เรื่องจีวรลายดอกที่หลายคนสงสัย ถึงไม่สงสัยก็ขอเล่า เนื่องจากข้อมูลรับมา มากมายมหาศาล ก่อนจะเข้าใจเรื่องจีวรลายดอกต้องเข้าใจเรื่อง จีวรพระ พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตจีวร 6 ชนิด คือ จีวรทำด้วยเปลือกไม้ ทำด้วยฝ้าย ทำด้วยไหม ทำด้วยขนสัตว์ ทำด้วยป่าน และทำด้วยของทั้งห้าอย่างที่กล่าวไปผสมกัน ในวินัยปิฎก พระไตรปิฎก หมอชีวกโกมารภัจจ์นำผ้าสิไวยกะเป็นผ้าเนื้อดี มีชื่อเสียง เยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายมาถวายพระผู้มีพระภาคและทูลขอให้ทรงพุทธานุญาติคหบดีจีวรแก่พระสงฆ์ พระองค์ทรงรับผ้าสิไวยกะและรับสั่งอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนา จงถือผ้าบังสุกุล รูปใดปรารถนา จงยินดีคหบดีจีวร แต่ทรงสรรเสริญการยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ พูดง่ายๆคือ ทรงอนุญาตจีวรที่มาจากผ้าที่คหบดีถวายแต่ทรงสรรเสริญหรือสนับสนุนจีวรตามที่หาได้ไม่ต้องลำบากตะเกียกตะกาย พอใจกับสิ่งที่มี
หลังจากนั้น ผ้าจำนวนมากหลายชนิดได้บังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ พระผู้มีพระภาคจึงได้ทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวร คือ ผ้าสิไวยกะ ผ้าปาวาร ผ้าโกเชาว์ ผ้ากัมพล พูดให้เข้าใจง่ายๆคือ ผ้าจีวรแบบพิเศษ มีมาตั้งแต่พุทธกาลพระพุธเจ้าให้ภิกษุรับได้ ครองได้
เมื่อจีวรทั้งเนื้อดีและเลวเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้มีความปริวิตกว่า จีวรชนิดใดพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ชนิดใดไม่ทรงอนุญาต สันนิษฐานว่าจีวรที่ไม่โปรดคือ จีวรที่กาววาว (แววา) จึงไม่ทรงอนุญาตให้ใช้เป็นลายรูปสัตว์ ลายดอกไม้ (เคยเห็นในจีวรพระกัมพูชาบางรูปครองอยู่ แต่เป็นลายตื้น ๆ ไม่ชัดนัก) เว้นแต่เป็นดอกเล็ก ๆ ไม่กาววาว เช่น ดอกเม็ดพริกไทย และทรงห้ามอย่างเป็นริ้ว เช่น แพรโล่ (แพรผืนบาง ๆ) นอกจากจีวร มีการนำผ้าไหมลายยกดอกมาทำเป็นอังสะถวายพระอยู่เมื่อซักนาน ๆ เข้า ผ้าก็จะหมดความกาววาวไป เห็นดอกชัดเจน และจะขาดง่าย เรื่องจีวรในสมัยรัตนโกสินทร์ ในวินัยวิมุข เล่ม 2 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิญาณวโรรส มีพระวินิจฉัยเรื่องดอกพริกไทยว่าอนุญาตได้อยู่
สรุปข้อมูลตรงนี้คือจีวรลายดอกไม่ได้เป็นของห้ามใช้ทีเดียวพระพุทธเจ้า อนุญาตให้รับได้ แต่โปรดให้ใช้ของแบบเรียบเรียบมากกว่า ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีกี่วันแบบนี้และได้รับอนุญาตให้ใช้ได้แม้ในฝ่ายธรรมยุติ
ภาพพระภิกษุทรงจีวรลายดอกพิกุลที่ปรากฏอยู่ในโทรทัศน์ล่าสุดนั้นเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่สามซึ่งเป็นรัชสมัยที่มีความนิยมในการใช้จีวรลายดอกพิกุลมากที่สุด
