เนื่องในวโรกาสฉลองพระชมมายุ 8 รอบ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช Backbone ขอเสนอ เรื่องราวของพระพุทธอังคีรส ประธานในพระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ดังนี้ ที่มาของคำว่า อังคีรส แปลว่า มีพระรัศมีเปล่งออกมาจากพระวรกาย
พระพุทธอังคีรส เป็นพระพุทธรูปแบบพิเศษ ที่สร้างตามพระราชดำริของ รัชกาลที่ 4 มีพุทธลักษณะที่พิเศษคือ เป็นพระพุทธรูปที่ไม่มีพระเกตุมาลาหรือพระอุษณีษะ (คือกะโหลกที่นูนขึ้นมา) ถัดขึ้นไปจากขมวดพระเกศา คือ พระรัศมีที่เป็นเปลว ที่มาของการสร้างพระอังคีรส พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง เมื่อครั้งที่ทรงผนวชเป็นภิกษุนั้น ท่านได้ตรวจสอบตำราแล้วพบข้อความว่า ด้วยพระอรรถกถาจารย์มีอธิบายไว้ว่า พระเกตุมาลานั้นเกิดขึ้นด้วยอำนาจทรงสมาธิ อาจจะกลั้นหายใจลมจึงดันขึ้นเบื้องบนทำให้มีพระเกตุมาลา ทูลกระหม่อมตรัสว่าหัวเป็นปุ่มก็ไปเข้ากับลักษณะบุรุษโทษ
พระพุทธรูปในสมัยรัชกาลท่ 4 ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก สร้างไม่กี่แบบ และสร้างจำนวนไม่มาก พระพุทธรูปสำคัญที่ทรงสร้างขึ้น เป็นต้นแบบพุทธศิลป์แบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 4 คือ พระสัมพุทธพรรณี ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่สร้างใน พ.ศ. 2373 เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระภิกษุวชิรญาณ พระพุทธรูปองค์สำคัญรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้สร้างพุทธลักษณะเช่นนี้ ได้แก่ พระนิรันตราย ประดิษฐานในหอพระสุราลัยพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง, พระสัมพุทธสิริ ประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดโสมนัสวิหาร, พระพุทธอังคีรส ประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดราชบพิธสถิมหาสีมารามที่หล่อในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงต้นรัชกาลที่ 5
พระพุทธอังคีรส หล่อด้วยสำริด พระพักตร์ค่อยข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก ไม่มีอุษณีษะ มีพระรัศมีขนาดใหญ่เป็นเปลวพระกรรณสั้นเหมือนมนุษย์ปกติ ไม่ยาวเหมือนพระพุทธรูปทั่วไป การครองจีวรห่มเฉียง มีริ้วแบบธรรมชาติ สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่เหมือนผ้าสังฆาฏิที่ใช้จริงแบบพระสงฆ์ทั่วไป
เมื่อหล่อพระพุทธอังคีรส เป็นลักษณะหน้าเทวดาครึ่งมนุษย์ที่งดงามแบบหาที่ติมิได้ เกิดจากการที่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ได้สั่งสมประสบการณ์ด้านงานปั้นและงานหล่อมายาวนาน จนเกิดความชำนาญ จนได้รับยกย่องว่าศิลปินเอกแห่งยุคนั้น ที่ยากจะมีใครมาเทียบได้ มีกะไหล่ทองคำเนื้อแปดหนัก 180 บาท ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ทรงเมื่อคราวพระราชพิธีโสกันต์ พระราชทานถวายแล้วนั้น ทำให้พระวรรณะเปล่งปลั่งงดงามที่สุด พระนามว่า “พระพุทธอังคีรส”