X
Super Poll เสนอผลสำรวจรวามเห็นควบรวมทรูดีแทค

Super Poll เสนอผลสำรวจรวามเห็นควบรวมทรูดีแทค

16 ม.ค. 2565
1040 views
ขนาดตัวอักษร

ผศ.ดรนพดลกรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) มูลนิธิสถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำเสนอผลสำรวจเรื่องโพลควบรวมทรูดีแทคกรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศโดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน1,331 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 5-14 มกราคม 2565 ที่ผ่านมาพบว่าส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.9 คัดค้านการควบรวมกิจการทรูกับดีแทคในขณะที่ร้อยละ 16.1 เห็นด้วยกับการควบรวมกิจการ ตามลำดับ




ที่น่าพิจารณาคือเมื่อถามถึงระดับความรู้ความเข้าใจมากถึงมากที่สุดของประชาชนต่อการควบรวมธุรกิจทรูกับดีแทคพบว่าเกินครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 51.6 ระบุประเทศไทยและประชาชนจะตกอยู่ในมือนายทุนผูกขาดรองลงมาคือร้อยละ50.3 หรือประมาณครึ่งหนึ่งระบุจะเกิดการผูกขาดธุรกิจของกลุ่มนายทุนร้อยละ 45.7 ระบุค่าบริการจะแพงขึ้นหลังการควบรวมกิจการธุรกิจร้อยละ 41.4 ระบุเกิดความไม่เป็นธรรมในข้อตกลงสัญญากับผู้บริโภคร้อยละ 40.8 ระบุการควบรวมกิจการธุรกิจของทรูกับดีแทคจะกลายเป็นการผูกขาดธุรกิจให้เหลือน้อยรายลดทางเลือกของผู้บริโภคลงและร้อยละ 40.8 เท่ากันระบุจะเกิดการกีดกันการค้าของผู้ประกอบการรายย่อยและร้อยละ 39.7 เข้าใจว่าการควบรวมกิจการธุรกิจของหรูกับดีแทคจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภคตามลำดับ




เมื่อถามถึงผลกระทบในอนาคตจากการควบรวมธุรกิจทรูกับดีแทคพบว่าเกินครึ่งหรือร้อยละ 51.3 ระบุผู้บริโภคไม่มีทางเลือกร้อยละ 49.8 ระบุไม่เกิดการแข่งขันร้อยละ 49.2 ระบุราคาค่าบริการจะสูงขึ้นร้อยละ 36.7 ระบุเกิดการเอาเปรียบผู้บริโภคร้อยละ 24.3 ระบุคุณภาพบริการจะแย่ลงและร้อยละ 17.2 ระบุประเทศสูญเสียรายได้ตามลำดับ


ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่คัดค้านการควบรวมกิจการหรูกับดีแทคด้วยความรู้ความเข้าใจของประชาชนว่าประเทศไทยและประชาชนจะตกอยู่ในมือนายทุนผูกขาดและก่อให้เกิดการสูญเสียผลประโยชน์ทั้งผลประโยชน์ชาติและของประชาชนแต่ละคนโดยมีความคิดว่าการควบรวมจะทำให้ค่าบริการแพงขึ้นเกิดความไม่เป็นธรรมในข้อตกลงสัญญากับผู้บริโภครวมทั้งเป็นการลดทางเลือกของผู้บริโภคและเกิดการกีดกั้นการค้าผู้ประกอบการรายย่อยที่ส่งผลเสียโดยรวมต่อผู้บริโภคเพราะจะเกิดผลกระทบในอนาคตในหลายมิติ ได้แก่ ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกไม่เกิดการแข่งขันราคาค่าบริการจะสูงขึ้นเกิดการเอาเปรียบผู้บริโภคคุณภาพการบริการจะแย่ลงและประเทศจะสูญเสียรายได้ที่รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลที่ค้นพบครั้งนี้ไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจที่จะก่อให้เกิดความสมดุลในตลาดการค้าเสรีที่ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์มากขึ้นหลักการเปลี่ยน แปลงหรือคงสภาพที่เป็นอยู่ในเวลานี้

Terms of Service © 2025 MCOT.net All rights reserved นโยบายข้อมูลส่วนบุคคล นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ นโยบายเว็บไซต์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)