ครูไก่ อาจารย์สุรัตน์ จงดา ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลปะ และที่ปรึกษาซีรี่ส์ที่เราได้ชมกัน เล่าว่า พระเลือกผ้าที่เอาทำจีวรเองไม่ได้ ต้องใช้ผ้าที่เขาทิ้งเขาเก็บมา มีทั้งผ้าจากทรงที่เป็นผ้าธรรมดาและผ้าที่มีลาย เอามาตัดเย็บและย้อมเป็นผ้าจีวรคลอง ต่อมาเป็นจีวรที่คฤหัสถ์ทอถวาย เป็นผ้าเรียบ ย้อมด้วยน้ำฝาด
ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีหลักฐานจากพระพุทธรูปที่ครองจีวรลายดอก ที่เรียกว่าพระรัตนะ ในรัชกาลที่ 1-3 คฤหัสถ์ จีวร การถวายผ้าที่มีเนื้อดีเพื่อนำไปทำจีวร
ในเรื่องนี้สมเด็จพุทธาจารย์โตพรหมรังสีก็ครองจีวรลายดอก จีวรลายดอก อาจจะมีดอกเล็กๆ ตาพริกไทย ดอกพิกุล แม้แต่ อัสสะก็มีที่เป็นแพรเลี่ยนแพรจีน การห่มจีวรดอกมาเลิกตอนรัฐกาลที่ 4 ที่มีธรรมยุตินิกายทำให้เลิกจีวรดอกพิกุล เนื่อจากความเคร่งครัดมากขึ้น ทำให้จีวรลายดอกหายไป การห่มผ้าแบบธรรมยุติ เป็นที่นิยมตามพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์ จีวรลายจึงหายไป เหลืออยู่บ้างแต่ไม่มากในต่างจังหวัด เช่น การรัดผ้าประคตเอว ที่เหลือให้เห็น เหลือลายดอกเล็กๆ ที่ผ้ารัดอก มาจากแพรจีนบ้าง มาจากอินเดียบ้าง มาจากญี่ปุ่นบาง ที่เราเรียกชิโมริโอบิ เป็นถ้าที่เดิมขุนนางใช้ จึงมีการทำถ้าแผบบนี้ถวายพระสงฆ์ เป็นถ้าท่ี่เอามาย้อมใหม่ ใช้สีเหลืองเข้ม สีแดงเข้ม หรือสีบัวแดง ตามพุทธานุภาพ
“ในภาพจิตรกรรมไทย ส่วนใหญ่ในภาพจะเห็นภาพผ้าห่มขอพระทุธเจ้าห่มจีวรสีแดง สีโทนแดง รัชกาลที่4 ทรงผ้าย้อมสีแดงในวันทรงศีล การใช้ผ้าในกหารทรงศีลหรือพระครองขีวรสีแดงคล้ำ กาสาวพัตร บางเฉดเป็นสีแดงคล้ำ มีทั้งทอขึ้นเองและนำเข้ามา เช่น มัดหมี่ ลยายขิด สวนใหญ่นำเข้า ผ้าแพรแดงมาจากจีน เอาผ้าที่ทอแบบพิเศษมาจากจีน ส่วนใหญ่ในรายสำนักไทยมาด้วยการนำเข้า ผ้าแพรจีนลี่ยนมาจากจีน ผ้าย้อมะหวาด ผ้าเข้มขาบ ผ้าสีบ้วแดงมาจากอินเดีย มีการใช้ผ้าพื้นเมืองผ้าเข้มบาล ผ้าดอกผุด ผ้าย้อมมะหวาดจากอินเดีย มีกระบวนลวดลายแตกต่างกัน ลายยกดอกแบบง่ายๆ เราใช้ผ้าต่างประเทศในราชสำนักมาก
“สิ่งที่ปรากฏอยู่ในละครเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่สามเพื่อแสดงให้เห็นถึงความนิยมประวัติศาสตร์พระนิยมห่มผ้าลายดอกแต่ก็มีแบบธรรมดาจริงๆแล้วอยากให้ผมทุกองค์แต่ว่าจีวรแบบนี้ในปัจจุบันนั้นราคาแพงมาก นอกจากจิวลายดอกยังมีตาลปัตรที่พระ ในสมัยรัชกาลที่สามใช้พัด ที่เรียกว่า พัดชะนี แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่สี่ทรงมองว่าพัชนีคล้ายกับที่ตักแกง จึงให้เปลี่ยนเป็นพัดหน้านางอย่างที่ปัจจุบันนี้ยังคงเห็นอยู่ในรูปแบบของตาลปัตร ” อาจารย์สุรัตน์
กราบนมัสกานขอบพระคุณข้อมูลจาก
พระคุณเจ้าวัดบวรนิเวศ
ขอบพระคุณ ข้อมูล ความรู้จาก ครูไก่ อาจารย์สุรัตน์ จงดา แบะภาพจากเพจ @Surat Jongda