การประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย กสทช. พิจารณา การคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่ของ ศ.กิตติคุณ ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.ด้านกิจการโทรทัศน์ ว่าจะสามารถร่วมทำหน้าทีกรรมการพิจารณาระเบียบวาระเกี่ยวกับบริษัทในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น ได้หรือไม่
ในการพิจารณา คณะอนุกรรมการ ต้องพิจารณาคำถาม 2 ข้อ คือ
ข้อแรก ตามที่ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2567 บริษัท True Corporation เคยยื่นเรื่องคัดค้านการทำหน้าที่ของกรรมการคนหนึ่ง ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยของศาลอาญาคดีทุจริต เมื่อศาลอาญาฯ มีคำตัดสินแล้ว จะถือว่า ดร.พิรงรอง มีสภาพร้ายแรงทำให้พี่จารณาเรื่องของทรูไม่ได้ใช่หรือไม่
ข้อที่สอง ถ้า ทรู ไม่ได้ร้องมา กรรมการกสทช.คนใดคนหนึ่ง จะหยิบยกเรื่องกรรมการกสทช. มีสภาพร้ายแรงตามมาตรา 16 ของกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองโดยที่คู่กรณีไม่ได้หยิบยกขึ้นมาได้หรือไม่
หลังจากกรรมการได้หารือกันอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมงกว่า ไม่มีข้อสรุป คำถามแรกว่า การจะมีสภาพร้ายแรงหรือไม่จะต้องเป็นกรณีที่เห็นข้อเท็จจริงจะพูดเป็นการทั่วไปไม่ได้ ( วันนี้ไม่มีข้อเท็จจริงให้กรรมการดูเลย) และ คนที่จะโต้แย้งว่ามีสภาพร้ายแรงจะต้องเป็นคู่กรณีเท่านั้น ถ้าไม่ใช่คู่กรณีก็โต้แย้งไม่ได้ เมื่อ การตั้งคำถามไม่ได้เป็นการถามโดยบริษัทแม่ของ True หรือ TrueID
“ หลังศาลอาญาคดีทุจริตมีคำพิพากษา ทรูไอดีไม่เคยร้องโต้แย้งไม่ให้ดร.พิรงรองเลย เว้นแต่คู่กรณีร้องมาก็ต้องมาว่ากัน ตามกฎหมายไม่ใช่อยู่ดีดีคู่กรณีจะร้องได้มันจะต้องเรื่องของคู่กรณีเข้ามาในการพิจารณาของบอร์ดก่อนแล้วคู่กรณีจึงจะร้องคัดค้านไม่ให้พิจารณา แบบนี้ถึงจะทำได้“
การที่หลายหลายฝ่ายคาดว่าผลการพิจารณาของอนุกรรมการจะชี้ลงไปว่า ดร. พิรงรอง จะทำหน้าที่ในการพิจารณาวาระการประชุมที่เกี่ยวกับ บริษัท True ได้หรือไม่
คณะอนุกรรมการกฎหมาย ยังไม่ได้พิจารณาประเด็นนี้เพราะทรูไม่ได้ถามมา และยังไม่มีใครร้องดร.พิรงรอง
ถ้ามีคนร้องก็เป็นอำนาจคณะกรรมการ กสทช. ทีาจะพิจารณา ในกรณีที่กรรมการพิจารณา ว่า ดร.พิรงรองจะปฎิบัติหน้าที่ต่อไปได้ ต้องมีการลงมติต่อเมื่อมีคะแนนเสียงสองในสามของกรรมการทั้งหมด
“ คนที่ร้องดร. พิรงรองได้ต้องเป็นคู่กรณี กับ ดร.พิรงรองคณะอนุกรรมการคุยกัน ไม่มีมติถ้าเป็นทรูอื่นที่ไม่ใช่คู่กรณีก็พิจารณาไม่ได้ การร้องคัดค้านที่เกิดขึ้นได้ต้องให้คู่กรณีเป็นคนร้องถ้ายังไม่มีการร้องขึ้นมาและยังไม่มีรู้ว่าจะคัดค้านเรื่องอะไร บางเรื่องอาจมีปัญหาก็ได้บางเรื่องอาจไม่มีปัญหาก็ได้”
ส่วนคำตอบคำถามที่สองได้มีการหารือแล้วแต่ยังไม่มีข้อสรุปการพิจารณา โดยจะมีการนัดประชุมกันอีกครั้งเพื่อพิจารณาคำถามนี้ในวันที่ 15 พฤษภาคม
“ ข้อสองพิจารณากันอย่างกว้างขวาง เพราะเห็นไม่ตรงกันฝ่ายหนึ่งเห็นว่าทำได้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าทำไม่ได้ จึงต้องนัดมาคุยกันใหม่ซึ่งสุดท้ายอาจจะต้องใช้การลงมติแต่อย่าลืมว่า ไม่ว่าอนุกรรมการกฎหมายจะมีความเห็นอย่างไร เรามีหน้าที่เป็นผู้ให้ความเห็น สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับกรรมการ กสทช. ”