกองทัพอากาศครบรอบ 88 ปี
และแสดงถึงขีดความสามามารถของกองทัพอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจด้านควานความมันคง การสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การใช้ขีดความสามารถในทุกด้านเพื่อช่วยเหลือประชาชนตลอดจนแสดงถึงแผนการพัฒนากองทัพอากาศในอนาคต รวมถึงแสดงถึงความพร้อมของกองทัพอากาศ ในด้านการส่งเสริมภาคอตสาหกรรมการบิน และภาคอตสาหกรรมป้องกันประเทศ นำไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล เพื่อส่งเสริมและกระชับความร่วมมือภายในประเทศ และเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมือด้านความมันคง ระหว่างกองทัพอากาศกับกองทัพอากาศมิตรปรประเทศ
กองทัพอากาศกำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาสู่การเป็นกองทัพอากาศ ที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพ
UNBEATABLE AIR FORCE ซึ่งถูกขับเคลื่อนผ่านเกียรติยศและความภาคภูมิใจของกำลังพลกองทัพอากาศมาตลอดระยะเวลา 88 ปี ซึ่งเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นและความเสียสละเพื่อรักษาไว้ ซึ่งอธิบไดยของชาติ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การจัดงานครบรอบ 88 ปี กองทัพอากาศ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "AIR SOVEREIGNTY THROUGH
UNBEATABLE COLLABORATION" หรือ "อธิบไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง" ซึ่งสะท้อนถึงบทบาทสำคัญของกองทัพอากาศในการปกป้องน่านฟ้า รักษาความมันคงของประเทศและการช่วยเหลือประชาชน รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในประเทศ และชาติพันธมิตร โดยกองทัพอากาศได้ออกแบบตราสัญลักษณ์ "งานครบรอบ 88 ปี กองทัพอากาศ " เพื่อสื่อความหมายที่สำคัญ ดังนี้
- ข้อความภาษาอังกฤษ "AIR SOVEREIGNTY THROUGH UNBEATABLE COLLABORATION" หมายถึง "อธิปไตยเหนือน่านฟ้า ผ่านความร่วมมืออันแข็งแกร่ง"
- ภาพเลข 88 หมายถึง ความยั่งยืนเจริญรุ่งเรืองของกองทัพอากาศ
- ภาพเครื่องบินภายในเลข 88 สื่อถึงการพัฒนากำลังทางอากาศของกองทัพอากาศที่เริ่มต้นจากเครื่องบินนิเออปอรต์ สู่เครื่องบิน Gripen ที่มีความล้ำสมัย
- ภาพเครื่องบินด้านข้างทั้ง 2 ด้าน สื่อถึงตัวแทนของเครื่องบินของกองทัพอากาศมิตรประเทศ ที่เข้าร่วมแสดงการบิน
- ด้านล่างเป็นสัญลักษณ์ธงชาติของแต่ละประเทศที่ให้เกียรตินำเครื่องบินรบและระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลอง ร่วมแสดงในงาน แสดงถึงการครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูต ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและจีน ครบรอบ 50 ปี, ความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและอินเดีย ครบรอบ 78 ปี, ความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและสหรัฐอเมริกา ครบรอบ 192 ปี, ความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและสิงคโปร์ ครบรอบ 60 ปี รวมทั้งความสัมธ์ทางการทูตไทยและสวีเดน ครบรอบ 157 ปี
สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การแสดงการบินภาคอากาศ การแสดงอากาศยานภาคพื้น งานเสวนาทางวิชาการและการจัดนิทรรศการ นอกจากการแสดงบินภาคอากาศโดยอากาศยานของกองทัพอากาศแล้ว นับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดงานในรูปแบบ Intemational Arshow ซึ่งได้รับเกียรติรติจากทีมบินผาดแผลงระดับโลก ได้แก่ ฝูงบิน August Fist First
จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐประชาชนจีน ฝูงบิน Suryakiran จากกองทัพอากาศสาธารณรัฐอินเดีย และการแสดงการบินของ F-35 Derno Team จากกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการจัดแสดงอากาศยานและระบบเครื่องช่วยฝึกบินจำลองหรือ Simulator จากกองทัพอากาศและกองทัพอากาศมิตรประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรสวีเดน และสหรัฐอเมริกา รวมจำนวนอากาศยานกว่า 28 แบบรวม 29 เครื่อง
นอกจากนี้ ยังมีการจัดการเสวนาทางวิชาการด้านปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพ เทคโนโลยีทางอวกาศและความร่วมมือด้านงานวิจัย นวัตกรรม และภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งสะท้อนถึงความร่วมมืออันแข็งแข็งแกร่งระหว่างกองทัพอากาศไทยและพันธมิตร ตลอดจนการแสดงนิทรรศการประวัติศาสตร์และการพัฒนาของกองทัพอากาศเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมการบินและการป้องกันประเทศได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแนวทางพัฒนาขีดความสามารถ
ด้านอากาศยานและเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมการบินและของประเทศไทศไทย
โดยในครั้งนี้ บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด (TAI) เป็นผู้สนับสนุนหลักให้กับกองทัพอากาศ เป็นหน่วยงานที่มีเป้าหมายในการสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศ รวมทั้ง บริษัทชั้นนำจากต่างประเทศ เพื่อสร้างงานให้เกิดขึ้นในประเทศ ล่าสุด TAI ได้นำการวิจัยอากาศยานไร้คนขับของโรงเรียนนายเรืออากาศนามินทรกษ์ติยาธิราช มาสู่สายการผลิตเพื่อส่งมอบให้กับกองทัพอากาศใช้ในการปฏิบัติภารกิจลาดตระเวน ในอนาคต TAI ร่วมกับศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพอากาศ หรือ ศวอ.ทอ.ภายได้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในประเทศ รวมทั้งต่างประเทศ ในการนำงางานวิจัย ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศสู่สายการผลิต
โดยกำหนดการจัดงาน ระหว่าง 7 - 8 มีนาคม 2568 ณ กองบิน 6 ตอนเมือง ซึ่งผู้ที่สนใจร่วมงานสามารถลงทะเบียนผ่าน Application ได้ทั้ง 2 วัน โดยสแกน OR Code เพื่อกรอกข้อมูลเพื่อยืนยันตัวตนสำหรับการเข้าพื้นที่การจัดงานตามมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยใน Application จะมีข้อมูลกำหนดการ แผนที่การจัดงาน และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง มี LINE OA สำหรับการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ทั้งนี้ กองทัพอากาศมีความมุ่งหวังว่า การจัดงานครั้งนี้จะเป็นเวทีแสดงให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมและความมุ่งมั่นพัฒนากองทัพอากาศ การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงและภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตลอดจนความร่วมมือในระดับสากลกับมิตรประเทศ และเชื่อมั่นว่าจะสามารถจุดประกายให้ภาคสังคมเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพด้านการบินและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและศักยภาพการแข่งขันในระดับสากล อันจะนำไปสู่เสถียรภาพด้านความมันคงและด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างยังยืงยืงยืน